See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
กำจัดจุดอ่อน - วิกิพีเดีย

กำจัดจุดอ่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กำจัดจุดอ่อน

โลโก้รายการ
ออกอากาศ Flag of the United Kingdom 14-08-2543—ปัจจุบัน
Flag of ไทย 07-02-254526-12-2545
สถานีโทรทัศน์ Flag of the United Kingdom BBC Two
Flag of ไทย ช่อง 3(BEC)
ผู้ดำเนินรายการ Flag of the United Kingdom แอนน์ โรบินสัน
Flag of ไทย กฤษติกา คงสมพงษ์
ผลิตโดย Flag of the United Kingdom BBC Entertainment
Flag of ไทย บางกอกการละคอน
ระดับ ไม่ทราบ
เนื่องจากรายการยุติไปก่อนที่จะมี
การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย

กำจัดจุดอ่อน (อังกฤษ: Weakest Link) คือรายการเกมโชว์ ออกอากาศครั้งแรกในสหราชอาณาจักรทางช่อง BBC Two เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ออกแบบรายการโดย ฟินตัน คอยล์ (Fintan Coyle) นายแพทย์และผู้เขียนบทละครตลก และ เคธี ดันนิง (Cathy Dunning) นักแสดงตลก พัฒนาเพื่อการออกอากาศโดย บีบีซี เอนเทอร์เทนเมนท์ เป็นรายการที่ถอดแบบมาดำเนินรายการในฉบับภาษาต่างๆ ทั่วโลก ถูกเรียกว่า "เกมโชว์แบบเรียลลิตี้" เพราะมีลักษณะคล้ายเรียลลิตี้โชว์ในปัจจุบัน และเป็นรากฐานแห่งเรียลลิตี้โชว์ ฉบับสหราชอาณาจักร ดำเนินรายการโดย แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) โดยในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ออกอากาศเป็นตอนที่ 1,000

เนื้อหา

[แก้] รูปแบบทั่วไปของรายการ

เวทีของรายการฉบับสหรัฐอเมริกา
เวทีของรายการฉบับสหรัฐอเมริกา

รูปแบบต้นฉบับมีลักษณะการแข่งขันแบบเป็นกลุ่มของผู้แข่งขัน6-9 คน ผลัดกันตอบคำถามความรู้ทั่วไป เป้าหมายในแต่ละรอบคือการตอบคำถามอย่างถูกต้องติดต่อกันเพื่อสะสมเงินรางวัลตามขั้น และถ้าตอบคำถามผิดเงินรางวัลที่สะสมตามขั้น ก็จะหายไป แต่ก่อนการถามคำถามของผู้ดำเนินรายการนั้นผู้เข้าแข่งขันสามารถพูดคำว่า "เก็บ" ได้ซึ่งจะทำให้เงินรางวัลตามขั้นที่สะสมไว้ถูกเก็บไว้เป็นเงินรางวัลรวมอย่างปลอดภัย และการสะสมเงินรางวัลตามขั้นก็จะเริ่มต้นขึ้นใหม่

การเก็บเงินรางวัลสะสมไว้เป็นทางเลือกที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามการที่ยังไม่เก็บเงินรางวัลสะสม และตอบคำถามในข้อนั้นถูกต้องก็จะทำให้เงินรางวัลสะสมเพิ่มขึ้นไปตามขั้น

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามคำถามแก่ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือไม่ตอบคำถาม ก็จะถือว่าตอบคำถามผิด และเมื่อเวลาในการตอบคำถามของในแต่ละรอบหมดลง เงินรางวัลสะสมที่ไม่ได้ถูกเก็บก็จะหายไป

ผู้เล่นแต่ละท่านจะถูกบังคับให้ต้องลงคะแนนให้แก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นที่คิดว่าเป็น"จุดอ่อน" หรือด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการลงคะแนนมากที่สุดเมื่อจบการแข่งขันในแต่ละรอบจะถูกกำจัดออกไปจากเกม หากมีผู้ได้รับการลงคะแนนเท่ากันผู้เข้าแข่งขันก็จะได้รับโอกาสให้ลงคะแนนใหม่

เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันถูกกำจัดออกไป เวลาในการตอบคำถามในรอบต่อไปก็จะถูกลดลง 10 วินาที ในรอบที่ 8 เวลาจะถูกลดเหลือ 90 วินาที

[แก้] การลงคะแนน

เวทีของฉบับออสเตรเลีย
เวทีของฉบับออสเตรเลีย

เมื่อจบการถามคำถามในแต่ละรอบผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงคะแนนให้ผู้เล่นท่านอื่นออกจากการแข่งขัน คนที่พวกเขาคิดว่าเป็น"จุดอ่อน" หรือผู้ที่ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือผู้ที่ไม่ยอมเก็บเงินรางวัลสะสมหรือตอบคำถามผิดหลายครั้ง ในขณะที่ลงคะแนนมีเพียงผู้ชมรายการเท่านั้นที่ทราบ(ผ่านทางผู้บรรยาย)ว่าใครคือ "ผู้ที่แกร่งที่สุด" และใครคือ "จุดอ่อน" โดยมาจากสถิติในการตอบคำถาม

ในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังแข่งขันนั้นจะถูกกระตุ้นให้ไร้ความปราณีแก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น การลงคะแนนเป็นกลยุทธหนึ่งของผู้เล่นที่มีไหวพริบที่จะทำให้ตนชนะ และทำให้มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด การลงคะแนนให้กับผู้เข้าแข่งขันที่เป็น "จุดอ่อน" เป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าของเงินรางวัลรวม จากนั้นผู้ดำเนินรายการถามผู้เข้าแข่งขันว่าเขาลงคะแนนให้ใครและทำไมถึงลงคะแนนให้ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้น เมื่อถึงเวลาในการกำจัดผู้เข้าแข่งขันออก ผู้ดำเนินรายการจะกล่าวคำว่า "คุณ..(ชื่อผู้แข่งขัน)..คุณคือจุดอ่อนของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!)

[แก้] กลยุทธ์ในการแข่งขัน

ผู้เล่นที่ตอบคำถามผิดในบางครั้งอาจจะไม่ถูกเพ่งเล็ง แต่อย่างไรก็ตามกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่เสี่ยง ผู้วิเคราะห์ท่านหนึ่งแนะนำว่าการตอบคำถามถูกอย่างน้อยร้อยละ 60 เหมาะสมที่สุด ถ้าน้อยกว่านี้คุณจะเสี่ยงต่อการถูกลงคะแนนให้ออกในสถานะ"จุดอ่อน" ถ้าคุณทำได้ดีมากกว่านั้นคุณก็อาจจะถูกเพ่งเล็งจากผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเงินรางวัลรวม แนะนำให้ใช้วิธีเก็บเงินรางวัลหลายๆ วิธี หากไม่เก็บเมื่อเงินรางวัลสะสมมากสุดก็เก็บเงินรางวัลสะสมในทุกๆ คำถาม ส่วนมากกลุ่มผู้เข้าแข่งขันจะเก็บเงินรางวัลสะสมในทุกๆ 3-4 คำถาม

[แก้] รอบสุดท้าย

กำจัดจุดอ่อนฉบับฟิลิปปินส์
กำจัดจุดอ่อนฉบับฟิลิปปินส์

เมื่อเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่าน พวกเขาจะต้องร่วมกันแข่งขันในรอบสุดท้ายโดยจะมีกติกาเหมือนดังรอบก่อนๆ แต่ในรอบนี้เงินรางวัลที่เก็บสะสมได้เมื่อหมดรอบจะถูกเพิ่มเป็นสามเท่า(หรือสองเท่าในบางฉบับภาษา) ก่อนที่จะถูกรวมเข้าไปในเงินรางวัลรวมเพื่อเป็นเงินรางวัลให้แก่ผู้ชนะเกม ในรอบนี้จะไม่มีผู้ที่ถูกกำจัด และเกมก็จะเข้าสู่รอบตัวต่อตัว

[แก้] รอบตัวต่อตัว

ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่านจะถูกบังคับให้ตอบคำถามคนละ 3-5 คำถาม ผู้ที่แกร่งที่สุดจากรอบที่แล้วจะได้เลือกว่าใครจะเป็นผู้ตอบคำถามก่อน ใครที่ตอบคำถูกมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

ผู้ชนะจะกลับบ้านพร้อมพร้อมเงินรางวัลรวม ผู้แพ้จะกลับบ้านมือเปล่าเช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขันอื่นที่ถูกกำจัดออก

ในกรณีที่เสมอ เกมจะเข้าสู่ช่วงต่อเวลา ผู้เข้าแข่งขันต้องตอบคำถามไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีท่านหนึ่งตอบถูกและอีกท่านตอบผิด บางทีอาจกินเวลาเป็นเวลานาน ในบางประเทศรอบต่อเวลานั้นอาจกินเวลาพอๆ กับรอบปกติ ในฉบับสหรัฐอเมริกาฤดูกาลแรกผู้ที่ตอบคำถามถูกเท่ากันจะได้รับเงินรางวัลร่วมกัน

Maria Kiselyova พิธีกรฉบับรัสเซีย
Maria Kiselyova พิธีกรฉบับรัสเซีย

ตอนที่มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ผู้ชนะได้รับเงินรางวัลสูงถึง 10,000 ปอนด์ และในตอนการแข่งขันของผู้มีชื่อเสียงเพื่อการกุศลมีเงินรางวัลสูงถึง 50,000 ปอนด์

[แก้] ความสำเร็จของรายการ

แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายการประสบความสำเร็จ ก่อนหน้านั้นผู้คนในสหราชอาณาจักรเคยได้ฟังน้ำเสียงอันเสียดสีของเธอในรายการ Watchdog

โดยในรายการกำจัดจุดอ่อนนี้เธอจะพูดจาเสียดสี แหน็บแนม และตำหนิ กลุ่มผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำเงินรางวัลสะสมได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดขายของรายการ จนทำให้คำพูดที่กล่าวว่า "คุณคือจุดอ่อนของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) เป็นคำพูดที่ติดปากผู้ชมอย่างรวดเร็ว (ผู้ที่คิดคำพูดนี้ขึ้นมาคือ Jeremy Paxman ผู้ดำเนินรายการ University Challenge) ผู้บรรยายในฉบับสหราชอาณาจักรคือ Jon Briggs

ประเทศที่มีรายการในรูปแบบภาษา/ประเทศของตน
ประเทศที่มีรายการในรูปแบบภาษา/ประเทศของตน

หลายๆ องค์ประกอบของรายการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากรายการ บิ๊ก บราเธอร์ และ Who Wants To Be A Millionaire แต่ทว่า รูปแบบของรายการนั้นค่อนข้างจะแปลกไปจากรายการอื่นอย่างเด่นชัด กล่าวคือ มีการเปิดฉากต่อสู้กันทางสีหน้า ท่าทาง และวาจาของผู้เข้าแข่งขัน โดยใช้ผู้ดำเนินรายการเป็นตัวกระตุ้น ในบางประเทศรายการถูกสื่อต่างๆ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ประเทศ รายการนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

[แก้] รูปแบบรายการภาษาต่างๆ ทั่วโลก

[แก้] เอเชีย

Dodo Cheng พิธีกรฉบับฮ่องกง
Dodo Cheng พิธีกรฉบับฮ่องกง

[แก้] ยุโรป

Kamila Babayeva พิธีกรฉบับอาเซอร์ไบจัน
Kamila Babayeva พิธีกรฉบับอาเซอร์ไบจัน
Krisztina Máté พิธีกรฉบับฮังการี
Krisztina Máté พิธีกรฉบับฮังการี

[แก้] แอฟริกา

[แก้] อเมริกาเหนือ

[แก้] อเมริกาใต้

[แก้] โอเชียเนีย

กฤติกา คงสมพงษ์
กฤติกา คงสมพงษ์

[แก้] กำจัดจุดอ่อน (ไทย)

รูปแบบภาษาไทย มีชื่อรายการว่า "กำจัดจุดอ่อน" เริ่มออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ดำเนินรายการโดย กฤติกา คงสมพงษ์ มีผู้เข้าแข่งขัน 8 ท่าน ชิงเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท

รายการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยรัฐบาลไทยว่า "ขัดแย้ง และไม่เหมาะสมต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมของไทย" และถูกเฝ้าจับตา เช่นเดียวกับในฮ่องกง ภายหลังทางรายการจึงปรับลดความแข็งกร้าวลง แต่ในที่สุด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 รายการกำจัดจุดอ่อนก็ต้องยุติลง

โลโก้รายการกำจัดจุดอ่อนในภาษาไทย
โลโก้รายการกำจัดจุดอ่อนในภาษาไทย

[แก้] สื่อต่างๆ ในไทย

รายการกำจัดจุดอ่อนที่ฉายในประเทศไทยนั้นเป็นที่นิยม ต่อมาได้ถูกล้อเลียนในรูปแบบสื่อต่างๆ เช่น ตลก การ์ตูน รวมไปถึงเกมส์คอมพิวเตอร์

[แก้] ตลก

สำหรับตลกกำจัดจุดอ่อนนั้นจะเป็นการแสดงตลกล้อเลียนรายการ ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นชื่ออื่นๆ เช่น

  • The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน (ก่อนบ่ายคลายเครียด) พิธีกร:ธงธง มกจ๊กและตี๋ ดอกสะเดา
  • The Weakest Link กำจัดจุด...อ่อนๆ(ตี 10) พิธีกร:เสนาลิง
  • ตึกสามเพดานสูง พิธีกร:ดารณีนุช โพธิปิติ
  • กำจัดใครก่อน พิธีกร:น้อย โพธิ์งาม
  • เดอะชิเก้นลิงก์ กำจัดไก่อ่อน(สาระแนโชว์) พิธีกร:เปิ้ล นาคร
  • เดอะวินตื้บลิงก์ กำจัดปัญญาอ่อน พิธีกร:ค่อม ชวนชื่น
  • The Weakest Joker กำจัดตลกอ่อน พิธีกร:กฤษติกา คงสมพงษ์

[แก้] กำจัดตลกอ่อน

เวทีรายการกำจัดตลกอ่อน
เวทีรายการกำจัดตลกอ่อน

เป็นรายการที่จัดโดยทีมงานของทางรายการกำจัดจุดอ่อนเอง โดยเป็นการแก้เผ็ดผู้เข้าแข่งขันที่ล้อเลียนรายการ โดยให้ผู้เข้าแข่งขันมาแข่งขันรายการ "กำจัดจุดอ่อน" ของจริง ซึ่งมีพิธีกรคือคุณกฤติกา คงสมพงษ์ ในรอบแรกนั้นพิธีกรจะถามเฉพาะคำถามที่ยากกว่าคำถามปกติที่ใช้ในการแข่งขันจริง ทำให้ผู้เข้าขันแต่ละคนถึงกับหน้าซีด แต่เมื่อจบการแข่งขันในรอบแรก ทางทีมงานจึงมาเฉลยว่าเป็นการแก้เผ็ดกับพิธีกรที่ล้อเลียนรายการ และให้เล่นเกมกันใหม่โดยไม่ใช้บรรยากาศแบบนี้ จึงได้มีการเล่นเกมใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น The Weakest Joker กำจัดตลกอ่อน ซึ่งมีแต่คำถามตลกๆ และคำถามประหลาดๆ โดยผลการแข่งขันปรากฏว่าผู้ที่ชนะและไม่ถูกกำจัดออกคือธงธง มกจ๊ก และในตอนท้ายทางรายการได้บริจาคเงินทั้งหมดหนึ่งแสนบาทแก่มูลนิธิการกุศล

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -