See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ศึกษาสำนึก - วิกิพีเดีย

ศึกษาสำนึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงก์ข้ามภาษาที่แทรกในบทความนี้ ผู้เขียนอาจใส่ไว้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านและผู้ร่วมปรับปรุงแก้ไขบทความ ให้โยงไปถึงบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาอื่นเพื่อการตรวจสอบหรืออ่านเพิ่มเติม เนื่องจากคำ หรือวลีนั้นๆ ยังไม่มีคำแปลหรือคำอธิบายที่เหมาะสมในภาษาไทย เมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ลิงก์ข้ามภาษาจะถูกตัดออกหรือเปลี่ยนเป็นข้อความที่ไม่มีลิงก์แทน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย
สำหรับความหมายอื่น ที่เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ดูที่ ฮิวริสติก

โดยปกติการออกแบบหรือค้นหาขั้นตอนวิธี หรืออัลกอริทึม ที่ดีเพื่อการหาผลลัพธ์หรือแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั้นมีเป้าหมายพื้นฐานอยู่ 2 ประการ คือ

  1. สามารถรับประกันคุณภาพของคำตอบได้ คือ สามารถพิสูจน์ถึงความเหมาะที่สุด (optimality) หรือ ระบุขอบข่ายคุณภาพ ของคำตอบได้
  2. สามารถรับประกันช่วงเวลา หรือ ความเร็ว ที่ใช้ในการคำนวณ เพื่อหาคำตอบนั้นได้

การแก้ปัญหาแบบศึกษาสำนึก (heuristic approach) เปรียบเทียบได้กับ อัลกอริทึมหรือขั้นตอนวิธีแก้ปัญหาที่ไม่สามารถรับประกันถึงคุณสมบัติทั้งสองประการข้างต้นได้ อาจจะมีเพียงประการใดประการหนึ่ง หรือ อาจจะไม่มีเลยก็ได้ ตัวอย่างความหมายของความไม่สามารถรับประกันได้ เช่น ถ้าเรามีวิธีในการหาคำตอบของปัญหาประเภทหนึ่ง ซึ่งโดยปกติวิธีนี้จะให้คำตอบที่มีคุณภาพดี แต่ในบางครั้งคำตอบที่ได้อาจจะไม่ดี, หรือ เราไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ว่า วิธีการหาคำตอบหนึ่งจะสามารถหาคำตอบได้เร็วตลอดเวลา ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะเร็วก็ตาม

โดยส่วนใหญ่ เราสามารถสร้างและยกตัวอย่างปัญหาเป็นพิเศษให้กับวิธีแบบศึกษาสำนึก และเป็นกรณีที่ทำให้วิธีแบบศึกษาสำนึกให้คำตอบที่ผิด หรือทำงานอย่างเชื่องช้าได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงสร้างของปัญหาตัวอย่างนั้นเป็นกรณีที่พิเศษมากๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย หรือ อาจไม่เกิดขึ้นเลย ดังนั้นเราจึงพบเห็นการนำวิธีแบบศึกษาสำนึกไปใช้แก้ปัญหาในโลกจริงอยู่ทั่วไป

[แก้] วิธีแบบศึกษาสำนึกในปัญหาการหาเส้นทางสั้นที่สุด

สำหรับปัญหาเส้นทางสั้นที่สุด (shortest path problems) นั้น วิธีแบบศึกษาสำนึกจะกำหนดให้ การศึกษาสำนึก เป็น ฟังก์ชันศึกษาสำนึก , h(n) อยู่บนปม (nodes) ของต้นไม้สำหรับค้น (search tree), ซึ่งทำงานโดยการประมาณค่าของวิถี(path) สั้นที่สุดหรือมีค่าน้อยสุด จากปมปัจจุบันไปยังปมเป้าหมาย (goal) วิธีการศึกษาสำนึกใช้ใน informed search algorithm เช่น การค้นหาของที่ดีที่สุดเชิงละโมบ หรือGreedy best-first search และ การค้นหาเอสตาร์A* สำหรับเป็นผู้เลือกหรือตัวตัดสินใจเลือกปมที่ดีที่สุดก่อนการค้นหาปมต่อไป. การค้นหาของที่ดีที่สุดเชิงละโมบ (Greedy best-first search) จะเลือกปมที่มีค่าน้อยที่สุดสำหรับฟังก์ชันศึกษาสำนึก ส่วน เอสตาร์ (A*) จะค้นหาปมที่มีค่าน้อยที่สุดจากสมการ g(n) + h(n), โดยที่ฟังก์ชัน g(n) คือ ค่าที่แท้จริง (exact cost) สำหรับเส้นทางจาก สถานะกำหนดเริ่มต้น (initial state) มายังสถานะปัจจุบัน. และโดยที่ฟังก์ชัน h(n) จะส่งค่าประมาณการศึกษาสำนึกที่ยอมรับได้ นั่นคือ ถ้าฟังก์ชัน h(n) เป็นค่าประมาณที่ไม่เคยประมาณมากกว่าค่าจริงจนถึงเป้าหมาย (goal) — สำหรับกรณีนี้เอสตาร์ (A*) ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลเฉลยที่เหมาะที่สุดเสมอ (optimal)

ปัญหาเก่าแก่ที่เกี่ยวข้องกับวิธีศึกษาสำนึกคือปัญหา เอ็น-พัซเซิล (n-puzzle) โดยทั่วไปการใช้วิธีศึกษาสำนึก สำหรับปัญหานี้และการนับจำนวนครั้งของการขยับแผ่นที่สามารถขยับได้ ระหว่างตำแหน่งปัจุจบันไปยังเป้าหมาย เกี่ยวข้องกันกับการแก้ปัญหาลักษณะเดียวกับปัญหาระยะห่างแมนแฮทตัน (Manhattan distance)

[แก้] ผลกระทบของวิธีศึกษาสำนึกในด้านของประสิทธิภาพเชิงเวลา

ในการค้นหารูปแบบของการแก้ไขปัญหา เมื่อมีตัวเลือกจำนวน b ทุกๆ ปมและมีความลึก d จากตำแหน่งปัจจุบันไปยังปมเป้าหมาย การค้นหาแบบตรงไปตรงมา (naive)จะใช้การค้นหาประมาณ bd ปม ถึงจะพบคำตอบ

การนำวิธีศึกษาสำนึกมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเวลาของการค้นคำตอบได้โดยจะช่วยลด จำนวนการแตกกิ่งก้านbranching factor จากจำนวน b ไปยังค่าคงที่ b*

แม้ว่าการประมาณโดยใช้วิธีศึกษาสำนึกจะให้ผลเฉลยที่เหมาะสม (optimal answer) แต่การใช้วิธีศึกษาสำนึกที่ให้การประมาณค่าในจำนวนการแตกกิ่งก้าน (branching factor) ที่ต่ำกว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการคำนวณได้ดียิ่งขึ้น สำหรับในปัญหาทั่วๆ ไป เราสามารถแสดงได้ว่า วิธีศึกษาสำนึก h2(n) ดีกว่า วิธีศึกษาสำนึก h1(n) ในเงื่อนไขถ้า h2(n) มากกว่าdominate h1(n) หรือ h1(n) < h2(n) สำหรับ n ทุกๆ ค่า

[แก้] วิธีศึกษาสำนึกในระบบปัญญาประดิษฐ์

มีขั้นตอนวิธีหลายอย่างในระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่ใช้วิธีศึกษาสำนึกโดยธรรมชาติ หรือใช้กฎเกณฑ์แบบศึกษาสำนึกได้

ตัวอย่างเช่น ระบบตรวจจับการส่งข่าวขยะสแปม (SpamAssassin) ใช้วิธีศึกษาสำนึกในการตัดสินว่า อีเมลแบบใดเป็นข่าวขยะหรือไม่เป็น สำหรับกฎการตรวจจับที่ได้วางไว้ ถ้าใช้เพียงกฎเดียวก็จะไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง แต่เมื่อใช้วิธีศึกษาสำนึกเข้าช่วยประกอบรวมกฎการตรวจจับหลายๆ กฎเข้าไว้ด้วยกัน ก็จะได้ระบบที่ได้ผลที่ดีกว่า และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -