บาท (สกุลเงิน)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาท (สกุลเงิน) บาทไทย |
|||||
|
|||||
รหัส ISO 4217 | THB | ||||
---|---|---|---|---|---|
ใช้ใน | ประเทศไทย | ||||
อัตราเงินเฟ้อ | 5.1% | ||||
ข้อมูลจาก | The World Factbook (พ.ศ. 2549) | ||||
หน่วยย่อย | |||||
1/100 | สตางค์ | ||||
สัญลักษณ์ | ฿ | ||||
เหรียญ | |||||
เหรียญที่ใช้บ่อย | 25, 50 สตางค์, 1, 2, 5, 10 บาท | ||||
เหรียญที่ไม่ใช้บ่อย | 1, 5, 10 สตางค์ | ||||
ธนบัตร | |||||
ธนบัตรที่ใช้บ่อย | 20, 50, 100, 500, 1000 บาท | ||||
ธนบัตรที่ไม่ใช้บ่อย | 10 บาท | ||||
ธนาคารกลาง | ธนาคารแห่งประเทศไทย | ||||
เว็บไซต์ | www.bot.or.th | ||||
โรงกษาปณ์ | โรงกษาปณ์ | ||||
เว็บไซต์ | www.trd.mof.go.th |
เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 8,400 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 8,400 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้
หน่วยเงิน | มูลค่า | วิธีการสะกดแบบอื่นในสมัยโบราณ |
---|---|---|
หาบ | 6,400 บาท | |
ชั่ง | 80 บาท | |
ตำลึง | 4 บาท | |
บาท | 1 บาท | |
มายน หรือ มะยง | 1⁄2 บาท | |
สลึง | 1⁄4 บาท | |
เฟื้อง | 1⁄8 บาท | |
ซีก | 1⁄16 บาท | สิ้ก |
เสี้ยว หรือ ไพ | 1⁄32 บาท | เซี่ยว |
อัฐ | 1⁄64 บาท | |
โสฬส | 1⁄128 บาท | โสฬศ |
เบี้ย | 1⁄6400 บาท |
[แก้] เหรียญ
เหรียญที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น
เหรียญที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจ [1] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพ | มูลค่า | ข้อมูล | ภาพ | ปีที่ผลิตครั้งแรก | ||||
ด้านหน้า | ด้านหลัง | เส้นผ่านศูนย์กลาง | น้ำหนัก | ส่วนประกอบ | ด้านหน้า | ด้านหลัง | ||
1 สตางค์ | 15 มม. | 0.5 กรัม | อะลูมิเนียม | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช | พระเจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัย | พ.ศ. 2530 | ||
5 สตางค์ | 16 มม. | 0.6 กรัม | พระปฐมเจดีย์ | พ.ศ. 2530 | ||||
10 สตางค์ | 17.5 มม. | 0.8 กรัม | พระเจดีย์วัดพระธาตุเชิงชุม | พ.ศ. 2530 | ||||
25 สตางค์ | 16 มม. | 1.9 กรัม | อะลูมิเนียมบรอนซ์ | พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร | พ.ศ. 2530 | |||
50 สตางค์ | 18 มม. | 2.4 กรัม | พระเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ | พ.ศ. 2530 | ||||
1 บาท | 20 มม. | 3.4 กรัม | คิวโปรนิกเกิล | พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม | พ.ศ. 2529 | |||
2 บาท | 21.75 มม. | 4.4 กรัม | คิวโปรนิกเกิล สอดไส้ เหล็กกล้า | พระบรมบรรพต วัดสระเกศ | พ.ศ. 2548 | |||
5 บาท | 24 มม. | 7.5 กรัม | คิวโปรนิกเกิล สอดไส้ ทองแดง | พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร | พ.ศ. 2531 | |||
10 บาท | 26 มม. | 8.5 กรัม | วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล ตรงกลาง: อะลูมิเนียมบรอนซ์ |
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม | พ.ศ. 2531 |
[แก้] ธนบัตร
ธนบัตรที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ที่ใช้บ่อย ได้แก่ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1000 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจ [2] | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพ | มูลค่า | ขนาด | สี | ด้านหน้า | ด้านหลัง | วันที่ออกใช้ | |
20 บาท | 138 × 72 มม. | เขียว | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล | 3 มีนาคม 2546 | ||
50 บาท | 144 × 72 มม. | น้ำเงิน | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 1 ตุลาคม 2547 | |||
100 บาท | 150 × 72 มม. | แดง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 21 ตุลาคม 2548 | |||
500 บาท | 156 × 72 มม. | ม่วง | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | 1 สิงหาคม 2544 | |||
1000 บาท | 162 × 72 มม. | เทา | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช | 25 พฤศจิกายน 2548 |
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลของธนบัตรจากธนาคารแห่งประเทศไทย
- ข้อมูลของเหรียญจากกรมธนารักษ์
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ธนบัตรเงินกระดาษของไทย หมาย
หน่วยเงินในประเทศไทย | |
---|---|
เหรียญ | 1 สตางค์ | 5 สตางค์ | 10 สตางค์ | 25 สตางค์ | 50 สตางค์ | 1 บาท | 2 บาท | 5 บาท | 10 บาท | 20 บาท | 800 บาท | 16000 บาท |
ธนบัตร | 50 สตางค์ | 1 บาท | 5 บาท | 10 บาท | 20 บาท | 50 บาท | 60 บาท | 100 บาท | 500 บาท | 1000 บาท | 500000 บาท |
อื่นๆ | พดด้วง | เบี้ย | โสฬส | อัฐ | เสี้ยว (ไพ) | ซีก | เฟื้อง | สลึง | มายน (มะยง) | บาท | ตำลึง | ชั่ง | หาบ | บัตรธนาคาร 60 บาท |
|
|
---|---|
ยุโรป | โครูนา (เช็ก) · ปอนด์สเตอร์ลิง (สหราชอาณาจักร) · ฟรังก์ (สวิตเซอร์แลนต์) · มาร์ก (เยอรมัน) · ยูโร · รูเบิล (รัสเซีย) · ลีราใหม่ (ตุรกี) |
เอเชีย | กีบ (ลาว) · จ๊าด (พม่า) · ด่อง (เวียดนาม) · ดอลลาร์ (บรูไน) · ดอลลาร์ (สิงคโปร์) · บาท (ไทย) · เปโซ (ฟิลิปปินส์) · เยน (ญี่ปุ่น) · รูเปียห์ (อินโดนีเซีย) · ริงกิต (มาเลเซีย) · รูปี (อินเดีย) · รูปี (เนปาล) · เหรินหมินปี้ (จีน) · เรียล (กัมพูชา) · วอน (เกาหลีเหนือ) · วอน (เกาหลีใต้) · ริยาล (ซาอุดีอารเบีย) · ริยาล (กาตาร์) · เดแฮม (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์).ดอลลาร์ (ไต้หวัน) |
อเมริกาเหนือ | ดอลลาร์สหรัฐ (สหรัฐอเมริกา) · ดอลลาร์แคนาดา (แคนาดา) |
อเมริกาใต้ | เรียล (บราซิล) |
แอฟริกา | ปอนด์ (อียิปต์) · ดีนาร์ (ลิเบีย) |
โอเชียเนีย | ตาลา (ซามัว) · ดอลลาร์ (นิวซีแลนด์) · ดอลลาร์สหรัฐ (ไมโครนีเซีย ปาเลา มาร์แชลล์) · ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย, นาอูรู) · พาแองกา (ตองกา) · วาตู (วานูอาตู) |