See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ - วิกิพีเดีย

โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์
โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์

โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ (Johann Heinrich Schultz) (พ.ศ. 2227 - พ.ศ. 2287) เป็นผู้ค้นพบเคมีภัณฑ์ทางการถ่ายภาพ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ (Altrof) อยู่ใกล้ ๆ กับเมืองนูเรมเบอร์ก เยอรมนี ชูลซ์เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ ซึ่งการทดลองของเขาได้เป็นสิ่งที่ปูทางให้แก่การถ่ายภาพในวันข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีที่มีอยู่นั้นจะมีสีดำขึ้นเมื่อถูกแสงอาทิตย์ แต่มันก็ยังไม่สารเคมีด้านที่ไม่โดนแสงจะหลงเหลือส่วนที่เป็นสีขาวเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเอาแต่มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง เขาได้บรรยายในหนังสือเอาไว้ว่า

ฉันคลุมแก้วด้วยวัสดุสีดำและเหลือช่องเล็กๆ ไว้ให้แสงลอดผ่านแล้วเขียนชื่อและชื่อสารเคมีทั้งหมดลงบนกระดาษ และใช้มีดคมตัดส่วนที่เป็นหมึกออกไปอย่างระมัดระวังฉันนำกระดาษที่ฉลุลายไปติดตั้งลงบนแก้วด้วยขี้ผึ้ง ไม่นานก่อนที่แสงอาทิตย์จะสาดส่องลงมาที่แก้วแล้วลอดผ่านส่วนที่โดนตัดออกไปของกระดาษแล้วเขียนแต่ละคำหรือประโยคที่ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วบนผงชอล์กดังนั้นเป็นการแน่นอนและเห็นชัดเจนว่าใครหลายๆคนต้องอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับการทดลองแต่บางคนที่มีความรู้น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะคิดว่านี่เป็นเพียงแค่มายากลบางอย่างเท่านั้น

ชูลท์คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะทาสารละลายไปบนหนัง กระดูก ไม้ เพื่อทำให้เกิดภาพขึ้น ในที่สุดภาพที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็จางหายไป การทดลองของเขาไม่ประสบผลสำเร็จเวลานั้นยังไม่มีทางที่จะทำให้ภาพสเตนซิลเหล่านี้เกิดขึ้นถาวรได้ การทำให้เกิดเกลือโลหะเงินสีดำ (Black Metallic Silver) ของชูลท์นั้นพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ในปัจจุบัน จากการสังเกตของชูลท์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เขาส่งสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นไปยัง Nurnberg Imperial Academy แต่ก็ยังไม่มีการนำหลักการนี้มาใช้หรือพิจารณากันในเวลานั้น แต่ก็เป็นผลดีต่อการคิดค้นทางการถ่ายภาพ

ในปี พ.ศ. 2270 Schulze ค้นพบว่า โลหะเงิน (silver) จะมีความไวต่อแสง เมื่อถูกละลายในกรดไนตริก ในช่วงแรกของ พ.ศ. 2343 สามารถค้นพบว่าความไวแสงของสารซิลเวอร์ไนเตรทสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการนำไปผสมกับธาตุฮาโลเจน (คลอรีน โบรไมน์ ไอโอดีน และอื่นๆ) ส่วนผสมนี้รู้จักกันในชื่อ ซิลเวอร์เฮไลด์(ซิลเวอร์คลอไรด์, ซิลเวอร์โบรไมน์, ซิลเวอร์ ไอโอดีน และอื่นๆ)กระบวนการก็ยังคงล้มเหลวในแต่ละส่วนประกอบ สารซิลเวอร์เฮไลด์ยังจะโดนแสงอยู่ การทำให้รวมตัวกันสามารถถูกขยายได้โดยใช้สารเคมีที่เหมาะสมและสารเฮไลด์ที่ไม่โดนแสงสามารถถูกย้ายออกไปได้ นี่คือพื้นฐานของการพัฒนาฟิล์มถ่ายภาพและกระดาษในทุกวันนี้

ผลึก Silver halide นั้นต้องการตัวเชื่อม (binders) เช่น พลาสติก หรือ แก้ว ซึ่งตัวเชื่อมนั้นต้องสามารถกักผลึกให้อยู่กับที่ได้ แต่ก็ต้องยอมให้ตัวทำละลายผ่านเข้าไปเพื่อทำปฏิกิริยาได้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ตัวเชื่อมที่ดี ได้มีการทดลองใช้ตัวเชื่อมหลายๆชนิดเพื่อเปรียบเทียบผล ทดลองใช้ ตั้งแต่ albumen ในไข่ขาว จนถึง สารพวก collodion อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2414 เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้วหลังจากที่ภาพถ่ายได้ถือกำเนิดขึ้น นักเขียนที่ชื่อ Dr.Maddox ผู้เขียนหนังสือเรื่อง British Journal of Photography ได้แนะนำให้ใช้ เจลลาติน (Gelatin) เป็น binding agent ซึ่งเป็นสารจำพวกโปรตีนที่พบได้ในกระดูกสัตว์ เนื่องจากเจลลาตินมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอันน่าทึ่งจึงทำให้เป็นที่ยอมรับและยังคงใช้กันจนถึงทุกวันนี้

ขั้นตอนทางเคมี มีดังนี้ - ผสมโลหะเงินกับตัวเชื่อม จะได้ อิมัลชัน ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมปริมาณแสงได้ ดังนั้น อะตอมของเงินจะถูกสร้างขึ้นในปริมาณน้อยๆ ภาพที่เกิดนั้น สายตาเราไม่อาจมองเห็นได้ เรียกว่า ภาพซ่อนเร้น (Latent image) - จากนั้นภาพซ่อนเร้นก็จะขยายหรือปรากฏขึ้น เมื่อปะทะเข้ากับแสง - ท้ายสุดหลังจากเกิดภาพแล้วต้องนำผลึก Silver halide ที่เหลืออยู่หรือไม่ละลายออกให้หมด เราเรียกกระบวนการนี้ว่า fixation (การที่ก๊าซเปลี่ยนกลับไปเป็นของแข็ง) ถ้าไม่นำผลึกที่เหลือออก ภาพก็จะเสีย คือ ภาพจะเป็นสีดำทั้งหมด

ภาพที่เกิดขึ้นจากฟิล์มนี้ เรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของภาพถ่ายเลยก็ว่าได้ เรียกว่าเป็น ภาพแบบ เนกาทีฟ (Negative) คือพื้นหลัง (Background) ทั้งหมดจะเป็นสีดำ ส่วนภาพที่ปรากฏหรือต้องการจะเป็นสีขาวหรือใสๆ ซึ่งภาพแบบเนกาทีฟนี้ใช้ในการสร้าง ภาพสุดท้าย (Final Print) หรือ ภาพแบบโพสิทีฟ (Positive) คือ ภาพที่เห็นตามความจริงนั่นเอง


[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -