การบินไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบินไทย | ||
---|---|---|
IATA TG |
ICAO THA |
Callsign Thai |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2503 | |
ท่าอากาศยานหลัก | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง |
|
ท่าอากาศยานรอง | ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต |
|
รายการสะสมแต้ม | รอยัลออร์คิดพลัส | |
ห้องรับรอง | Royal First Lounge Royal Silk Lounge Royal Orchid SPA |
|
พันธมิตรสายการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | |
ขนาดฝูงบิน | 90 (กำลังสังซื้อ 54 รายการ) | |
จุดหมายปลายทาง | 74 | |
บริษัทแม่ | บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) | |
สำนักงานใหญ่ | กรุงเทพ ประเทศไทย | |
บุคคลหลัก | อภินันทน์ สุมนะเศรณี (กรรมการผู้อำนวยการใหญ่) พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข (ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทยจำกัด มหาชน) | |
เว็บไซต์: www.thaiairways.com(ภาษาอังกฤษ) www.thaiairways.co.th(ภาษาไทย) |
บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) (อังกฤษ: Thai Airways International) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศไทย เริ่มบินเที่ยวแรกวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 การบินไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ ในประเทศไทยมีฉายาเรียกว่า เจ้าจำปี ซึ่งมีที่มาจากสัญลักษณ์ของการบินไทย การบินไทยได้ระดับความปลอดภัย "A" ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยที่สุด วัดจากสถิติสะสมตั้งแต่ พ.ศ. 2513 โดย Air Rankings Online
บริษัทวิจัยในธุรกิจการบินของโลก "สกายแทรกซ์ รีเสิร์ช" เผยผลสำรวจเพื่อจัดอันดับสายการบินแห่งปี 2550 ให้การบินไทยได้รับเลือกให้เป็นสายการบินอับดับ 2 ของโลก ขณะที่ในส่วนของเลานจ์สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งของการบินไทยที่สนามบินสุวรรณภูมินั้น ได้รับการโหวตให้เป็นเลานจ์สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ดีที่สุด [1]
เนื้อหา |
[แก้] รางวัลที่ได้รับปี 2550
- การบินไทยได้รับการจัดอันดับประเภท สายการบินระหว่างภูมิภาคยอดเยี่ยมในอันดับ 2 จากนิตยสาร Travel News ประเทศสวีเดน จากการประกาศรางวัลในงาน Grand Travel Award 2007
- บัตรเครดิต THAI American Express Platinum ได้รับรางวัลเฟรดี้ อวอร์ดส ประเภท Best Co-brand Card ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จากการประกาศรางวัลครั้งที่ 19
- การบินไทยได้รับรางวัลหัองรับรองพิเศษชั้นหนึ่งยอดเยี่ยม ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมกันนี้ การบินไทยยังได้รับรางวัลสายการบินดีเด่นอันดับที่ 2 จากเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ในอันดับที่ 4 จากการสำรวจของสกายแทร็กซ์ สถาบันวิจัยอิสระของอังกฤษ [2]
[แก้] เส้นทาง
[แก้] เส้นทางบินภายในประเทศ เข้าและออกจากกรุงเทพฯ 12 จุดหมายปลายทาง
- เชียงใหม่
- เชียงราย
- พิษณุโลก
- แม่ฮ่องสอน
- ขอนแก่น
- อุบลราชธานี
- อุดรธานี
- หาดใหญ่
- ภูเก็ต
- กระบี่
- สุราษฎร์ธานี
- เกาะสมุย
[แก้] เส้นทางบินต่างประเทศ เข้าและออกจากกรุงเทพฯ 5 ทวีป 63 จุดหมายปลายทาง
[แก้] ตะวันออกกลาง (3 ประเทศ/3 เส้นทาง)
- โอมาน : มัสกัต
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ : ดูไบ
- คูเวต: คูเวต
[แก้] เอเชีย/แปซิฟิค(20 ประเทศ / 46 เส้นทาง)
- ออสเตรเลีย : บริสเบน, เมลเบิร์น , เพิร์ธ, ซิดนีย์
- บังคลาเทศ : ธากา, จิตตะกอง
- จีน : ปักกิ่ง, คุนหมิง, กวางเจา, เซี่ยงไฮ้, เฉียงตู, เซี๊ยเหมิน, ฮ่องกง
- กัมพูชา : พนมเปญ
- อินเดีย : กัลกัตตา, เดลลี, มุมไบ, เซนไน, บังกาลอร์ , ไฮเดอร์ราบัด, พุทธคายา, พาราณสี
- อินโดนีเซีย : จาการ์ตา, บาหลี
- ญี่ปุ่น : โอซากา, โตเกียว, นาโกยา, ฟุกุโอกะ
- เกาหลี : โซล (อินชอน), ปูซาน
- ลาว : เวียงจันทน์
- มาเลเชีย : กัวลาลัมเปอร์, ปีนัง
- พม่า : ย่างกุ้ง
- เนปาล : กาฐมาณฑุ
- นิวซีแลนด์ : โอกแลนด์
- ปากีสถาน : การาจี , ลาฮอร์, อิสลามาบัด
- ฟิลิปปินส์ : มะนิลา
- สิงคโปร์ : สิงคโปร์
- ศรีลังกา : โคลัมโบ
- ไต้หวัน : ไทเป
- เวียดนาม : โฮจิมินห์ ซิตี้ , ฮานอย
[แก้] อเมริกาเหนือ(1 ประเทศ/1 เส้นทาง)
- สหรัฐอเมริกา : ลอสแอนเจลิส
[แก้] ยุโรป(10 ประเทศ/12 เส้นทาง)
- เดนมาร์ก : โคเปนเฮเกน
- สหรัฐอาณาจักร : ลอนดอน (ฮีตโทรว)
- ฝรั่งเศส : ปารีส (ชาร์ล เดอ โกล)
- เยอรมนี : แฟรงเฟิร์ต, มิวนิค
- กรีซ : เอเธนส์
- อิตาลี : โรม, มิลาน
- รัสเซีย : มอสโคว์
- สเปน : แมดริด
- สวีเดน : สต็อคโฮม
- สวิตเซอร์แลนด์ : ซูริค
[แก้] แอฟริกาใต้(1 ประเทศ/1 เส้นทาง)
- แอฟริกาใต้ : โยฮันเนสเบิร์ก
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2502 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (TAC - Thai Airways Company Limited) ได้ร่วมกันทำสัญญาร่วมทุนกับสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ (SAS - Scandinavian Airlines System) ก่อตั้งสายการบินไทยเพื่อดำเนินธุรกิจการบินระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2503 การบินไทยได้ทำการเปิดเส้นทางบินจากกรุงเทพฯไปยังเมืองต่างๆในเอเชียอีกจำนวน 11 เมือง และการบินไทยยังได้นำเสนอสัญลักษณ์ซึ่งเป็นรูปตุ๊กตารำ ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้ถือหุ้นร้อยละ 70 และสายการบินสแกนดิเนเวีย ได้ถือหุ้นร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียน จำนวน 2 ล้านบาท โดยมีพนักงานเพียง 500 กว่าคน ได้เช่าเครื่อง DC-6B จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 3 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบใบพัด
- HS-TGA “สุรนารี”
- HS-TGB “เทพสตรี”
- HS-TGC “ศรีสุนทร”
และในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 การบินไทยได้ทำการบินเที่ยวบินแรกไปยังฮ่องกง-ไทเป-โตเกียวด้วยเครื่อง DC-6B ซึ่งมีผู้โดยสารเต็มเครื่อง 60 คน เดินทางออกจากท่าอากาศยานดอนเมืองเวลา 12.00
- พ.ศ. 2504 การบินไทยได้ทำสถิติมีผู้โดยสารใช้บริการกว่า 83,000 คน ได้สร้างเอกลักษณ์ของบริการเอื้องหลวง (Royal Orchid Service) และหม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิไชยได้ออกแบบชุดไทยสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าไหมไทย และได้เช่าเครื่อง DC-6B จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 1 ลำ (HS-TGD “ศรีสุริโยทัย” คืน HS-TGA “สุรนารี” สายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป)
- พ.ศ. 2505 การบินไทยได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2 ล้านบาทเป็น 40 ล้านบาท และได้เช่าเครื่อง Convair 990 Coronado จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 1 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินไอ่พ่นและเครื่องที่มีสมรรถนะเร็วที่สุดในเวลานั้น มีจำนวน 99 ที่นั่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของเครื่องบินลำนี้ (HS-TGE “ศรีสุริโยทัย” คืน HS-TGD “ศรีสุริโยทัย” สายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป)
- พ.ศ. 2506 การบินไทยได้เปลี่ยนเป็นพันธมิตรกับหลายๆ สายการบินในเอเชีย เพื่อเพิ่มเที่ยวบิน จากกรุงเทพฯ-ฮ่องกง-กรุงเทพฯ-กัลกัตตา-กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ และได้เช่าเครื่อง Caravelle lll จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 1 ลำ (HS-TGF “สุรนารี” คืน HS-TGB “เทพสตรี” สายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป)
- พ.ศ. 2507 การบินไทยได้เช่าเครื่อง Caravelle SE-210 จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 1 ลำซึ่งเครื่องลำนี้สร้างขึ้นในฝรั่งเศส มีจำนวน 72 ที่นั่ง (HS-TGG “เทพสตรี” คืน HS-TGC “ศรีสุนทร” และ HS-TGE “ศรีสุริโยทัย” สายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป) การบินไทยได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังโอซาก้า และต่อมาได้เช่าเครื่อง DC-9-4 จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ (ได้คืน Caravelle SE-210 สายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป)
พ.ศ. 2508 การบินไทยได้ทำกำไรได้เป็นปีแรกถึง 3.9 ล้านบาท และต่อจากปีนั้นมาจนถึงปัจจุบันการบินไทยก็ทำกำไรได้ติดต่อมาตลอดทุกปี การบินไทยได้เช่าเครื่อง Caravelle lll จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 1 ลำ - HS-TGH “ศรีสุนทร” สายการบินแอร์สยามซึ่งเป็นสายการบินเอกชนซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2508 ซึ่งในช่วงแรกได้เปิดเส้นทางบินไปถึงลอสแองเจลลีสโดยผ่านเมืองโตเกียวและฮอนโนลูลู และหลายๆเมืองในเอเชียแต่ก็ล้มเลิกไปเนื่องจากขาดทุนและกลับมาเกิดใหม่อีกครั้งโดยเปิดเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง-โตเกียว-ฮอนโนลูลู และได้เปิดเส้นทางบินไปยังลอสแอนเจลิสอีกครั้งโดนผ่านฟูกุโอกะ ต่อมาบริษัทประสบปัญหาหลายอย่างจึงทำให้บริษัทให้เช่าเครื่องบินเอาเครื่องบินกลับไป จึงทำให้แอร์ สยามถูกยึกใบอนุญาต จนล้มและเลิกทำการบินไปในที่สุดในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
- พ.ศ. 2509 การบินไทยได้เช่าเครื่อง Caravelle SE-210 จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 5 ลำและได้เช่าเครื่อง Caravelle lll จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 1 ลำ ซึ่งนับเป็นสายการบินในเอเชียสายแรกที่ทำการบินด้วยเครื่องไอพ่นทั้งหมด และมีนักบินที่เป็นคนไทยแล้วเนื่องจากก่อนหน้านี้การบินไทยจะใช้นักบินของสายการบินสแกนดิเนเวียแอร์ไลน์ทำการบิน และการบินไทยได้มอบตำแหน่งพนักงานรับบนเครื่องบินกิตติมศักดิ์ให้กับนางงามจักรวาลปีพ.ศ. 2509 ชาวไทย อาภัสรา หงสกุล
- HS-TGI “จิรประภา” (เครื่องบินลำนี้ได้เกิดอุบัติเหตุตกที่ฮ่องกงระหว่างนำเครื่องลงจอดท่ามกลางพายุฝนเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2510
- พ.ศ. 2510 การบินไทยได้บริการผู้โดยสารครบ 1 ล้านคน จึงทำให้การบินไทยเปิดเส้นทางใหม่ไปยังบาหลี และได้เช่าเครื่อง Caravelle SE-210 จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 2 ลำ
- HS-TGL “ศรีจุฬาลักษณ์” (แทน HS-TGI “จิรประภา”)
- HS-TGK “เทพามาศ”
- พ.ศ. 2511 การบินไทยเปิดเส้นทางใหม่ไปยังกาฐมาณฑุ, โซล, และนิว เดลลี จากความสำเร็จในการเที่ยวบินไปบาหลี
- พ.ศ. 2512 การบินไทยประสบความสำเร็จในการบริการด้วยเครื่องบินไอพ่นทั้งหมด
- พ.ศ. 2513 การบินไทยได้ต่อสัญญากับสายการบินสแกนดิเนเวีย อีกครั้ง ซึ่งได้ร่วมทุนก่อตั้งการบินไทยมา 10 ปีและจะต่อสัญญาไปอีก 7 ปี จึงเช่าเครื่อง DC-9-41 และ DC8-33 จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 2 ลำซึ่งสมรรถนะดีและประหยัดยิ่งขึ้นมาบริการ
- HS-TGM “สุดาวดี”
- HS-TGN “ศรีสุพรรณ”
เครื่อง DC8-33 จาก Internatonal Airlease จำนวน 4 ลำ
- HS-TGO “ศรีจุฬาลักษณ์”
- HS-TGP “ศรีสุนทร”
- HS-TGR “สุรนารี”
- HS-TGS “เทพสตรี”
(HS-TGF “สุรนารี”, HS-TGG “เทพสตรี”, HS-TGH “ศรีสุนทร”, และ HS-TGL “ศรีจุฬาลักษณ์” ได้คืนสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป) และการบินไทยยังทำการเริ่มรายการรอยัล ออร์คิด ฮอลิเดย์ ซึ่งเป็นรายการท่องเที่ยวพิเศษ ให้นักท่องเที่ยวเลือกสถานที่และวันเดินทาง ในราคาประหยัด
- พ.ศ. 2514 การบินไทยได้เริ่มทำการบินข้ามทวีปเส้นทางแรกในเส้นทางกรุงเทพฯ-สิงคโปร์-ซิดนีย์ ซึ่งได้เช่าเครื่อง DC8-33 จาก Internatonal Airlease จำนวน 1 ลำ
- HS-THT “สุดาวดี”
(HS-TGM “สุดาวดี” ได้คืนสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป)
- พ.ศ. 2515 การบินไทยได้เริ่มทำการบินข้ามทวีปเส้นทางที่ 2 ในเส้นทางกรุงเทพฯ-โคเปนเฮเกน และได้ติดตั้งเครื่องฝึกบินที่มีระบบควบคุมอัตโนมัติรุ่น DC8-33 ซึ่งเป็นศูนย์อบรมนักบินแห่งใหม่ของการบินไทยและแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนั้นยังเปิดบริการอาหาร เครื่องดื่ม และภัตตาคาร ในท่าอากาศยานดอนเมือง
- พ.ศ. 2516 การบินไทยได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังสู่ลอนดอน, แฟรงเฟิร์ต และได้พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นศูนย์กลางการบินระหว่างยุโรปและเอเชีย ซึ่งได้ตั้งร้านค้าปลอดภาษีภายในท่าอากาศยานด้วยซึ่งได้เช่าเครื่อง DC8-33 จาก Internatonal Airlease จำนวน 2 ลำ
- HS-TGU “ศรีสุพรรณ”
- HS-TGW “ศรีเมือง”
(HS-TGN “ศรีสุพรรณ” ได้คืนสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไปซึ่งได้เกิดอุบัติเหตุในขณะลงจอดที่กาฐมาณฑุภายหลัง)
- พ.ศ. 2517 การบินไทยได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังโรม ได้นำระบบการจองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ การบินไทยมีพนักงานกว่า 3 พันคน ทำให้เป็นบริษัทที่มีพนักงานมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จึงได้เช่าเครื่อง DC8-63 จากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์จำนวน 3 ลำ
- HS-TGX “ศรีสุริโยทัย”
- HS-TGY “ปทุมวดี”
- HS-TGZ “ศรีอโนชา” (การบินไทยได้ซื้อเครื่องลำนี้จากสายการบินสแกนดิเนเวียเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517)
- พ.ศ. 2518 การบินไทยได้เปลี่ยนลัญลักษณ์ใหม่จากตุ๊กตารำไทย ให้เป็นเป็นรูปแบบสากลยิ่งขึ้น อกกแบโดยบริษัท Walter Landor and Associates ซึ่งบริษัทออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งในลัญลักษณ์ใหม่ประกอบด้วยสีม่วง สีชมพู และ สีทอง ที่แสดงถึงความงามสง่าของธรรมชาติ และ อารยธรรมไทย และได้เป็นที่ชื่นชมกล่าวขานกันทั่วโลกในเวลาต่อมา และได้เช่าเครื่อง DC10-30 จาก UTA จำนวน 2 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินลำตัวกว้าง
- HS-TGA “พิมรา”
- HS-TGB “ศรีวรรณา”
- พ.ศ. 2519 การบินไทยต้องการให้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการบินของเอเชียซึ่งได้เป็นจริงเมื่อเดินทางจากยุโรปไปออสเตรเลียต้องต่อเครื่องที่กรุงเทพฯ และได้เช่าเครื่อง DC10-30 จากสายการบินเคเอเอ็มจำนวน 1 ลำ
- HS-TGC “ศรีวรรณา” (HS-TGB “ศรีวรรณา” ได้คืน UTA ไป)
- พ.ศ. 2520 การบินไทยได้ซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจากสายการบินสแกนดิเนเวียหลังจากได้ร่วมทุนและร่วมดำเนินการประสบความสำเร็จมานานถึง 17 ปีในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 และได้มอบหุ้นที่ซื้อคืนมาให้กับกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง จึงเป็นผู้ร่วมถือหุ้นกับบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ดังนั้นการบินไทยจึงเป็นของคนไทยเต็มตัว ซึ่งการบินไทยมีเครือข่ายเส้นทางบินคลอบคลุมถึง 3 ทวีป มีพนักงานที่มีประสบการณ์สูงและมีฝูงบินที่ทันสมัย และจึงได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง DC-10-30 จำนวน 2 ลำ
- HS-TMC “ชัยปราการ”
- HS-TMD “หริภุญชัย”
(HS-TGC “ศรีวรรณา” ได้คืนสายการบินเคแอลเอ็มไป) เครื่อง Airbus A300-600 จำนวน 2 ลำ
- HS-THH “ศรีเมือง”
- HS-THK “สุรนารี”
(HS-TGW “ศรีเมือง” และ HS-TGR “สุรนารี” ได้คืน Internatonal Airlease ไป)
- พ.ศ. 2521 การบินไทยได้รับเครื่อง Airbus A300B4-100 จำนวน 2 ลำ
- HS-THL “ศรีสุนทร”
- HS-THM “เทพสตรี”
(HS-TGP “ศรีสุนทร” ได้คืน Internatonal Airlease ไป)
- พ.ศ. 2522 การบินไทยได้ย้ายฝ่ายต่างๆมารวมกันที่สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต มีเนื้อที่ 26 ไร่ แต่สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้สร้างเสร็จทั้งโครงการในพ.ศ. 2532 และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-200 จำนวน 2 ลำ ซึ่งมีจำนวน 371 ที่นั่ง
- HS-TGA “วิสุทธกษัตริย์”
- HS-TGB “ศิริโสภาคย์”
(HS-TGA “พิมรา” ได้คืน UTA ไป) เครื่อง A300-600 จำนวน 4 ลำ
- HS-THN “สุดาวดี”
- HS-THO “ศรีจุฬาลักษณ์”
- HS-THP “ศรีสุพรรณ”
- HS-THR “เทพามาศ”
(HS-THT “สุดาวดี”, HS-TGU “ศรีสุพรรณ” ได้คืน Internatonal Airlease ไปและ HS-TGK “เทพามาศ” ได้คืนสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป) รับเครื่อง DC8-62AF เข้ามาบริการในการส่งสินค้า
- พ.ศ. 2523 การบินไทยเปิดเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปรซิฟิกไปลอสแอนเจลิสและตะวันออกกลาง จึงได้รับเครื่อง Boeing 747-200 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGC “ดารารัศมี”
- HS-TGF “พิมรา”
- พ.ศ. 2524 การบินไทยได้นำบริษัท ไทยแอม (THAI-AM - Thai Aircraft Maintenance Co.) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการซ่อมใหญ่เครื่องบินทั้งลำมาร่วมกับการบินไทยจากนโยบายของรัฐบาล และได้ทำการเปิดเส้นทางใหม่ไปยังซีแอตเติ้ล และจึงได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-200 จำนวน1 ลำ
- HS-TGG “ศรีวรรณา”
เครื่อง Airbus A300B4-200 จำนวน 2 ลำ
- HS-THT “จิรประภา”
- HS-THW “ศรีสัชนาลัย”
- พ.ศ. 2525 การบินไทยได้ประเมินแผนการดำเนินการใหม่เนื่องจากการลดค่าเงินบาททำให้มีผลกระทบกับการดำเนินการของบริษัทแม้ผลการดำเนินการก็ยังมีกำไรอยู่
- พ.ศ. 2526 การบินไทยได้ลงทุนในกิจการคลังน้ำมันเครื่องบิน (BAFS - Bangkok Aviation Fuel Services Limited) และกิจการโรงแรม (Royal Orchid Hotel and the Airport Hotel) และเปิดตัวชั้นธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักธุรกิจโดยมีที่นั่งที่ใหญ่กว่าชั้นประหยัด และมีห้องรับรองผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง
- พ.ศ. 2527 การบินไทยทำให้เชียงใหม่เป็นจุดหยุดพักของเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง และ ให้หาดใหญ่ เป็นจุดหยุดพักของเส้นทางกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ และ ได้รับเครื่อง Boeing 747-200 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGS “ชัยนารายณ์”
- พ.ศ. 2528 การบินไทยได้เปิดศูนย์ซ่อมใหญ่เครื่องบินลำตัวกว้างทั้ง Boeing 747-200 และ Airbus A300-600 ขึ้น ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อซ่อมเครื่องบินของการบินไทย และสายการบินอื่นๆ ซึ่งในช่วงแรกเปิดทำการเพียง 2 โรงซ่อมซึ่งสามารถรองรับ Boeing 747-200 ได้พร้อมกัน แต่ในเวลาต่อมาได้สร้างโรงซ่อมที่ 3 ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ ต่อมายังได้เปิดอาคารคลังสินค้าด้วยซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในคลังสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และ และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Airbus A300B4-200 จำนวน 2 ลำ
- HS-THX “ศรีสุริโยทัย”
- HS-THY “ปทุมวดี”
(HS-TGX “ศรีสุริโยทัย”, HS-TGY “ปทุมวดี” ได้คืนสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป) เครื่อง Airbus A300B4-600 จำนวน 3 ลำ
- HS-TAA “สุวรรณภูมิ”
- HS-TAB “ศรีอโนชา”
- HS-TAC “ศรีอยุธยา”
(HS-TGZ “ศรีอโนชา” ได้คืนสายการบินสแกนดิเนเวีย แอร์ไลน์ไป)
- พ.ศ. 2529 การบินไทยได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังสต็อกโฮมและตะวันออกกลาง และได้รับเครื่อง Airbus A300B4-600 จำนวน 3 ลำ
- HS-TAD “อู่ทอง”
- HS-TAE “สุโขทัย”
- HS-TAF “ราชสีมา”
- พ.ศ. 2530 การบินไทยได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังมาดริดและโอ๊คแลนด์ และท่าอากาศยานดอนเมืองได้เปิดอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (อาคาร 1) และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-300 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGD “สุชาดา”
- HS-TGE “จุฑามาศ”
เครื่อง DC10-30 จำนวน 2 ลำ
- HS-TMA “ขวัญเมือง”
- HS-TMB “เทพาลัย”
- พ.ศ. 2531 รัฐบาลได้มีมติให้รวมกิจการบริษัท การบินไทย เข้ากับบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของการบินไทย ซึ่งทำการบินในประเทศ เป็นบริษัทเดียวกันด้วยเงินทุน 2,230 ล้านบาท ซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 จึงทำให้เป็นสายการบินแห่งชาติกิจการการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับมอบเครื่องบินจากบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ถึง 11 ลำเป็นการเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่งให้การบินไทย แบ่งออกเป็นเครื่อง B737-200 จำนวน 3 ลำ, SHORTS 330-200 จำนวน 4 ลำ, SHORTS 360 จำนวน 2 ลำ, และ Airbus A310-200 จำนวน 2 ลำ ทำให้การบินไทยมีเครื่องทั้งหมดในฝูงบินถึง 41 ลำ มีเส้นทางทั้งหมด 48 เมืองใน 35 ประเทศ ซึ่งมีเมืองในประเทศไทย 23 เมือง และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง DC10-30ER จำนวน 1 ลำ
- HS-TMC “ศรีอุบล”
เครื่อง A300-600 จำนวน 1 ลำ
- HS-TAG “ศรีนภา”
- พ.ศ. 2532 การบินไทยได้เปิดอาคารโภชนาการซึ่งจะใช้ผลิตอาหารให้แก่ผู้โดยสารของการบินไทยและสายการบินอื่นๆที่ใช้บริการ สามารถผลิตอาหารที่สะอาดได้มาตรฐานได้ถึง 20,000 ชุดต่อวัน เป็นอาคารที่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย เปลี่ยนเครื่องแบบพนักงานใหม่ ห้ามให้ทุกเที่ยวบินในประเทศสูบบุหรี่ และได้รับเครื่อง BAE146-300 จำนวน 4 ลำซึ่งเป็นเครื่อง Turbo Fan แบบ 4 เครื่องยนต์ ใช้บินเส้นทางในประเทศ (เครื่องรุ่นนี้ถูกปลดในพ.ศ. 2541 เนื่องจากใช้ค่าใช้จ่ายสูงกับเครื่องบินรุ่นนี้)
- HS-TBK “เชียงคำ”
- HS-TBL “สุคิริน”
- HS-TBM “วัฒนานคร”
- HS-TBO “ละหานทราย”
- พ.ศ. 2533 การบินไทยได้รับเครื่องบินแบบใหม่ๆเข้ามาบริการซึ่งนับว่าปีนี้เป็นปีที่การบินไทยรับเครื่องบินเข้ามาบริการมากที่สุดโดยได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGH “ชัยปราการ”
- HS-TGJ “หริภุญชัย”
(HS-TMC “ชัยปราการ”, HS-TMD “หริภุญชัย” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 2 ลำ ใช้บินเส้นทางในประเทศ
- HS-TDA “สงขลา”
- HS-TDB “ภูเก็ต”
เครื่อง ATR-72 จำนวน 4 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องใบพัด Turboprop แบบ 2 เครื่องยนต์ ใช้บินเส้นทางในประเทศ
- HS-TRA “ลำปาง”
- HS-TRB “ชัยนาท”
- HS-TRK “สระบุรี”
- HS-TRL “อุตรดิตถ์”
เครื่อง Airbus A310-200 จำนวน 2 ลำ
- HS-TID “บุรีรัมย์”
- HS-TIF “ปัตตานี”
เครื่อง Airbus A300-600 จำนวน 3 ลำ
- HS-TAK “พญาไท”
- HS-TAL “ศรีตรัง”
- HS-TAM “เชียงใหม่”
- พ.ศ. 2534 บริษัท การบินไทย ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียน 14,000 ล้านบาท มีจำนวนหุ้น 1,000 หุ้น ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 จึงเป็น บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) และยังได้ร่วมเป็นสมาชิกระบบสำรองที่นั่งอะมาดิอุส (AMADEUS) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คลอบคลุมทั่วโลกเชื่อมโยงกับ 98 สายการบิน รวมทั้งตัวแทนการท่องเที่ยวทั่วโลกอีกกว่า 47,500 ราย และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง MD-11 จำนวน 2 ลำ
- HS-TMD “พระนคร”
- HS-TME “ปทุมวัน”
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGK “อลงกรณ์”
- HS-TGL “เทพราช”
เครื่อง BAE146-300 จำนวน 1 ลำ
- HS-TBJ “ชลบุรี”
เครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TDC “นราธิวาส” (เกิดเหตุไฟไหม้ภายหลัง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2544)
(ได้ปลดละวางเครื่อง SHORTS ทั้งหมด)
- พ.ศ. 2535 การบินไทยได้ร่วมงานเปิดท่าอากาศยานเชียงรายโดยการใช้เครื่อง Boeing 747-400 บินในเที่ยวบินปฐมฤกษ์ และ ได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGM “เจ้าพระยา”
- HS-TGN “ศรีมงคล”
เครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 3 ลำ
- HS-TDD “ชุมพร”
- HS-TDE “สุรินทร์”
- HS-TDF “ศรีสะเกษ”
เครื่อง MD-11 จำนวน 2 ลำ
- HS-TMF “พิจิตร”
- HS-TMG “นครสวรรค์”
เครื่อง Airbus A300-600 จำนวน 3 ลำ
- HS-TAN “เชียงราย”
- HS-TAO “จันทบุรี”
- HS-TAP “ปทุมธานี”
เครื่อง Canadair Challenger-601-3A-ER สำหรับฝึกนักบินและเช่าเหมาลำ
- HS-TVA “ศรีกาญจน์”
- พ.ศ. 2536 การบินไทยได้บริการผู้โดยสารครบ 10 ล้านคน และการบินไทยได้เปิดบริการสะสมไมล์รอยัล ออร์คิด พลัส ซึ่งมีสมาชิกถึง 200,000 คน และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Airbus A300-600 จำนวน 2 ลำ
- HS-TAR “ยโสธร”
- HS-TAS “ยะลา”
เครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TDG “กาฬสินธ์”
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGO “บวรรังษี”
เครื่อง MD-11 จำนวน 3 ลำที่สั่งไว้ได้ถูกยกเลิกด้วยเหตุผลบางประการ
- พ.ศ. 2537 การบินไทยได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน (Thai Airways International Public Company Limited) และได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังเซี่ยงไฮ้, ลาฮอร์, และจังหวัดนครพนม เปิดระบบให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ในหมายเลข 1566 และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Airbus A330-300 จำนวน 2 ลำซึ่งความจริงต้องรับมอบตามกำหนด 1 ลำแต่ลำที่จะส่งมอบได้เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ทางแอร์บัสจึงส่งเครื่องบินอีกลำให้การบินไทยในเวลาต่อมา
- HS-TEB “ศรีสาคร”
- HS-TEC “บางระจัน”
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGP “เทพประสิทธิ์”
- พ.ศ. 2538 การบินไทยได้กำหนดคำโฆษณาขึ้นมาใหม่ว่า “การบินไทยต้องเป็นสายการบินแรกที่ผู้โดยสารเลือกในการเดินทาง” หรือ “The First Choice Carrier. Smooth As Silk. First time. Every Time. และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Airbus A330-300 จำนวน 6 ลำ
- HS-TEA “มโนรมย์”
- HS-TEE “กุสุมาลย์”
- HS-TED “ดอนเจดีย์”
- HS-TEF “ส่องดาว”
- HS-TEG “ลำปลายมาศ”
- HS-TEH “สายบุรี”
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGR “ศิริวัฒนา”
- พ.ศ. 2539 การบินไทยได้เปิดเว็บไซต์ http://www.thaiairways.com เป็นครั้งแรก ควีนเอลิซาเบทที่ 2 ได้เสด็จเยี่ยมฝ่ายช่างการบินไทย และ ได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 777-200 จำนวน 4 ลำซึ่งเป็นเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ และสามารถบินเส้นทางระยะไกลได้
- HS-TJA “ลำพูน”
- HS-TJB “อุทัยธานี”
- HS-TJC “นครนายก”
- HS-TED “มุกดาหาร”
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGT “วัฒโนทัย”
เครื่อง Boeing 747-200F สำหรับส่งสินค้า
- พ.ศ. 2540 การบินไทยและสายการบินแอร์ แคนาดา, ลุฟฮันซ่า, สแกนดิเนเวีย, และ ยูไนเต็ด ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรสตา อัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นเครือข่ายสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งการรวมกลุ่มในครั้งนี้เป็นการเพิ่มความแข็งเกร่ง และศักยภาพในการดำเนินธุรกิจการบิน ทำให้การบินไทยสามารถให้บริการผู้โดยสาร และเสนอจุดบินได้มากขึ้น การบินไทยยังได้เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ได้เปิดศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินแห่งที่ 2 ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 125 กิโลเมตร เนื่องจากการขยายฝูงบินและจำนวนเครื่องบินที่ถึงกำหนดเวลาที่จะต้องเข้าซ่อมบำรุง ทำให้การบินไทยต้องขยายโรงซ่อมเพิ่มขึ้นและที่ดอนเมืองก็ไม่มีเพียงพอแก่การขยายพื้นที่ จึงได้ทำการสร้างขึ้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพราะเห็นว่าเป็นที่เหาะสม ถึงแม้จะได้มีการพิจารณาหลายที่แต่ศูนย์ซ่อมที่อู่ตะเภาสามารถนำเครื่องลำตำกว้างเข้าซ่อมพร้อมกันได้ถึง 2 ลำ เครื่องบินขนาดเล็กได้อีก 1 ลำ และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 6 ลำ
- HS-TGW “วิสุทธกษัตริย์”
- HS-TGX “ศิริโสภาคย์”
(HS-TGA “วิสุทธกษัตริย์” และ HS-TGB “ศิริโสภาคย์” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Boeing 777-200 จำนวน 3 ลำ
- HS-TJE “ชัยภูมิ”
- HS-TJF “พนมสารคาม”
- HS-TJG “ปัตตานี”
เครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TDH “ลพบุรี”
- HS-TDJ “นครชัยศรี”
- พ.ศ. 2541 การบินไทยได้สนับสนุนขบวน Rose Parade ที่ Pasadena, California เนื่องจากประเทศไทยได้โปรโมตประเทศไทยให้เป็นปี Amazing Thailand และขบวนรถดอกไม้ของการบินไทยก็ได้รับรางวลัด้วย และเ ป็นอีกปีที่การบินไทยรับเครื่องบินเข้ามาบริการเป็นจำนวนมากโดยได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 777-300 จำนวน 2 ลำ
- HS-TKA “ศรีวรรณา”
- HS-TKB “ชัยนารายณ์”
(HS-TGG “ศรีวรรณา” และ HS-TGS “ชัยนารายณ์” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Boeing 777-200 จำนวน 1 ลำ
- HS-TJH “สุพรรณบุรี”
เครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TDK “ศรีสุราษฐ”
- HS-TDL “ศรีกาญจน์”
(HS-TVA “ศรีกาญจน์” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Airbus A330-300 จำนวน 3 ลำ
- HS-TEJ “สุดาวดี”
- HS-TEL “เทพามาศ”
- HS-TEK “ศรีจุฬาลักษณ์” (HS-THN “สุดาวดี”, HS-THR “เทพามาศ”, และ HS-THO “ศรีจุฬาลักษณ์” ได้ปลดละวางไป)
เครื่อง Airbus A300-600 จำนวน 5 ลำ
- HS-TAZ “ศรีสุพรรณ”
- HS-TAT “ศรีเมือง”
- HS-TAW “สุรนารี”
- HS-TAX “เทพสตรี”
- HS-TAY “ศรีสุนทร”
(HS-THP “ศรีสุพรรณ”, HS-THH “ศรีเมือง”, HS-THK “สุรนารี”, HS-THM “เทพสตรี”, และ HS-THL “ศรีสุนทร” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGY “ดารารัศมี”
(HS-TGC “ดารารัศมี” ได้ปลดละวางไป)
- พ.ศ. 2542 การบินไทยได้ทำการเฉลิมฉลองปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 72 ชันษาโดยการพ่นสีบนเครื่องบิน Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ เครื่องบิน Airbus A330-300 จำนวน 1 ลำเป็นรูปเรือนารายทรงสุบรรณ และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 1 ลำ
- HS-TGZ “พิมรา
(HS-TGF “พิมรา” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Boeing 777-300 จำนวน 2 ลำ
- HS-TKC “ขวัญเมือง”
- HS-TKD “เทพาลัย”
(HS-TMA “ขวัญเมือง” และ HS-TMB “เทพาลัย” ได้ปลดละวางไป)
- พ.ศ. 2543 การบินไทยมีอายุครบ 40 ปี และการบินไทยดำเนินการมาด้วยกำไรตลอด 35 ปี (ตั้งแต่ปี 2508) และยังไม่มีปีไหนเลยที่ขาดทุน และได้รับเครื่องบินรุ่นต่างๆเข้ามาบริการดังนี้
เครื่อง Boeing 777-300 จำนวน 2 ลำ
- HS-TKE “สุคิริน”
- HS-TKF “ละหานทราย”
(HS-TBL “สุคิริน” และ HS-TBO “ละหานทราย” ได้ปลดละวางไป) เครื่อง Airbus A330-300 จำนวน 1 ลำ
- HS-TEM "จิรประภา"
(HS-THT “จิรประภา” ได้ปลดละวางไป)
- พ.ศ. 2544 การบินไทยได้รับเครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGA “ศรีสุริโยทัย”
- HS-TGB “ศรีสัชนาลัย”
(HS-THX “ศรีสุริโยทัย” และ HS-THW “ศรีสัชนาลัย” ได้ปลดละวางไป)
- พ.ศ. 2545 การบินไทยไม่ได้รับเครื่องบินรุ่นใดๆเข้าบริการในปีนี้
- พ.ศ. 2546 การบินไทยได้สนับสนุนในการขนส่งแพนด้าจากประเทศจีน โดยส่งเครื่อง Airbus A300-300 ไปรับแพนด้าจากประเทศจีนบินตรงไปยังเชียงใหม่ และรับเครื่อง Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ
- HS-TGA “ศรีอุบล”
- HS-TGB “ปทุมวดี” (HS-TMC “ศรีอุบล” และ HS-THY “ปทุมวดี” ได้ปลดละวางไป)
- พ.ศ. 2547 การบินไทยได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังบังกาลอร์ มิลาน จิงหง และในปีนี้การบินไทยได้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำเพื่อทำการแข่งกับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆที่กำลังเกิดและนิยมในประเทศไทย ซึ่งได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยมีคุณพาที สารสิน เป็น CEO คนแรก การบินไทยได้ให้นกแอร์เช่าเครื่องบินจากการบินไทยไปบริการโดยเริ่มแรกให้เช่าเครื่อง Boeing 737-400 จำนวน 3 ลำ และต่อมาได้ให้เช่าเครื่อง ATR-72 จำนวน 1 ลำ และ Boeing 737-400 จำนวน 1 ลำ การบินไทยให้นกแอร์เช่าเครื่องบินโดยคิดเป็นชั่วโมงที่ทำการบิน การบินไทยจะดูแลซ่อมบำรุงทั้งหมดให้แก่นกแอร์ ซึ่งเป็นผลดีแก่นกแอร์ในการที่ทราบแน่ชัดว่าใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ในปัจจุบันนกแอร์ได้เช่าเครื่อง Boeing 737-400 มาจากสายการบินมาเลเชียแอร์ไลน์ จำนวน 2 ลำ
- พ.ศ. 2548 การบินไทยได้มีการปรับปรุงลัญลักษณ์, เครื่องแบบพนักงาน, และลายของเครื่องบินใหม่เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้นเนื่องจากใช้ลายสปีดไลน์ (ลายเก่า) ได้ใช้มานานแล้วปีนี้จึงเป็นปีแรกที่การบินไทยเริ่มเปลี่ยนลายและจะทยอยเปลี่ยนไปจนครบทุกลำ ลัญลักษณ์ใหม่ของการบินไทยเป็นการนำแนวคิดและลวดลายอันอ่อนช้อยงดงามทางด้านศิลปะไทยมาผสมผลานสร้างเป็นรูปแบบลัญลักษณ์ขึ้นเพื่อให้สื่อความหมายภาพลักษณ์ของความเป็นไทยได้อย่างเด่นชัด ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าลัญลักษณ์ของการบินไทยมีส่วนร่วมคล้ายคลึงกับกรีบดอกกล้วยไม้หรือกลีบดอกรัก อันถือว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติที่งดงามได้โดยบังเอิญ และยังคล้ายคลึงกับใบเสมา ซึ่งเป็นศาสนวัตถุของสำคัญและพบเห็นอยู่เป็นประจำอีกด้วย
สีและความหมาย
สีเหลืองทอง: สื่อความหมายของศิลปะไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอันได้แก่ความระยิบระยับของสีทองตามวัดวาอาราม สีชมพูและสีม่วง: สื่อความหมายของภาพลักษณ์ที่คุ้นตาของคนไทนและคนต่างประเทศ ที่มักพบเห็น 2 สีดังกล่าวจากลายผ้าไหมไทย และ สีดอกกล้วยไม้ ดังนั้นลัญลักษณ์การบินไทย ซึ่งประกอบขึ้นด้วยลวดลาย และ สีสันแบบไทย จึงสามารถแสดงเอกภาพบ่งบอกลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างโดดเด่นทีเดียว
การบินไทยยังได้รับเครื่องรุ่น Airbus A340-500 และ Airbus A340-600 ซึ่งภายในได้รับชั้นหนึ่ง, ชั้นธุรกิจ, และชั้นประหยัด เป็นแบบใหม่ ซึ่งเครื่องรุ่น Airbus A340-500 การบินไทยจะใช้บินจากกรุงเทพฯไปนิวยอร์ก และ จากกรุงเทพไปลอสแอนเจลิส ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยไม่แวะเติมน้ำมันเชื้อเพลิง และยังมีชั้นโดยสารใหม่ล่าสุดคือชั้นประหยัดพิเศษอีกด้วย เครื่องรุ่น A340-600 การบินไทยจะใช้บินในเส้นทางยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ในบางเส้นทาง เครื่อง Airbus A340-500 จำนวน 4 ลำ
- HS-TLA “เชียงคำ”
- HS-TLB “อุตรดิตถ์”
- HS-TLC “พิษณุโลก”
- HS-TLD “กำแพงเพชร” (HS-TBK “เชียงคำ” และ HS-TRL “อุตรดิตถ์” ได้ปลดละวางไป)
เครื่อง Airbus A340-600 จำนวน 6 ลำ
- HS-TNA “วัฒนานคร”
- HS-TNB “สระบุรี”
- HS-TNC “ชลบุรี”
- HS-TND “เพชรบุรี”
- HS-TNE “นนทบุรี”
- HS-TNF ไม่ทราบชื่อ รับมอบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 (HS-TBM “วัฒนานคร”, HS-TRK “สระบุรี”, และ HS-TBJ “ชลบุรี” ได้ปลดละวางไป)
นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงเครื่อง Boeing 747-400 โดยในชั้นหนึ่ง, ชั้นธุรกิจจะเป็นแบบใหม่ จำนวน 12 ลำ ดังนี้
- HS-TGH "ชัยปราการ"
- HS-TGJ "หริภุญชัย"
- HS-TGK "อลงกรณ์"
- HS-TGL "เทพราช"
- HS-TGM "เจ้าพระยา"
- HS-TGN "ศรีมงคล"
- HS-TGO "บวรรังษี"
- HS-TGP "เทพประสิทธิ์"
- HS-TGR "ศิริวัฒนา"
- HS-TGT "วัฒโนทัย”
- HS-TGW "วิสุทธกษัตริย์"
- HS-TGX "ศิริโสภาคย์"
และเครื่อง Boeing 777-200 โดยในชั้นธุรกิจและชั้นประหยัดจะเป็นแบบใหม่ (ชั้นประหยัดได้เปลี่ยนตัวที่นั่งใหม่แต่ไม่มีจอส่วนตัว) จำนวน 8 ลำ ดังนี้
- HS-TJA "ลำพูน"
- HS-TJB "อุทัยธานี"
- HS-TJC "นครนายก"
- HS-TJD "มุกดาหาร"
- HS-TJE "ชัยภูมิ"
- HS-TJF "พนมสารคาม"
- HS-TJG "ปัตตานี"
- HS-TJH "สุพรรณบุรี"
- พ.ศ. 2549 การบินไทยได้จัดงานดอนเมืองรำลึกสู่จุดหมายเดียวแห่งฝัน ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งเปิดใช้มากว่า 92 ปีจะปิดทำการ และได้ทำการย้ายไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต้องย้ายอุปกรณ์กว่า 1.8 ล้านชิ้นไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และได้ย้ายหน่วยงานต่างๆเช่นฝ่ายช่างบางส่วน (ฝ่ายช่างด้านซ่อมใหญ่ยังคงอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและอู่ตะเภา), ฝ่ายครัวการบินไทย, ฝ่ายบริการภาคพื้นดิน, ฝ่ายคลังสินค้า, และฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งการบินไทยได้สร้างอาคาร สถานที่สำหรับรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการย้ายไปได้อย่างเรียบร้อย การบินไทยยังได้เปิดเส้นทางไปยังโจฮานเนสเบิร์กและรับมอบเครื่อง Boeing 777-200ER โดยในชั้นธุรกิจจะเป็นแบบใหม่ ซึ่งจะมีจอส่วนตัวใหญ่ขึ้น และเมื่อเอนแล้ว ส่วนล่างของตัวที่นั่งจะเอน 180 องศา แต่ส่วนบนเอน 170 องศา จึงทำให้เมื่อนอนแล้วตัวจะไม่ไหลลง จำนวน 4 ลำ ดังนี้
- HS-TJR “นครสวรรค์”
- HS-TJS “พระนคร”
- HS-TJT “ปทุมวัน”
- HS-TJU “พิจิตร”
- พ.ศ. 2550 ในปีนี้การบินไทยได้รับรางวัลมากมายจาก Skytrax ไม่ว่าจะเป็นรางวัลห้องพักรับรองผู้โดยสารชั้นหนึ่งดีเด่น อันดับที่ 1, สายการบินดีเด่นแห่งปี อันดับที่ 2, และรางวัลลูกเรือดีเด่น อันดับที่ 3 และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย
การบินไทยได้รับมอบเครื่อง Boeing 777-200ER จำนวน 2 ลำ ดังนี้
- HS-TJV “นครปฐม”
- HS-TJW “เพชรบูรณ์”
และปลดละวางเครื่อง Airbus A300-600 และ Boeing 747-300 ซึ่งมีอายุใช้งานกว่า 20 ปี จำนวน 4 ลำ ดังนี้
- HS-TAB “ศรีอโนชา”
- HS-TAC “ศรีอยุธยา”
- HS-TGD “สุชาดา”
- HS-TGE “จุฑามาศ”
และยังได้ปรับปรุงเครื่อง Boeing 777-300 ซึ่งได้เปลี่ยนที่นั่งชั้นธุรกิจ (แบบเดียวกับบนเครื่อง Boeing 777-200ER) และชั้นประหยัดเป็นแบบใหม่ จำนวน 1 ลำ ดังนี้
- HS-TKA “ศรีวรรณา”
ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทางการบินไทยยังได้ออกแคมเปญโฆษณาชุด "คุณคะ คุณครับ เรารักคุณเท่าฟ้า" อีกด้วย
[แก้] อุบัติเหตุ
- 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - เครื่องการบินไทยแอร์บัส A310|แอร์บัส A310-304 ชนเทือกเขา 35 กม. ทางเหนือของกาฎมันฑุ ผู้โดยสาร 113 คนเสียชีวิต (ผู้โดยสาร 99 คน และ พนักงาน 14 คน) สาเหตุเกิดจากปัญหาทางเทคนิค[3]
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – เครื่องบิน A310|A310-200 การบินไทย เที่ยวบินที่ 261|เที่ยวบินที่ 261 จากกรุงเทพไปสุราษฎร์ธานี สาเหตุเนื่องจากฝนตกหนักมาก ผู้โดยสาร 102 คน จาก 143 คน เสียชีวิต[4]
- 3 มีนาคม พ.ศ. 2544 – สายการบินโบอิง 737|โบอิ้ง 737-4D7 จากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เกิดระเบิดขึ้นในขณะที่จอดที่สนามบิน ไม่มีผู้โดยสารเสียชีวิต สาเหตุเกิดจากน้ำมันกับอากาศเข้าผสมกัน และเกิดการสันดาปขึ้นในส่วนของถังน้ำมันเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด[5]
[แก้] เครื่องบินของการบินไทย
รุ่นเครื่องบิน | ชั้นหนึ่ง | ชั้นธุรกิจ | ชั้นประหยัดพิเศษ | ชั้นประหยัด | รวมจำนวนที่นั่ง | จำนวนเครื่องบิน |
---|---|---|---|---|---|---|
B747-400 (748) |
|
|
|
|
|
|
B747-400 (744) |
|
|
|
|
|
|
B747-300 (743) |
|
|
|
|
|
|
B777-300 (773) |
|
|
|
|
|
|
B777-200 (772) |
|
|
|
|
|
|
B777-200ER (777) |
|
|
|
|
|
|
B737-400 (734) |
|
|
|
|
|
|
A340-600 (346) |
|
|
|
|
|
|
A340-500 (345) |
|
|
|
|
|
|
A330-300 (333) |
|
|
|
|
|
|
A300-600 (AB6) |
|
|
|
|
|
|
A300-600 (AB7) |
|
|
|
|
|
|
A300-600 (AB7) |
|
|
|
|
|
|
ATR-72 (ATR) |
|
|
|
|
|
|
[แก้] นามพระราชทานเครื่องบินของการบินไทยจากองค์สมเด็จพระสังฆราช
- สำหรับรายละเอียดเพื่มเติมดูที่ เครื่องบินของการบินไทย
- Airbus A300-600 (AB6) 21 ลำ ประจำการ 18 ลำ ปลดประจำการ 3 ลำ
- HS-TAA - สุวรรณภูมิ Suwannaphum
- HS-TAB - ศรีอโนชา Srianocha (ปลดประจำการแล้ว)
- HS-TAC - ศรีอยุธยา Sri Ayutthaya (ปลดประจำการแล้ว)
- HS-TAD - อู่ทอง U-Thong (ปลดประจำการแล้ว)
- HS-TAE - สุโขทัย Sukhothai
- HS-TAF - ราชสีมา Ratchasima
- HS-TAG - ศรีนภา Srinapha
- HS-TAH - นภจินดา Napachinda
- HS-TAK - พญาไท Phaya Thai
- HS-TAL - ศรีตรัง Sritrang
- HS-TAM - เชียงใหม่ Chiang Mai
- HS-TAN - เชียงราย Chiang Rai
- HS-TAO - จันทบุรี Chanthaburi
- HS-TAP - ปทุมธานี Pathum Thani
- HS-TAR - ยโสธร Yasothorn
- HS-TAS - ยะลา Yala
- HS-TAT - ศรีเมือง Si Muang
- HS-TAW - สุรนารี Suranaree
- HS-TAX - เทพสตรี Thepsatri
- HS-TAY - ศรีสุนทร Srisoonthorn
- HS-TAZ - ศรีสุพรรณ Srisubhan
- Airbus A330-300 (333) 20 ลำ ประจำการ 12 ลำ อยู่ระหว่างการผลิตและส่งมอบ 8 ลำ
- HS-TEA - มโนรมย์ Manorom
- HS-TEB - ศรีสาคร Si Sakhon
- HS-TEC - บางระจัน Bang Rachan
- HS-TED - ดอนเจดีย์ Don Chedi
- HS-TEE - กุศุมาลย์ Kusuman
- HS-TEF - ส่องดาว Song Dao
- HS-TEG - ลำปลายมาศ Lam Plai Mat
- HS-TEH - สายบุรี Sai Buri
- HS-TEJ - สุดาวดี Sudawadi
- HS-TEK - ศรีจุฬาลักษณ์ Srichulalak (ลายเรือพระที่นั่ง'นารายณ์ทรงสุบรรณ' Royal Barge 'Narai Song Suban' Scheme)
- HS-TEL - เทพามาตย์ Thepamart (Star Alliance Scheme)
- HS-TEM - จิรประภา Jiraprabha
- HS-TE. - เข้าประจำการ ( กรกฎาคม พ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-TE. - เข้าประจำการ (ภายในปีพ.ศ. 2551) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- Airbus A340-500 (345) 4 ลำ
- HS-TLA - เชียงคำ Chiangkham
- HS-TLB - อุตรดิตถ์ Uttaradit
- HS-TLC - พิษณุโลก Phitsanulok
- HS-TLD - กำแพงเพชร Kamphaengphet
- Airbus A340-600 (346) 6 ลำ ประจำการ 5 ลำ อยู่ระหว่างการผลิตและส่งมอบ 1 ลำ
- HS-TNA - วัฒนานคร Wattana Nakon
- HS-TNB - สระบุรี Saraburi
- HS-TNC - ชลบุรี Chonburi
- HS-TND - เพชรบุรี Phetchaburi
- HS-TNE - นนทบุรี Nonthaburi
- HS-TNF - รับมอบในปี พ.ศ. 2551 ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- Airbus A380-800 (388) 6 ลำ อยู่ระหว่างการผลิตและส่งมอบทั้งหมด
- HS-T.. - เข้าประจำการ (กันยายน พ.ศ. 2553) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-T.. - เข้าประจำการ (ตุลาคม พ.ศ. 2553) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-T.. - เข้าประจำการ (ธันวาคม พ.ศ. 2553) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-T.. - เข้าประจำการ (พฤษภาคม พ.ศ. 2554) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-T.. - เข้าประจำการ (กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- HS-T.. - เข้าประจำการ (สิงหาคม พ.ศ. 2554) ยังไม่ทราบนามพระราชทาน
- Boeing 737-400 (734) 6 ลำ ไม่นับรวมลำที่นกแอร์เช่า 4 ลำ (HS-TDA,HS-TDB, HS-TDD, HS-TDE)
- HS-TDF - ศีรษะเกษ Si Sa Ket
- HS-TDG - กาฬสินธุ์ Kalasin
- HS-TDH - ลพบุรี Lopburi
- HS-TDJ - นครชัยศรี Nakon Chaisi
- HS-TDK - ศรีสุราษฏร์ Srisurat
- HS-TDL - ศรีกาญจน์ Srikarn
- Boeing 747-300 (743) 2 ลำ ปลดประจำการ 2 ลำ
- HS-TGD - สุชาดา Suchada (ปลดประจำการแล้ว)
- HS-TGE - จุฑามาศ Chutamat (ปลดประจำการแล้ว)
- Boeing 747-400 (744,747) 18 ลำ
- HS-TGA - ศรีสุริโยทัย Srisuriyothai
- HS-TGB - ศรีสัชนาลัย Si Satchanalai
- HS-TGF - ศรีอุบล Sri Ubon
- HS-TGG - ปทุมมาวดี Pathoomawadi
- HS-TGH - ชัยปราการ Chaiprakarn
- HS-TGJ - หริภุญชัย Hariphunchai
- HS-TGK - อลงกรณ์ Alongkorn
- HS-TGL - เทพราช Theparat
- HS-TGM - เจ้าพระยา Chao Phraya
- HS-TGN - ศรีมงคล Simongkhon
- HS-TGO - บวรรังษี Bowonrangsi
- HS-TGP - เทพประสิทธิ์ Thepprasit
- HS-TGR - สิริวัฒนา Siriwatthana
- HS-TGT - วัฒโนทัย Watthamothai
- HS-TGW - วิสุทธิกษัตริย์ Visuthakasatriya (Star Alliance Scheme)
- HS-TGX - ศิริโสภาคย์ Sirisobhakya
- HS-TGY - ดารารัศมี Dararasmi
- HS-TGZ - พิมรา Phimara
- Boeing 777-200 (772) 8 ลำ
- HS-TJA - ลำพูน Lamphun
- HS-TJB - อุทัยธานี Uthai Thani
- HS-TJC - นครนายก Nakon Nayok
- HS-TJD - มุกดาหาร Mukdahan
- HS-TJE - ชัยภูมิ Chaiyabhumi
- HS-TJF - พนมสารคาม Phanom Sarakham
- HS-TJG - ปัตตานี Pattani
- HS-TJH - สุพรรณบุรี Suphan Buri
- Boeing 777-200ER (777) 6 ลำ
- HS-TJR - นครสวรรค์ Nakhon Sawan
- HS-TJS - พระนคร Phra Nakhorn
- HS-TJT - ปทุมวัน Pathumwan
- HS-TJU - พิจิตร Phichit
- HS-TJV - นครปฐม Nakhon Prathom
- HS-TJW - เพชรบูรณ์ Phetchabun
- Boeing 777-300 (773) 6 ลำ
- HS-TKA - ศรีวรรณา Sriwanna (77R) (ได้รับการปรับปรุงที่นั่งแล้ว)
- HS-TKB - ชัยนารายณ์ Chainarai (ได้รับการปรับปรุงที่นั่งแล้ว)
- HS-TKC - ขวัญเมือง Kwanmuang
- HS-TKD - เทพาลัย Thepalai
- HS-TKE - สุคิริน Sukhirin
- HS-TKF - ละหานทราย Lahan Sai
- ATR-72 (AT7) 1 ลำ ไม่นับรวมลำที่นกแอร์เช่า 1 ลำ (HS-TRA)
- HS-TRB - ชัยนาท Chainat
[แก้] อ้างอิง
- ^ http://www.komchadluek.net/2007/08/11/d001_130744.php?news_id=130744
- ^ [1]
- ^ รายละเอียดเครื่องบินตก 2535
- ^ รายละเอียดเครื่องบินตก 2541
- ^ รายละเอียดเครื่องบินระเบิด 2544
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ของการบินไทย (อังกฤษ)
- เว็บไซต์ของการบินไทย (ไทย)
- ประวัติของการบินไทย
- รายละเอียดเครื่องบินรุ่นต่างๆของการบินไทย
- รูปและข้อมูลเกี่ยวกับการบินไทย
|
|
---|---|
แอร์แคนาดา • แอร์นิวซีแลนด์ • ออลนิปปอนแอร์เวย์ • เอเชียน่าแอร์ไลน์ • ออสเตรียแอร์ไลน์ • บริติชมิดแลนด์ • ล็อตโปแลนด์ • ลุฟต์ฮันซา • สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม • สิงคโปร์แอร์ไลน์ • เซาต์แอฟริกันแอร์เวย์ • สแปนแอร์ • สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ • แท็ปโปรตุเกส • การบินไทย • ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ • ยูเอสแอร์เวย์;• แอร์ไชนา • เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ • ตุรกีแอร์ไลน์ สายการบินท้องถิ่น: เอเดรียแอร์เวย์ • บลูวัน • โครเอเชียแอร์ไลน์ |
|
|||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกษตรและ อุตสาหกรรมอาหาร |
|
||||||||||||
สินค้าอุปโภคบริโภค |
|
||||||||||||
ธุรกิจการเงิน |
|
||||||||||||
วัตถุดิบและ สินค้าอุตสาหกรรม |
|
||||||||||||
อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง |
|
||||||||||||
ทรัพยากร |
|
||||||||||||
บริการ |
|
||||||||||||
เทคโนโลยี |
|
||||||||||||
หลักทรัพย์สำรอง | ริช เอเชีย สตีล (RICH) • เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) • หลักทรัพย์ บีฟิท (BSEC) • สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล (SIAM) |