ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (River Delta) ดินดอนปากแม่น้ำจะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็กๆ จำพวกทรายละเอียด และ โคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำเท่านั้นเมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อยๆสะสมตัวบริเวณตังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลง ไมอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อยๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรก และนานๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำและในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมาและในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิกกันด้วยสันทรายทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทราย และตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัด หรือ งอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า"เดลต้า"(Delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า"เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ๆเช่นในเอเชียเช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอีรักซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเลแต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรมบุตรในอินเดียและบังคลาเทศ ดินดอนบริเวณปากแม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรมบุตร แผ่ลงไปในทะเลมีระยะทางยาวกว่า 320 กิโลเมตร ส่วนแม่น้ำอิระวดีในพม่าตะกอนพัดมาสะสมโดยบริเวณดังกล่าวทำให้แผ่นดินงอกออกไปในทะเลปีละประมาณ 55 เมตรเป็นต้น