ประเทศมาซิโดเนีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: Слобода или смрт (Liberty or death) |
|||||
เพลงชาติ: Денес Над Македонија (Denes Nad Makedonija) (วันนี้ทั่วมาซิโดเนีย) |
|||||
เมืองหลวง | สโกเปีย |
||||
เมืองใหญ่สุด | สโกเปีย | ||||
ภาษาราชการ | ภาษามาซิโดเนียและภาษาแอลเบเนีย1 | ||||
รัฐบาล | สาธารณรัฐระบบรัฐสภา | ||||
ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี |
บรันโค เซอร์เวนคอฟสกี วลาโด บุตช์คอฟสกี |
||||
ได้รับเอกราช ประกาศ |
จาก ยูโกสลาเวีย 8 กันยายน พ.ศ. 2534 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
25,333 กม.² (อันดับที่ 146) 9,779 ไมล์² 1.9% |
||||
ประชากร - 2548 ประมาณ - ความหนาแน่น |
2,034,000 (อันดับที่ 143) 80/กม² (อันดับที่ 88) 209/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2547 ค่าประมาณ 14.914 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 121) 7,237 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 82) |
||||
HDI (2546) | 0.797 (อันดับที่ 59) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | เดนาร์มาซิโดเนีย (MKD ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
CET (UTC+1) CEST (UTC+2) |
||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .mk | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +389 |
||||
1ทุกภาษาของชุมชนคนท้องถิ่น ที่มีตัวแทนมากกว่าร้อยละ 20 ในสภาเทศบาล ถือเป็นภาษาราชการของเทศบาล เช่น ภาษาแอลเบเนีย ภาษาตุรกี ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโรมานี เป็นต้น |
สาธารณรัฐมาซิโดเนีย (Republic of Macedonia) ซึ่งรัฐและองค์กรนานาชาติส่วนใหญ่เรียกว่า อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย (Former Yugoslav Republic of Macedonia: FYROM) เป็นรัฐอิสระบนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้มักจะเรียกเฉย ๆ ว่า มาซิโดเนีย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง และแคว้นมาซิโดเนียของกรีซ ประเทศมาซิโดเนียเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่ชื่อมาซิโดเนีย มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 38 และประชากรเกือบร้อยละ 44 ของพื้นที่ที่ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ปกครองโดยสาธารณรัฐมาซิโดเนีย ก่อนหน้านี้เป็นส่วนทางใต้สุดของยูโกสลาเวีย
พรมแดนปัจจุบันได้รับการกำหนดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก่อตั้ง สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย (Socialist Republic of Macedonia) ซึ่งเป็นที่โต้แย้งว่า เป็นการยอมรับสลาฟมาซิโดเนีย เป็นชนชาติแยกต่างหากภายในยูโกสลาเวีย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐมาซิโดเนียและแยกจากยูโกสลาเวียอย่างสันติ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนพื้นที่เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศได้เกิดกรณีพิพาทกับประเทศกรีซอย่างยาวนาน เกี่ยวกับ การใช้ชื่อ "มาซิโดเนีย"
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ใน สมัยประวัติศาสตร์ประเทศมาซิโดเนียเคยตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิโรมัน มาซิโดเนียเป็นชื่อเรียกดินแดนในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของยูโกสลาเวีย
กรีซ และบัลแกเรีย ในระหว่างปี ค.ศ. 1946-1949 เกิดสงครามกลางเมืองภายในกรีซ จึงทำให้นายพลตีโต แห่งยูโกสลาเวียประสบความสำเร็จในการเรียกร้องพื้นที่ส่วนหนึ่งของดินแดนมาซิโดเนียมาอยู่ภายใต้การปกครอง โดยเป็นสาธารณรัฐ 1 ใน 6 สาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย ในปี ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐสโลวีเนีย และสาธารณรัฐโครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนาได้เคลื่อนไหวแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย ชาวมาซิโดเนียจึงได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช และได้ประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นการแยกตัวโดยปราศจากการใช้กำลังต่อต้านจากยูโกสลาเวีย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยูโกสลาเวียกำลังสนับสนุนชาวเซิร์บในการสู้รบในบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนา ประกอบกับในมาซิโดเนียมาประชากรเชื้อสายเซิร์บจำนวนน้อย ยูโกสลาเวียจึงไม่ต้องการเปิดศึก 2 ด้าน มาซิโดเนียประกาศเอกราชโดยใช้ชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐมาซิโดเนีย (Republic of Macedonia - ROM) ตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติภายใต้ชื่อROM แต่ได้รับการคัดค้านจากกรีซ โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์และดินแดนว่า การใช้ชื่อ Republic of Macedonia เป็นการส่อเจตนารมย์ที่จะอ้างสิทธิครอบคลุมไปถึงดินแดนมาซิโดเนียส่วนที่อยู่ในกรีซ ในที่สุดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 817 (1993) ให้ใช้ชื่อ Former Yugoslav Republic of Macedomia (FYROM) ในการอ้างถึงมาซิโดเนียในสหประชาชาติจนกว่าประเทศทั้งสองจะตกลงกันได้ สหประชาชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1993 ประกาศรับรองมาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 181 นอกจากนี้ มาซิโดเนียยังได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์การ เช่น FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ILO, IMF, OSCE, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, WHO เป็นต้น
[แก้] การเมือง
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
หลังจากที่มีการผ่านกฎหมายใหม่และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้มีการแบ่งหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างเทศบาล 78 แห่ง (општини, opštini ออปซตีนิ, เอกพจน์ - општина, opština ออปซตีนา) เมืองหลวงสโกเปีย กครองเป็นกลุ่มเทศบาล 10 แห่ง เรียกรวมกันว่า "นครสโกเปีย" (the City of Skopje)
[แก้] ภูมิศาสตร์
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] เศรษฐกิจ
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] ประชากร
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] วัฒนธรรม
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
|
|
---|---|
กรีซ · คอซอวอ · โครเอเชีย · จอร์เจีย1 · สาธารณรัฐเช็ก · ซานมารีโน · เซอร์เบีย · ไซปรัส1 · เดนมาร์ก · ตุรกี2 · นอร์เวย์ · เนเธอร์แลนด์ · บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา · บัลแกเรีย · เบลเยียม · เบลารุส · โปรตุเกส · โปแลนด์ · ฝรั่งเศส · ฟินแลนด์ · มอนเตเนโกร · มอลโดวา · มอลตา · มาซิโดเนีย · โมนาโก · ยูเครน · เยอรมนี · รัสเซีย2 · โรมาเนีย · ลักเซมเบิร์ก · ลัตเวีย · ลิกเตนสไตน์ · ลิทัวเนีย · นครรัฐวาติกัน · สเปน · สโลวาเกีย · สโลวีเนีย · สวิตเซอร์แลนด์ · สวีเดน · สหราชอาณาจักร · ออสเตรีย · อันดอร์รา · อาเซอร์ไบจาน1 · อาร์เมเนีย1 · อิตาลี · เอสโตเนีย · แอลเบเนีย · ไอซ์แลนด์ · ไอร์แลนด์ · ฮังการี | |
1. ทางภูมิศาสตร์อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มักถูกจัดอยู่ในทวีปยุโรป เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน; 2. มีพื้นที่ทั้งในทวีปยุโรปและในทวีปเอเชีย |
|
||
---|---|---|
สมาชิก | กรีซ · สาธารณรัฐเช็ก · ไซปรัส · เดนมาร์ก · เนเธอร์แลนด์ · บัลแกเรีย · เบลเยียม · โปแลนด์ · โปรตุเกส · ฝรั่งเศส · ฟินแลนด์ · มอลตา · เยอรมนี · โรมาเนีย · ลัตเวีย · ลิทัวเนีย · ลักเซมเบิร์ก · สวีเดน · สหราชอาณาจักร · สเปน · สโลวาเกีย · สโลวีเนีย · ออสเตรีย · อิตาลี · เอสโตเนีย · ไอร์แลนด์ · ฮังการี | |
ประเทศที่สมัครเข้าร่วม | โครเอเชีย · ตุรกี · มาซิโดเนีย · แอลเบเนีย · บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา · มอนเตเนโกร · เซอร์เบีย |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ประเทศมาซิโดเนีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศมาซิโดเนีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |