คำเมือง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำเมือง กำเมือง |
||||
---|---|---|---|---|
อักษร: | ||||
พูดใน: | ไทย พม่า ลาว | |||
ภูมิภาค: | ภาคเหนือตอนบน (ไทย) | |||
จำนวนผู้พูด: | 6 ล้าน | |||
ตระกูลภาษา: | ไท-กะได คำ-ไท บี-ไท ไท-แสก ไท ไทตะวันตกเฉียงใต้ ไทกลาง-ตะวันออก เชียงแสน คำเมือง |
|||
ระบบการเขียน: | ตัวเมือง | |||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาทางการใน: | ไม่มี | |||
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | - | |||
ISO 639-2: | - | |||
ISO 639-3: | nod | |||
|
||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
คำเมือง ( กำเมือง) เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ
เนื้อหา |
[แก้] ระบบเสียง
[แก้] ระบบเสียงพยัญชนะ
ริมฝีปาก | ริมฝีปากกับฟัน | ฟัน-ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |
ระเบิด | p,pʰ,b | t,tʰ,d | k,kʰ | ʔ | ||
กึ่งเสียดแทรก | c | |||||
เสียดแทรก | f | s | h | |||
นาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||
เปิดข้างลิ้น | l | |||||
กึ่งสระ | w | j |
[แก้] ระบบเสียงสระ
[แก้] ระบบเสียงวรรณยุกต์
[แก้] ตัวอย่างคำศัพท์
[แก้] จำนวนนับ
- 1 = นึ่ง
- 2 = สอง
- 3 = สาม
- 4 = สี่
- 5 = ห้า
- 6 = ฮก
- 7 = เจ๋ด
- 8 = แปด
- 9 = เก้า
- 10 = ซิบ
- 11 = ซิบเอ๋ด
- 20 = ซาว
- 21 = ซาวเอ๊ด
[แก้] คำกริยา
|
[แก้] คำคุณศัพท์
- กลับกลอก = สับปะหลี้
- ขี้เหนียว = ขี้จิ๊
- โง่ = ง่าว
- จริง = แต๊ (เช่น "แต๊อี้" = "จริงหรือ")
- ใช่, ถูก = แม่น
- ซื่อบี้อ = สึ่งตึง
- ตรง = ซื่อ
- เท่า = เต้า ( เช่น "บ่เต้า" = "ไม่เท่า")
- เบื่อ = ก้าย, ก่าย
- แพง = แปง
- มาก, เยอะ = นัก
- สวยอะไรอย่างนี้ = งามแต้งามว่า
- สวยจังเลยนะ = งามแต้ะ
- ใหญ่ = หลวง (เช่น "หูหลวง" = "หูใหญ่")
- เหนียว = ตั๋ง
- อร่อย = ลำ
- อร่อยมาก = ลำขนาด
[แก้] คำวิเศษณ์ และอื่นๆ
- กัน = กั๋น
- ก็ = ก่, ก่อ, เกาะ
- จึง, ถึง = ตึง
- เช่น = เจ้น
- ถึง = เถิง
- ทั้ง = ตึง
- ที = เตือ
- ที่ = ตี้, ตี่
- ทุก = กุ๊ (เช่น กุ๊ๆ คน= ทุกๆคน)
- บ่อย = เจื่อ
- บ้าง = พ่อง
- แบบนี้ อย่างนี้ = จะอี้ หยั่งอี้
- แบบนั้น อย่างนั้น = จะอั้น หยั่งอั้น
- พอดี = กุ้ม
- พอเหมาะ = กำพอ
- มาก (ขยายคำคุณศัพท์) = ขนาด
- ไม่ = หมะ, บะ, บ่, บ่อ (เช่น หมะใจ๊ = ไม่ใช้)
- ร่ม หมายถึง ร่มเงา = ฮ่ม
- ร่ม หมายถึง (ร่มกันแดด-กันฝน) = จ้อง
- อีก = แห็ม
[แก้] คำลงท้ายประโยค
- ครับ = กะครับ
- ค่ะ = เจ้า
- เถอะ = เตอะ
- นะ = เน้อ (เช่น เน้อครับ = นะครับ), น่อ
- สิ = กะ, ก่า
- ไหม = ก่อ
- หรือ, เหรอ (ลงท้ายคำถาม) = กะ, ก๊ะ, ก๋า
[แก้] คำสรรพนาม และศัพท์เกี่ยวกับคน
- ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
- เธอ = ตั๋ว (สุภาพ) , คิง (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
- เขา (สรรพนามบุรุษที่ 3) = เปิ้น
- ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)
- ผู้ชาย = ป้อจาย
- ผู้หญิง = แม่ญิง
- พวกเขา = หมู่เขา
- พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ) , คิงเขา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
- พวกเรา = หมู่เฮา, ฮาเขา
- เด็ก = ละอ่อน
- พ่อ = ป้อ
- พี่ชาย = อ้าย, ปี่, ปี้
- พี่สาว = ปี่, ปี้, เอ้ย
- แก่บ้าน = ผู้ใหญ่บ้าน
[แก้] ปุจฉาสรรพนาม
- ใคร = ไผ
- ทำไม = หยัง
- ที่ไหน = ตี้ไหน (ตี่ไหน), ตี้ใด (ตี่ใด)
- เท่าไร = ตะใด
- เมื่อไร = บ่ใด
- ไร = ใด
- อย่างไร = จะใด
- อะไร = อะหยัง, หยัง
[แก้] คำนามทั่วไป
- กะลา = กะโหล้ง
- กำปั้น หมัด = ลูกกุย
- คำพูด = กำปาก
- คำเล่าลือ = กำสีเน
- ใจ = ใจ๋
- ตลาด = กาด
- ตัว = ตั๋ว
- ตา = ต๋า
- ทาง = ตาง
- บันได = คันได
- บันได (สำหรับขึ้นที่สูง) = เกิ๋น, เกิน
- ปฏิทิน = ปั๊กกะตืน คำเมืองแท้ๆจะแปลว่าปฏิทิน
- ป่าละเมาะ = เหล่า
- เรือน = เฮือน
- โรงเรียน = โฮงเฮียน
- โรงพยาบาล = โฮงยา
- สนิม = ขี้เหมี้ยง
- อิฐ = บ่าดินกี่, ดินกี่
[แก้] พืช ผัก ผลไม้
|
[แก้] สัตว์
- คางคก = ค้างคาก กบตู่
- จิ้งจก = จั๊กกิ้ม
- จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด
- จิ้งเหลน = จั๊กกะเล้อ. จะเลอะ
- ตุ๊กแก = ต๊กโต.ต๊ดโต
- ช้าง = จ๊าง
- ปลาไหล = ปลาเอี่ยน ปลาเหยี่ยน
- ลูกอ๊อด = อีฮวก
กวาง = ฟาน
[แก้] เครื่องใช้
- กรรไกร = มีดยับ, มีดแซม
- กระดุม = บะต่อม
- กระเป๋า = กะเลิบ
- เข็มขัด = สายแอว สายฮั้ง
- ช้อน = จ๊อน
- ทับพี = ป้าก
- ถุงเท้า = ถุงตี๋น
- ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม
- ผ้าห่ม = ผ้าต้วบ, ผ้าต๊วบ
- ยาสูบ = ขี้โย
- รองเท้า = เกือก, เกิบ
- รองเท้าฟองน้ำ = แค็บ, เกือกแตะ
[แก้] สี
|
|
[แก้] แสง-เสียง
- มืดแถ้ก = มืดสนิท
- มืดสะลุ้ม = มืดสลัวๆ
- มืดซุ้มซิ้ม = มืดนิดๆ
- มืดวุ่ยวาย = มืดลางๆ ยังพอจำหน้ากันได้
- แจ้งฮุมหุฮุมหู่ = สว่างลางๆเลือนๆ
- แจ้งฮ่าม = สว่างจ้าสว่างเรืองรอง
- แจ้งลึ้ง = สว่างโร่เห็นได้ชัด
- แจ้งดีขวายงาม = สว่างปลอดโปร่งโล่งใจไม่มีอุปสรรค
- หันวุยวาย = เห็นเลือนๆลางๆ
- ดั้กปิ้ง = เงียบกริบ
- ดั้กปิ้งเย็นวอย = เงียบเชียบ
- ดั้กแส้ป = ไม่ได้ข่าวคราว
- ดั้กก๊กงก = นั่งนิ่ง
- ดังทึดทึด = เสียงดังก้องไปทั่ว
[แก้] กลิ่น รส
- เหม็นโอ๊ง, เหม็นโอ่ = เหม็นเน่า
- จ๋างแจ้ดแผ้ด = จืดชืด
- ขมแก๊ก = ขมมาก
- ส้มโจ๊ะโล๊ะ = รสเปรี้ยวมาก
- ฝาดหยั่งก้นตุ๊ = รสฝาดมาก
- ขมจ่อมล่อม=ขมพอดีพอดี
[แก้] ข้อสังเกต
ศัพท์ในคำเมืองบางคำคล้ายภาษาไทยกลาง เพียงแต่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ เช่น จาก "ท" เปลี่ยนเป็น "ต" (เช่น "ทาง" เป็น "ตาง"), "ร" เป็น "ฮ" (เช่น "รัก" เป็น "ฮัก"), "ช" เป็น "จ" (เช่น "ช้อน" เป็น "จ๊อน"), "พ" เป็น "ป" (เช่น "แพง" เป็น "แปง"), "ค" เป็น "ก" (เช่น "คำ" เป็น "กำ") เป็นต้น โดยมักจะคงเสียงวรรณยุกต์เดิม (เช่น "ใช้" เป็น "ใจ๊") แต่บางคำเมื่อเทียบกับคำในภาษากลางที่มีเสียงสามัญจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "ตัว" เป็น "ตั๋ว", "ใจ" เป็น "ใจ๋")
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] อ้างอิง
- พจนี ศิริอักษรสาสน์. ภาษาถิ่นของไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545. ISBN 974-593-984-6
|
|
---|---|
ภาษาไหล-เกยัน | ไหล • เจียมาว • ยารง • เกลาว • ลาติ • ลาติขาว • ปู้ยัง • จุน • เอน • กวาเบียว • ลาคัว • ลาฮา |
ภาษาคำ-ไต | เบ • ไต • แสก • ลักเกีย • เบียว • อ้ายจาม • ต้ง (เหนือ / ใต้) • คัง • มู่หล่าว • เหมาหนาน • สุ่ย |
กลุ่มภาษาคำ-ไต > ภาษาไต | |
กลุ่มเชียงแสน | ไทดำ • คำเมือง • ไทขาว • ไทย • ไทฮ่างตง • ไทแดง • พวน • ตูลาว |
กลุ่มลาว-ผู้ไท | ลาว • ไทญ้อ • ผู้ไท • ไทยถิ่นอีสาน |
กลุ่มไทพายัพ | อาหม • อ่ายตน • คำตี่ • คำยัง • พ่าเก • ไทขึน • ไทใหญ่ • ไทลื้อ • ไทเหนือ |
กลุ่มอื่นๆ | ปายี • ไทถาน • ไทยอง • ไทหย่า |
ภาษาไต(อื่นๆ) | จ้วง • นุง • ต่าย • ตุรุง • นาง • ปูยี • ไทยถิ่นใต้ • ไทยโคราช |