พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี"
เนื้อหา |
[แก้] พระประวัติ
พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง
เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี
พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน
[แก้] พระโอรส-ธิดา
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงสมรสกับคุณพัฒน์ บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ
- หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
- หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์พิทยากรณ์ รัชนี
- หม่อมเจ้าศะศิธพัฒนวดี บุนนาค
- หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์ รัชนี
ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (วรวรรณ) พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ
[แก้] พระโอรส-ธิดา เรียงตามพระประสูติกาล
- หม่อมเจ้าหญิงจันทร์เจริญ (พ.ศ. 2445 - ?)[1]
- หม่อมเจ้าหญิงศะศิเพลินพัฒนา
- หม่อมเจ้าชายจันทร์จิรายุวัฒน์ (21 ก.ค. 2453 - 29 พ.ย. 2534)
- หม่อมเจ้าชายพัฒน์พิทยากรณ์ (หม่อมเจ้าชายรัชนีพัฒน์พิทยาลงกรณ)
- หม่อมเจ้าหญิงศะศิธรพัฒนวดี (18 มิ.ย. 2457 - 28 มิ.ย. 2549)
- หม่อมเจ้าชายจันทร์พัฒน์โมฬีจุฑาพงศ์ (12 มิ.ย. 2459 - 8 มิ.ย. 2535)
- หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี (20 พ.ย. 2463 - 16 ก.พ. 2520)
- หม่อมเจ้าชายภีศเดช (20 ม.ค. 2464 - )
- หม่อมเจ้าชายจันทรจิรากาล
- หม่อมเจ้าชาย
- หม่อมเจ้าชายจันทร์จรัส (? - 28 ธ.ค. 2450)
[แก้] การสหกรณ์ไทย
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] พระนิพนธ์
ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากพระนามเดิม รัชนีแจ่มจรัส มีผลงานตีพิมพ์ ได้แก่
- พ.ศ. ๒๔๔๘ - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. ๒๔๕๓ -สืบราชสมบัติ
- พ.ศ. ๒๔๕๙ - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา
- พ.ศ. ๒๔๖๑ - นิทานเวตาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒกร รัชนี
- พ.ศ. ๒๔๖๕ - กนกนคร
- พ.ศ. ๒๔๖๗ - ความนึกในฤดูหนาว
- พ.ศ. ๒๔๖๙ - ปาฐกถา เล่ม ๑ พิมพ์แจกในงานพระราชเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม
- พ.ศ. ๒๔๗๒ - ปาฐกถา เล่ม ๒
- พ.ศ. ๒๔๗๓ - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา
- พ.ศ. ๒๔๗๔ - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
- พ.ศ. ๒๔๗๓ - กลอนและนักกลอน
- พ.ศ. ๒๔๗๔ - คำทำนาย
- พ.ศ. ๒๔๗๗ - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์
- พ.ศ. ๒๔๘๐ - เสภาสภา
- พ.ศ. ๒๔๘๑ - ปฤษาณาเหรันศิก
- พ.ศ. ๒๔๘๗ - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรพระเนตรมืด ต้องให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอก
|
|
---|---|
(ประสูติใน) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก |
|
กรมพระเทพสุดาวดี กรมพระศรีสุดารักษ์ กรมหลวงนรินทรเทวี |
พระสัมพันธวงศ์เธอกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ · กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ · กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ · |
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท |
กรมขุนศรีสุนทร · กรมหมื่นเสนีเทพ · กรมขุนนรานุชิต · |
กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข |
กรมหมื่นนราเทเวศร์ · กรมหมื่นนเรศร์โยธี · กรมหลวงเสนีบริรักษ์ |
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ |
กรมขุนธิเบศวร์บวร · กรมหมื่นอมรมนตรี · กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช · กรมหมื่นอมเรศรัศมี · กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ · กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ · กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ |
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ |
กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ |
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ · กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ · กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ · กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ · กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร · กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ |
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ |
กรมหมื่นชาญไชญบวรยศ · กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา · กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ |
เจ้าต่างกรม ร.1 ร.2 ร.3 ร.4 ร.5 |
กรมขุนอรรควรราชกัลยา · กรมพระสุทธาสินีนาฏ · กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ · กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ · กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ · กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ · กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย · กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช · กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ · กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร · กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ · กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต · กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ |
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |