พระเจ้าจุงจง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าจุงจง (중종 , ฮันจา: 中宗 , MC: Jungjong , MR: Chungchong ?) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่11 ของอาณาจักรโชซอน (พ.ศ. 2049 ถึง พ.ศ. 2087) หรือ องค์ชายจินซอน เป็นโอรสของพระเจ้าซองจงกับมเหสีจอนฮยอน และเป็นพระอนุชาต่างมารดาขององค์ชายยอนซัน ซึ่งละเลยกิจการบ้านเมืองสนพระทัยแต่ความสุขในวังทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ในพ.ศ. 2049 กลุ่มขุนนางทีไม่พอใจองค์ชายยอนซันประกอบด้วยซองฮึยอัน พาร์ควอนจง ฮงเคียงจู ฯลฯ ยึดอำนาจจากองค์ชายยอนซันและเนรเทศพระองค์ไปที่เกาะคังฮวา ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน และสนับสนุนให้องค์ชายจินซอนจึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจุงจง
[แก้] ความพยายามในการปฏิรูป
พระราชกรณียกิจแรกของพระเจ้าจุงจงคือการแก้ไขปัญหาที่เกิดในสมัยองค์ชายยอนซันและนำความสงบสุขกลับคืน แต่รัชสมัยของพระองค์นั้นมิได้สงบสุขแต่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจ เพราะพระเจ้าจุงจงทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางที่ยึดอำนาจมาให้พระองค์เอง เริ่มจากมเหสีทันเกียงของพระองค์ มีพระบิดาเป็นขุนนางที่เรืองอำนาจในสมัยองค์ชายยอนซัน บรรดาขุนนางจึงเกรงว่าพระนางจะแก้แค้นให้บิดา จึงปลดพระนางเสียและเนรเทศออกนอกวัง นางตรอมใจมากจึงผูกพระศอสิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 2049
การที่จะเยียวยาบ้านเมืองจากสมัยองค์ชายยอนซัน พระเจ้าจุงจงทรงเห็นว่าควรจะมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง จึงทรงเรียกปราชญ์ฝ่ายซานิม ที่ถูกทำลายย่อยยับไปในสมัยองค์ชายยอนซันนั้น กลับมารับราชการในพ.ศ. 2061 มีโจกวางโจเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อคานอำนาจกลุ่มฮุงงู โจกวางโจได้เสนอการปฏิรูปที่รุนแรงที่สุด คือ ยกเลิกการสอบควากอ (จอหงวน) ระบบเก่าและตั้งระบบควากอของ"ผู้ที่คงแก่เรียนและมีคุณธรรม" เป็นการคัดเลือกบัณฑิตใหม่เข้ารับราชการโดยการแนะนำของขุนนาง พระเจ้าจุงจงทรงถูกครอบงำโดยความคิดตามแบบอุดมคติของกลุ่มซานิม ซึ่งขัดแย้งกับแนวความคิดแบบเน้นการปฏิบัติจริงของหลักขงจื้อของกลุ่มฮุงงู
โจกวางโจยังเสนอให้ปลดขุนนางกลุ่มฮุงงูหลายคนจากจองกุก คงชิน (ทำเนียบผู้กระทำคุณความดี)ทำให้ขุนนางฮุงงูหลายคน ได้แก่ นัมกอน อัครเสนาบดี และฮงเกียงจู โค่นอำนาจกลุ่มซานิมและเนรเทศโจกวางโจรวมทั้งบริวารในพ.ศ. 2062 เรียกว่า การสังหารปราชญ์ในปีคิมโจ หรือการสังหารหมู่ปราชญ์ครั้งที่สาม หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าจุงจงสูญเสียอำนาจให้แก่ขุนนางฮุงงูไปทั้งหมด โดยที่ทรงเป็นประมุขนั่งบัลลังก์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น
ในพ.ศ. 2058 มเหสีจังเกียงจากตระกูลยุนประสูติองค์รัชทายาท (พระเจ้าอินจง) แต่สิ้นพระชนม์ในระหว่างพระประสูติการ จึงแต่งตั้งมเหสีองค์ที่สามจากตระกูลยุนอีกเช่นกันคือมเหสีมุนจอง ทำให้ราชสำนักแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายยุนใหญ่สนับสนุนองค์รัชทายาท และฝ่ายยุนเล็กสนับสนุนมเหสีมุนจอง ในพ.ศ. 2067 ฝ่ายยุนเล็กขับคิมอันโนขุนนางฝ่ายยุนใหญ่พ้นจากอำนาจ แต่คิมอันโนก็กลับมาและแก้แค้นโดยการใส่ร้ายพระสนมพาร์คเคียงบินและองค์ชายพอกซอง จนทั้งสองพระองค์ถูกสำเร็จโทษในพ.ศ. 2070 แต่พระอนุชาทั้งสองของมเหสีมุนจอง คือ ยุนวอนโน และยุนวอนฮยอง ขับคิมอันโนจากอำนาจและถูกประหารชีวิต แต่ยุนอิม พระบิดาของมเหสีจังเกียงและพระอัยกาขององค์รัชทายาทยังรักษาอำนาจกลุ่มยุนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ทั้งสองฝ่ายคานอำนาจกันสมดุล
ในสมัยของพระเจ้าจุงจงประเทศโชซอนยังต้องเผชิญศึกหนักทั้งทางทะเล คือ โจรสลัดวาโกะ ที่เริ่มการปล้นสะดมระลอกใหม่ตามเมืองท่าของเกาหลีและจีนสร้างความเสียหาย และทางบกคือพวกเผ่าแมนจูจากทางเหนือ
[แก้] บุคคลสำคัญ
เหตุการณ์กบฏ โซว กวาง โจ ซึ่งเป็นเหตุให้ราชสำนัก โชซอน เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งของสมัยพระเจ้าจุงจง
พระเจ้าจุงจงทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าทรงมีแพทย์หลวงเป็นสตรี คือแดจังกึม เป็นแนอึยบี (แพทย์หลวงหญิง) ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางจอง 3 พุมในพ.ศ. 2067 คนแรกในประวัติศาสตร์เกาหลีที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่เป็นสตรีและมาจากชนชั้นต่ำ และไม่เป็นที่ยอมรับในเหล่าขุนนางขณะนั้น
นอกจากนี้พระมเหสีมุน จอง (ยุน มุน จอง) ทรงเป็นสตรีที่ฝักใฝ่การเมือง และกุมอำนาจเอาชนะบรรดาขุนนางชายได้ และยังสามารถว่าราชการแทนพระโอรสได้ คือ พระเจ้าเมียงจง เหตุที่พระนางต้องฝักใฝ่การเมือง ก็เพราะช่วงแรกพระนางไม่สามารถมีโอรสให้พระเจ้าจุงจงได้ พระนางมีพระธิดา 4 พระองค์ ในอดีตพระนางยังเคยสนับสนุน โซว กวาง โจ อีกด้วย
และยังมีคีแซงฮวางจินอี หรือเมียงโวล เป็นนางรำ นางได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนางรำที่สวยที่สุดในเมืองฮันยาง ในขณะนั้น และมีความสามารถในศิลปะหลายแขนงและเป็นที่รู้กันว่านางสามารถแต่งชิโจ (กลอนเกาหลี) ตอบโต้กับนักปราชญ์ได้
รัชสมัยก่อนหน้า: องค์ชายยอนซัน |
ประมุขแห่งเกาหลี ราชวงศ์โชซอน พ.ศ. 2049 - พ.ศ. 2087 |
รัชสมัยถัดไป: พระเจ้าอินจง |