วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารบัญ |
---|
บทความคุณภาพในวิกิพีเดียไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการคัดเลือกบทความคุณภาพได้โดยลงชื่อสนับสนุน คัดค้าน และเสนอแนะการปรับปรุงบทความ หากคุณคิดว่า บทความใดควรได้รับการปรับปรุงภายหลังจากได้รับคัดเลือกแล้ว คุณสามารถแจ้งได้ที่ เสนอปรับปรุงบทความคุณภาพ |
[แก้] ตัวอย่างบทความคุณภาพ
เจค็อบ เบนจามิน จิลเลนฮอล (Jacob Benjamin Gyllenhaal) เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ผู้ชนะเลิศรางวัลดาราสมทบชายยอดเยี่ยมรางวัลบาฟต้า ประจำปี พ.ศ. 2549 และเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องหุบเขาเร้นรัก (Brokeback Mountain) จิลเลนฮอลเป็นบุตรชายของผู้กำกับ สตีเฟน จิลเลนฮอล และนักเขียนบทภาพยนตร์ นาโอมิ โฟเนอร์ โดยเขาเริ่มการแสดงตั้งแต่อายุ 11 ปี และเป็นที่รู้จักครั้งแรกในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงเรื่อง Donnie Darko เขารับบทบาทเป็นวัยรุ่นผู้มีปัญหาทางจิต ในปี พ.ศ. 2547 ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง The Day After Tomorrow จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 เขารับบทบาทเป็นนาวิกโยธินผู้ท้อแท้และสับสนในภาพยนตร์เรื่อง Jarhead ในปีเดียวกันรับบทบาทเป็น "คาวบอยเกย์" ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนตร์เรื่องหุบเขาเร้นรัก จิลเลนฮอลเป็นนักกิจกรรม มีบทบาทและร่วมสนับสนุนกิจกรรมการเมืองและทางสังคมหลายครั้ง ได้ร่วมโครงการประชาสัมพันธ์การรณรงค์เลือกตั้ง "ร็อก เดอะ โหวต" (Rock the Vote) และร่วมหาเสียงสนับสนุนให้พรรคเดโมแครต ในปี พ.ศ. 2547 และช่วยประชาสัมพันธ์ในงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของ อเมริกันซิวิลลิเบอร์ตีส์ยูเนียน (American Civil Liberties Union) อ่านต่อ... บทความนี้ได้รับการคัดเลือกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 : ผู้เขียนหลัก ได้แก่ Sry85 และ เสนอบทความ โดย Sry85
|
[แก้] รายชื่อบทความคุณภาพ
[แก้] หลักเกณฑ์บทความคุณภาพ
-
- ดูข้อความทั้งหมดได้ที่ วิกิพีเดีย:อะไรคือบทความคุณภาพ
[แก้] เนื้อหา
- เนื้อหาเป็นสารานุกรม (ตามเงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม และนโยบาย วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย)
- เนื้อหามีความเป็นกลาง (ตามนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง)
- เนื้อหาไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ (ตามนโยบายละเมิดลิขสิทธิ์)
- เนื้อหาไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับ (ตามนโยบายงดงานค้นคว้าต้นฉบับ)
- เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มา (ตามนโยบายการพิสูจน์ยืนยันได้และการอ้างอิงแหล่งที่มา)
- เนื้อหามีเสถียรภาพ (ไม่อยู่ภายใต้ "สงครามแก้ไข")
- เนื้อหาหลักมีความสมบูรณ์ในตัวบทความเอง
[แก้] ภาพและตาราง
- ถ้าบทความมีรูปภาพประกอบ ต้องมีข้อความกำกับใต้ภาพเสมอโดยเป็นข้อความอธิบายภาพไม่ใช่ชื่อบทความ
- ภาพและสื่อในบทความได้ระบุสัญญาอนุญาตที่เหมาะสม และถูกต้อง (ตามนโยบายการใช้ภาพ และนโยบายลิขสิทธิ์)
- การที่ไม่มีรูปภาพไม่ได้ทำให้บทความเสียสิทธิการได้รับสถานะบทความคุณภาพ
- รูปแบบตารางจัดได้เหมาะสม และมีการเน้นหัวตาราง
[แก้] รูปแบบการเขียน
- ใช้สำนวนที่อ่านเข้าใจ ไวยากรณ์ถูกต้อง และโครงสร้างชัดเจน
- แบ่งหัวข้อได้เหมาะสมและชัดเจน
- หมายเหตุ: บทความที่มีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ มีป้ายแจ้งต้องการปรับปรุงเนื้อหา หรือถูกแจ้งลบจะไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความคุณภาพโดยทันที
[แก้] เกณฑ์ในการพิจารณา
การพิจารณาบทความคุณภาพนั้น พิจารณาจากหลักเกณฑ์ข้างต้น โดยทุกคนสามารถลงชื่อสนับสนุน คัดค้าน หรือเสนอแนะให้มีการปรับปรุง โดยให้เหตุผลประกอบในการพิจารณาทุกครั้ง โดยการพิจารณาบทความนั้น หากเป็นไปได้ให้พิจารณาบทความ 10 อันดับแรกก่อนแล้วไล่ลงไป บทความที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ได้รับการเสนอชื่อใหม่
- บทความที่ได้รับการเสนอชื่อใหม่ โดยจะได้รับการพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่เสนอชื่อ
- อยู่ในระหว่างรอการปรับปรุง
- บทความที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาและได้รับการสนับสนุนมากกว่าคัดค้าน แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงความสมบูรณ์ของเนื้อหา ถ้าบทความไม่มีการปรับปรุงเนื้อหาในระยะเวลา 4 สัปดาห์ นับจากวันเริ่มเสนอชื่อ บทความนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็น "บทความที่เคยถูกเสนอชื่อเป็นบทความคุณภาพ"
- ผ่านเกณฑ์
- บทความที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาและได้รับการสนับสนุนมากกว่าคัดค้าน รวมทั้งได้ถูกปรับแก้จากข้อเสนอแนะของผู้ลงความเห็นคนอื่น โดยผู้พิจารณาจะไม่ใช่ผู้ที่ร่วมแก้ไขหลักสำหรับบทความดังกล่าว หรือผู้เสนอชื่อ
- เคยถูกเสนอชื่อ
- บทความที่ไม่มีผู้สนับสนุนเพียงพอ หรือบทความไม่ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้นตามความเห็น ภายหลังจากเวลาที่กล่าวไว้ข้างต้น
- อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถเสนอชื่อบทความที่เคยถูกเสนอชื่อได้ในภายหลัง ถ้าหากบทความนั้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากข้อเสนอแนะของผู้ลงความเห็นคนอื่นแล้ว
[แก้] ขั้นตอนการเสนอชื่อและคัดเลือก
ชาววิกิพีเดียที่มีบัญชีผู้ใช้เท่านั้นจึงจะเสนอได้ การเสนอและพิจารณาบทความ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
[แก้] ขั้นตอนในการเสนอชื่อ
- เลือกบทความที่คุณคิดว่ามีคุณภาพ ที่คุณเขียนขึ้นมา ร่วมเขียนขึ้นมา หรือว่าไม่ได้เขียนแต่มีความสนใจ และนำรายชื่อนั้นไปเสนอในส่วนของการเสนอชื่อ (ถึงแม้ว่าไม่มีการจำกัดจำนวนบทความที่เสนอชื่อ แต่การเสนอบทความหลายชื่อในเวลาเดียวกันก็ไม่เป็นที่แนะนำ)
- ใส่ป้าย {{GAnominee|dd/mm/yyyy}} โดยใส่วันเดือนปีรูปแบบ dd/mm/yyyy (พ.ศ.) ในหน้าพูดคุยของบทความที่เสนอ
- ช่วงเวลาการเสนอชื่อและคัดเลือกเป็นบทความคุณภาพนั้น จะใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์นับจากวันที่เริ่มเสนอชื่อ
- ภายหลังจากเสนอชื่อให้รอเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ซึ่งในระหว่างนั้นจะมีความเห็นจากผู้อื่น ซึ่งทางผู้เสนอชื่อหรือผู้เขียนคนอื่น ควรร่วมกันปรับแก้บทความให้ดียิ่งขึ้น
[แก้] วิธีการเสนอชื่อ
I |
เสนอชื่อบทความคุณภาพ
พิมพ์ชื่อบทความแทนที่คำว่า ชื่อบทความ แล้วคลิก เสนอบทความ |
|
---|---|---|
II |
ขึ้นบัญชีบทความที่เสนอ
แก้ไขหน้านี้ และเพิ่มโค้ดดังนี้ไว้ล่างสุด โดยเปลี่ยนคำว่า ชื่อบทความ เป็นชื่อบทความที่คุณเสนอ: |
|
III |
ใส่ป้าย {{GAnominee|วันที่พิจารณา}} ที่หน้าพูดคุยของบทความ
โดยวันที่พิจารณาให้ใส่เป็นรูปแบบ dd/mm/yyyy (พ.ศ.) หรือ วัน เดือน ปีก็ได้ |
[แก้] รายชื่อบทความที่ถูกเสนอ
พื้นที่นี้ใช้สำหรับแสดงรายชื่อบทความที่ถูกเสนอชื่อเพื่อรับการพิจารณาเป็นบทความคุณภาพ คุณสามารถลงคะแนนสนับสนุน คัดค้าน และเสนอข้อแนะนำได้ โดยเลือกที่ (ลงคะแนนและเสนอแนะ) ของแต่ละบทความ บทความจะได้รับการพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์หลังวันเสนอชื่อ ขณะนี้วันที่ 24 มิถุนายน 2551 เวลา 20:55 น.
- ลงคะแนนและเสนอแนะ จะได้รับการพิจารณาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 —
- ลงคะแนนและเสนอแนะ จะได้รับการพิจารณาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 —
- ลงคะแนนและเสนอแนะ จะได้รับการพิจารณาในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 —