ระเบียงคด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระเบียงคด (ภาษาอังกฤษ: Cloister) คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมทางศาสนาซึ่งมักจะเป็นซุ้มล้อมรอบลาน
เนื้อหา |
[แก้] ระเบียงคดในสถาปัตยกรรมไทย
ระเบียงคด คือส่วนหนึ่งวัดในสถาปัตยกรรมไทย โดยเฉพาะวัดที่มีขนาดใหญ่ทื่อาจจะเป็นที่ตั้งพระพุทธรูปรอบระเบียง หรือมีจิตรกรรมฝาผนัง
[แก้] ระเบียงคดในสถาปัตยกรรมตะวันตก
ระเบียงคด มาจากภาษาละติน “claustrum” เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม ของ มหาวิหาร สำนักสงฆ์ และแอบบี มักจะเป็นระเบียงสี่ด้านรอบลานกลาง เพื่อใช้เป็นหลบฝนแต่มีอากาศถ่ายเทได้เพราะเป็นสิ่งก่อสร้างที่กึ่งเปิด การที่วัดมีระเบียงคดมักจะเป็นเครื่องหมายว่าเป็นสำนักสงฆ์ หรือเคยเป็นสำนักสงฆ์มาก่อน ระเบียงมักจะสร้างติดกับตัวมหาวิหารทางด้านใต้เพราะเป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าจึงอุ่นกว่า
ในยุคกลางระเบียงคดจะใช้เป็นที่สวดมนต์ วิปัสนา เรียนหนังสือ คัดหนังสือ หรือกิจธุระอย่างอื่นเช่นซักล้างเช่นระเบียงคดที่มหาวิหารกลอสเตอร์ที่มีรางน้ำยาว
ระเบียงคดที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่เซอร์โทซา ดิ ปาดัวทางใต้ของประเทศอิตาลี ซึ่งมีเนี้อที่ทั้งหมด 12000 ตารางเมตร
[แก้] ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้] สมุดภาพ
ระเบียงคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร |
ระเบียงคดที่คาฮอร์ ประเทศฝรั่งเศส |
ระเบียงคดสองชั้นที่สำนักสงฆ์แม็กเดเบิร์ก (Monastery Unser Lieben Frauen Magdeburg) ประเทศเยอรมนี |
ภายในระเบียงคดที่มหาวิหารกลอสเตอร์ อังกฤษที่เห็นคูหาโต๊ะทำงานทางขวามือ |
ระเบียงคดที่สำนักสงฆ์ Alcobaça ประเทศโปรตุเกส |