ภาษากัจฉิ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากัจฉิ | ||
---|---|---|
พูดใน: | รัฐคุชราต | |
จำนวนผู้พูด: | 866,000 คน | |
ตระกูลภาษา: | อินโด-ยูโรเปียน ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ภาษากัจฉิ |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ไม่มี | |
ISO 639-2: | ||
ISO 639-3: | — | |
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษากัจฉิ เป็นภาษาตระกูลอินโด-อารยัน ใช้พูดในบริเวณกุตฉะ ของรัฐคุชราต มีผู้พูดราว 866,000 คน โดยเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวมุสลิมในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งชาวขวาชาห์ที่ใช้ในทางศาสนา
[แก้] ภาษาใกล้เคียง
ภาษากัจฉิใกล้เคียงกับภาษาสินธีที่ใช้พูดในจังหวัดสินธ์ ประเทศปากีสถาน มักเข้าใจผิดกันว่าภาษากัจฉิเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาสินธี ภาษาคุชราต ภาษาปัญจาบและภาษาราชสถาน ซึ่งอาจเป็นเพราะสัทวิทยาของภาษากัจฉิใกล้เคียงกับภาษาสินธี แต่คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาคุชราต ความใกล้เคียงของภาษาส่วนหนึ่งเกิดจากการอพยพระหว่างเขตสินธ์มาสู่โสวรัสตระและกุตฉ์ทางตะวันออก หรือราชสถานและปัญจาบทางเหนือ ผู้พูดภาษากัจฉิในอินเดียอาจพูดได้ 2 หรือ 3 ภาษา เพราะการใกล้ชิดกับภาษาใกล้เคียงเช่นภาษาคุชราต และภาษาฮินดี
[แก้] คำทั่วไป
มีความผันแปรของไวยากรณ์และความแตกต่างระหว่างสำเนียงในแต่ละถิ่น มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเช่นเดียวกับภาษาในเอเชียอื่นๆ ที่อยู่ในเส้นทางการค้า ผู้พูดภาษากัจฉิจำนวนมากพูดภาษาคุชราตได้ด้วย สำเนียงภาษาคุชราตของผู้พูดภาษากัจฉิเป็นที่ยอมรับจากผู้พูดภาษาคุชราตสำเนียงมาตรฐานว่าสามารถเข้าใจกันได้
ตัวอย่างประโยคภาษากัจฉิเทียบกับภาษาคุชราตได้แก่
- hayo/chhadyo hane (คุชราต "bas chhodo have" ตอนนี้วางลง)
- Su kerero? (คุชราต "shun' karo chho" meaning "คุณกำลังทำอะไร?")
[แก้] ระบบการเขียน
โดยทั่วไปภาษากัจฉิเขียนด้วยอักษรคุชราตดัดแปลง มีการตีพิมพ์หนังสือและวารสารจำนวนมากด้วยอักษรนี้ มีการเขียนด้วยอักษรเทวนาครีเช่นกัน ในอดีต ภาษากัจฉิเคยเขียนด้วยอักษรโขชกีที่เลิกใช้ไปแล้ว