พระพิฆเนศวร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-
บทความนี้เกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ สำหรับรางวัลทางดนตรีของประเทศไทย ดูที่ รางวัลพระพิฆเนศทอง พระราชทาน
गणेश
พระพิฆเนศวร (Ganesh, ภาษาสันสกฤต गणेश) หรือ พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระวิฆเณศวร หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระคเณศ หรือ คณปติ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)
เนื้อหา |
[แก้] พระพิฆเนศวรกับประเทศไทย
ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพองค์ต่างๆในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย รวมทั้งองค์พระพิฆเณศ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ดูได้จากการพบรูปสลักพระพิฆเณศในเทวสถานตามเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย โดยมีหลักฐานการค้นพบองค์เทวรูปบูชาพระพิฆเณศที่เก่าแก่ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้นว่าองค์เทวรูปบูชานั้นสลักจากหิน ค้นพบทางแถบจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ คนไทยถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะองค์บรมครูแห่งศิลปวิทยาการ๑๘ประการ
โดยคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศวร เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศวรเป็นสัญลักษณ์
พระพิฆเนศวรเป็นโอรสของพระอิศวรและพระอุมาเทวี มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือท่านในฐานะที่ท่านเป็น "วิฆเนศ" นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรค ที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายถึง ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ รูปกายที่อ้วนพีนั้นมีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นช้างมีความหมาย หมายถึงผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมอง แยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณา ที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมีพาหนะคือ หนู ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิด ที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน
[แก้] ลักษณะของพระพิฆเนศวร
มีรูปกายเป็นมนุษย์อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว (ถูกขวาน ปรศุรามหักเสียงา) สีกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง) มีสี่กร พระหัตถ์หน้าขวาถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายถือขันน้ำมนต์ เป็นกระโหลกศีรษะมนุษย์ พระหัตถ์หลังขวาถือ ตรี พระหัตถ์ซ้ายถือบาศ (บ่วง) พาหนะคือ หนู
[แก้] ตำนาน
เหตุที่พระพิฆเนศวรทรงมีเศียรเป็นช้าง เนื่องจากเมื่อครั้งทรงกำเนิด มีพระนามเดิมว่า "ขันธกุมาร" เมื่อเจริญวัยถึงขั้นทำพิธีโสกันต์ (โกนจุก) แล้ว พระศิวะ พระบิดาได้มีบัญชาให้เชิญเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ มาร่วมในงานพิธี สำหรับพระวิษณุซึ่งกำลังบรรทมอยู่ ณ เกษียรสมุทร เมื่อถูกปลุกให้ตื่นจากบรรทม ทรงพลั้งโอษฐ์ไปว่า "ไอ้ลูกหัวหาย ช่างกวนใจจริง" ด้วยวาจาสิทธิ์ของพระวิษณุนี้ ได้ทำให้ศีรษะของพระขันธกุมารหายไปทันที ท่ามกลางความตกใจของเหล่าทวยเทพ พระศิวะจึงมีบัญชาให้พระวิษณุกรรมลงไปยังโลกมนุษย์ เพื่อหาหัวคนที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว โดยต้องเอาผู้ที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศของคนตาย มาต่อเป็นเศียรพระขันธกุมาร ปรากฏว่ายังไม่มีผู้ใดถึงที่ตาย และพบแต่เพียงช้างแม่ลูกอ่อนคู่หนึ่งที่นอนหัวหันไปทางทิศตะวันตก จึงตัดหัวช้างมาสวมให้พระขันธกุมาร จึงมีเศียรเป็นช้างมาตั้งแต่บัดนั้น
เรื่องทรงมีหนูเป็นพาหนะ ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเสวยของชอบมากเกินไปพอทรงหนูกลับ ณ ตำหนัก นั้นหนูเห็นงูตกใจทำให้หยุดกระทันหันพระพิฆเนศจึงหน้าคว่ำท้องแตก ทำให้ทรงกริ้วงูมากจึงนำงูมารัดท้องเอาไว้
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
เทวาธิบดี | ท้าวจตุโลกบาล (ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร) · พระอินทร์ · พระสุยามาธิบดี • สันดุสิตเทพบุตร • พระยาปรนิมิตเทวราช • พระยาวสวัตตีมาราธิราช |
ตรีมูรติ | พระตรีมูรติ • พระนารายณ์ (พระวิษณุ) • พระอิศวร (พระศิวะ) • พระพรหม |
เทวนพเคราะห์ | พระอาทิตย์ • พระจันทร์ • พระอังคาร • พระพุธ • พระพฤหัสบดี • พระศุกร์ • พระเสาร์ • พระราหู • พระเกตุ |
เทวดาอื่นๆ | กามเทพ • พระกฤษณะ • พระพาย • พระพิรุณ • พระอัคนี • พระยม • พระหลักเมือง • พระเสื้อเมือง • พระทรงเมือง • พระกาฬไชยศรี • เจ้าเจตคุปต์ • พระพิฆเนศวร • พระวิศวกรรม • พระเทพบิดร • จตุคามรามเทพ • พระขันทกุมาร• พระไพศรพณ์ |
เทวสตรี | พระแม่กาลี • พระแม่คงคา• พระแม่ทุรคา • พระแม่ธรณี • พระแม่ปารวตี • พระลักษมี • พระสุรัสวดี • พระอุมา |