คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ | Faculty of Political Science Thammasat university |
วันจัดตั้ง | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 |
คณบดี | รศ. ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ |
วารสาร | รัฐศาสตร์สาร และ นิตยสารโดม |
สีประจำคณะ | สีดำ |
สัญลักษณ์คณะ | สิงห์แดง |
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ส่งผลให้มีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ขึ้นในปี พ.ศ. 2477 นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมของการจัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือ ในสมัยแรกเริ่มนั้นการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ได้แทรกปะปนอยู่กับเนื้อหาของหลักสูตรวิชา "ธรรมศาสตร์บัณฑิต" (ธ.บ.) ในระดับชั้นปริญญาตรี ในขณะที่ในระดับชั้นปริญญาโทและระดับชั้นปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมืองได้แยกหลักสูตรออกเป็น 3 ทางอย่างชัดเจน ได้แก่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2491-2492 ภายหลังจากเกิดความผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรงภายหลัง รวมทั้งการที่สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีความเห็นใน แนวทางเดียวกันว่าการเรียนการสอนในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตนั้นมีความ "ไม่เพียงพอ" ที่จะผลิตบัณฑิตได้ตรงกับหน้าที่การงาน อีกทั้งธรรมศาสตร์บัณฑิต จัดการเรียนการสอนในแบบตลาดวิชา จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับการที่มีสภาวะแวดล้อมทางการเมืองทั้งภายในและ ภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ผลักดันให้มีการ ลงมติให้ตรา "ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492" ขึ้น ข้อบังคับดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กล่าวคือ ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ในสมัยแรกเริ่มของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น คณบดีและคณะกรรมการร่า หลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นจำนวนหลายประเทศ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือในทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิฟูลไบรท์ ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงสมัยนั้นด้วย
นับจากวันนั้นตราบจนถึงปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคณบดีต่อเนื่องกันรวม 18 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับความช่วยเหลือในทางวิชาการโดยตรงจากสหรัฐอเมริกา ก็มีการเปิด "แผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์" ในระดับชั้นปริญญาโท โดยทำการเรียนการสอนทั้งในระบบภาษาอังกฤษและภาษาไทย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2502 คณะรัฐศาสตร์ได้มีมติให้จัดตั้งแผนกการทูตในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรก (หลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาเป็นเวลาช้านาน) รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง แผนกบริหารรัฐกิจและแผนกรัฐศาสตร์ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีเพิ่มเติมขั้นอีกสองแผนก ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2510
สรุปได้ว่า เมื่อถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทขึ้นรวม 4 แผนก ได้แก่ การปกครอง บริหารรัฐกิจ การระหว่างประเทศ (หรือแผนกการทูตเดิม) และปรัชญาการเมือง ก่อนที่จะยุบรวมลงเหลือเพียง 3 แผนก ได้แก่ การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ และการระหว่างประเทศ ในสมัยปัจจุบัน นอกจากนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและระบบการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐศาสตร์จึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษในระดับชั้นปริญญาโทขึ้นรวม 3 แผนก ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร สาขาบริหารรัฐกิจ (EPA) หลักสูตรปริญญาโท สาขาการปกครองสำหรับผู้บริหาร (MPE) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MIR) ซึ่งจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหลักสูตร
นอกเหนือจากการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้ คณะรัฐศาสตร์ได้ตระหนักถึงการเผยแพร่ความรู้ในสาขาวิชาใหม่ ๆ และการจัดหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาเอก เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ในระดับสากล ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2548 คณะรัฐศาสตร์จึงได้จัดทำร่างหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ คาดว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้ ในปีการศึกษา 2550
ในปี พ.ศ. 2549 คณะรัฐศาสตร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ ให้เข้าร่วมประชุมร่วมกับประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินเดีย เพื่อหารือเกี่ยวกับการทำโครงการหลักสูตรร่วมระดับปริญญาเอก ซึ่งจะเป็นโครงการร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง 5 ประเทศ โดยโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าคือ ประมาณเดือนมิถุนายน 2549 คณะรัฐศาสตร์จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางและเป้าหมายในการจัดทำโครงการหลักสูตรร่วม
จากพัฒนาการของคณะรัฐศาสตร์ดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้คณะฯ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาต่าง ๆ ออกไปมากมาย เพื่อรับใช้ประเทศชาติ และในอนาคตจะมีโครงการร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้นอีกด้วย
[แก้] สัญลักษณ์ประจำคณะ
- สัญลักษณ์ คือ สิงห์แดง
- สีประจำคณะ คือ สีดำ
- ต้นไม้ประจำคณะ คือ ต้นจำปี
- คำขวัญ คือ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง
[แก้] เพลงประจำคณะ
เพลงประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คือเพลง มาร์ชรัฐศาสตร์
- สิงห์คำราม
มาเถิดมาพวกเราร่วมร้องเฮฮา
ร่วมนาวาเกรียงไกรธงชัยชาญ
เด่นอย่างสิงห์ระบิลเกริกก้องลือนาม
สิงห์คำรามไม่ครั่นคร้ามไม่ขามผู้ใด
หากใครหาญรานรอนเริงรุกราวี
ร่วมไมตรีชีวีนิรันดร
จะประจัญฟาดฟันราญฤทธิรอน
สิงห์คะนองสิงห์ลำพองผยองมีชัย
สุขประชารักษายิ่งดวงใจ
สร้างชาติไทยไตรรงค์คงยืนนาน
นี่แหละคือรัฐศาสตร์ชาติชายชาญ
ธำรงนามระบิลไกลเชิดชัย ชโย.
[แก้] หน่วยงาน
- ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ
- โครงการ Japan-Watch
- โครงการวิชาโทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
- ศูนย์ศึกษานโยบายต่างประเทศ
- โครงการธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ห้องสมุด ศ.ดิเรก ชัยนาม
[แก้] หลักสูตรที่เปิดสอน
- ระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
- สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
- สาขาวิชาการระหว่างประเทศ
- หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
- ระดับปริญญาโท
- ระดับปริญญาเอก
- หลักสูตรพิเศษ
[แก้] ศิษย์เก่าดีเด่น
- ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คณบดีคนแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนแรก
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมือง
- พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
- รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดูเพิ่ม รายชื่อบุคคลเด่นในประชาคมธรรมศาสตร์
[แก้] ดูเพิ่ม
|
---|
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
บุคคลชาวธรรมศาสตร์ |
กิจกรรมชาวธรรมศาสตร์ |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับการเมือง |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เว็บบอร์ดสิงห์แดง
- เวบบอร์ดสิงห์แดง แสงจันทร์
- กลุ่มบอล สิงห์แดง
- เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับคณะรัฐศาสตร์ "สิงห์แดง" 100 เรื่อง
- แนะแนวการศึกษารัฐศาสตร์...ที่นี่
|
||
---|---|---|
สถาบันที่เปิดสอน | เกษตรศาสตร์ • จุฬาลงกรณ์ • เชียงใหม่ • ธรรมศาสตร์ • บูรพา • ปทุมธานี• พระนคร • นเรศวร• มหาสารคาม • แม่โจ้ • รามคำแหง • เวสเทิร์น • ศรีนครินทรวิโรฒ • รัฐศาสตร์ สวนดุสิต • รัฐประศาสนศาสตร์ สวนดุสิต• สวนสุนันทา • สงขลานครินทร์ • สุโขทัยธรรมาธิราช • หาดใหญ่ • อุบลราชธานี | |
รายชื่อ • หมวดหมู่ • โครงการ • สถานีย่อย |
|
||
---|---|---|
คณะ | นิติศาสตร์ • พาณิชยศาสตร์และการบัญชี • รัฐศาสตร์ • เศรษฐศาสตร์ • สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ • ศิลปศาสตร์ • วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน • สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • วิศวกรรมศาสตร์ • แพทยศาสตร์ • ทันตแพทยศาสตร์ • สหเวชศาสตร์ • พยาบาลศาสตร์ • สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง • ศิลปกรรมศาสตร์ • สาธารณสุขศาสตร์ | |
สถาบัน | สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร | |
วิทยาลัย | วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา • วิทยาลัยสหวิทยาการ | |
หมวดหมู่ • โครงการ • สถานีย่อย |