ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียกลาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียกลาง (Central malayo-polynesian languages) เป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในหมู่เกาะซุนดาน้อยและหมู่เกาะโมลุกกะในทะเลบันดา ใกล้เคียงกับจังหวัดนูซา เต็งการาตะวันออก จังหวัดมาลูกู ประเทศอินโดนีเซียและประเทศติมอร์ตะวันออก (ยกเว้นบบภาษากลุ่มปาปวนลลของติมอร์และเกาะใกล้เคียง) โดยมีภาษากลุ่มบีมาที่แพร่กระจายในบบจังหวัดนูซา เต็งการาตะวันตกลล และภาคตะวันออกของเกาะซุมบาวา และภาษากลุ่มซูลาทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดมาลูกูตอนเหนือ เกาะหลักๆของบริเวณนี้ได้แก่ เกาะซุมบาวา เกาะซุมบา เกาะฟลอเรส เกาะติมอร์ เกาะบูรู และเกาะเซรัม ภาษาที่สำคัญได้แก่ ภาษามัวฆาไรของเกาะฟลอเรสตะวันตกและภาษาเตตุมที่เป็นภาษาประจำชาติของติมอร์ตะวันออก
การจัดแบ่งภาษากลุ่มนี้มีหลักฐานอ่อน โดยเฉพาะข้อด้อยที่ไม่มีลักษณะร่วมของภาษาในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้กลุ่มนี้เป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียกลาง-ตะวันออกที่ต่างจาก ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันออก (Grimes, 1991) ภาษาจำนวนมากทางทางตะวันออกของเกาะฟลอเรสและเกาะใกล้เคียงโดยเฉพาะเกาะซาวู มีศัพท์พื้นฐานที่ไม่อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียนมาก และอาจจะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนแน่นอนหรือไม่ (Würm, 1975)
[แก้] กลุ่มของภาษา
ภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่
- ภาษากลุ่มบีมา-ซุมบา (ภาษาซุมบาวาและภาษาซุมบา)
- ภาษากลุ่มติมอร์
- ภาษากลุ่มดามัรตะวันตก
- ภาษากลุ่มบาบัร
- ภาษากลุ่มมาลูกูตะวันตกเฉียงใต้
- ภาษากลุ่มอารู
- ภาษากลุ่มบอมเบไรเหนือ (ตามชายฝั่งของคาบสมุทรบอมเบไรในเกาะนิวกินี)
- ภาษากลุ่มมาลุกูกลาง