See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พูนศุข พนมยงค์ - วิกิพีเดีย

พูนศุข พนมยงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (2 มกราคม พ.ศ. 2455 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เป็นภริยาของรัฐบุรุษอาวุโส นายปรีดี พนมยงค์ ท่านผู้หญิงพูนศุข เป็นแบบอย่างภริยานักการเมืองที่สมถะ ใช้ชีวิตเรียบง่าย เข้มแข็ง กล้าหาญ และให้อภัย ดำรงชีวิตอย่างสมถะ และมีความสุขอย่างเรียบง่าย

เนื้อหา

[แก้] ชีวิตก่อนสมรส

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ที่ จ.สมุทรปราการ ในตระกูลขุนนางสกุล ณ ป้อมเพชร์ เป็นธิดาคนที่ 5 บิดาของท่าน คือมหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ[1] มารดาคือ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิต (สกุลเดิมสุวรรณศร) จบการศึกษาชั้นมัธยม 7 จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

[แก้] สมรส

ภาพในอดีตของท่านผู้หญิงพูนศุข
ภาพในอดีตของท่านผู้หญิงพูนศุข

ท่านผู้หญิงพูนศุข สมรสกับ นายปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบันฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2472 ขณะมีอายุได้ 17 ปี และยังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยม 7 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ หลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยนายปรีดี ผู้เป็นสามีเป็นหนึ่งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย รัฐบุรุษอาวุโส ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุข เข้าไปอยู่ในหลายเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยปริยาย ถูกกลั่นแกล้ง จนต้องระหกระเหินและเผชิญชะตากรรมไม่ต่างไปจากสามี มีบุตรทั้งหมด 6 คนคือ ลลิตา ปาล สุดา ศุขปรีดา ดุษฎี และวาณี

[แก้] เผชิญมรสุมทางการเมือง

เมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง เพื่อที่จะกำจัดนายปรีดี แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูกๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องหนีภัยการเมืองไปต่างประเทศ

เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับท่านผู้หญิงพูนศุข และนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว

[แก้] พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้ง

หลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวีเดน กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่ประเทศจีน หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่กรุงปักกิ่งเป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็กๆ ที่ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร

[แก้] อนิจกรรม

ท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากได้เข้ารักษาอาการทางโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม[2] สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน มีบุตรและธิดารวมทั้งสิ้น 6 คน

การจัดพิธีไว้อาลัยเป็นไปตามคำสั่งเสียทุกประการ ซึ่งท่านผู้หญิงพูนศุข ได้เขียน "คำสั่ง" กำชับ ด้วยลายมือตนเอง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2541 ขณะมีอายุ 86 ปี 9 เดือน ทั้งสิ้น 10 ข้อ

[แก้] คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน

เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
  2. ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น
  3. ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
  4. ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
  5. มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
  6. ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
  7. เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
  8. ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากนํ้าเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่แม่เกิด
  9. หากมีเงินบ้างก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่างๆ ที่ทำสาธารณกุศล
  10. ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูกๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่ จงมีความสุข ความเจริญ
พูนศุข พนมยงค์
เขียนไว้ที่บ้านเลขที่ ๑๗๒ สาธร ๓ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
แม่มีอายุครบ ๘๖ ปี ๙ เดือน[3]

ท่านผู้หญิงพูนศุข เคยกล่าวถึงความรู้สึกของตัวท่านเองว่า "เมื่อฉันรำลึกถึงความหลังคราใด ก็รู้สึกซาบซึ้งที่นายปรีดีได้เสียสละและไม่เห็นแก่ตัว... และอดภูมิใจไม่ได้ว่าเป็นภริยานักการเมืองที่มุ่งบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร โดยมิเคยฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตัวเองและครอบครัวเลย... เหตุการณ์มากมายหลายอย่างได้เข้ามาสู่ชีวิตของฉัน ล้วนสอนให้ฉันได้เข้าใจในสัจจะของโลกอย่างแจ่มชัด... ฉันตั้งอยู่ในเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต อโหสิกรรมกับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ถือโกรธเคืองแค้นใดๆ อีก... นั่นคือความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของฉันแล้ว"

[แก้] เบ็ดเตล็ด

  • ท่านผู้หญิงพูนศุข มักกล่าวถึงสามี โดยใช้สรรพนามว่า "นายปรีดี" สะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักในการเป็นสามัญชน ถึงแม้ว่าสามีของตนจะได้รับการยกย่องให้เป็นถึงรัฐบุรุษอาวุโส

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ นิตยสารสารคดี เมษายน พ.ศ. 2543
  2. ^ สิ้น"ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์", ประชาไท, 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  3. ^ คำแถลงการณ์ของทายาทท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -