ทางรถไฟสายมรณะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตันบูซายัด ประเทศพม่า รวมระยะทางในเขตประเทศไทย 300 กิโลเมตร
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกเลาะทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้ทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา
เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดีย อีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกร รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย
[แก้] การท่องเที่ยว
ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร
การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟขบวนปกติ ธนบุรี - น้ำตก ทุกวัน และจัดขบวนพิเศษสายกรุงเทพ - น้ำตกไทรโยคน้อย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ 1690
[แก้] รายชื่อสถานี
[แก้] สถานีปัจจุบัน
|
[แก้] สถานีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
|
[แก้] รูปภาพ
[แก้] สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายมรณะ
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว
- สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
- พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก
- หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
- สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่
- ช่องเขาขาด
- กาญจนบุรี
|
|
---|---|
รายชื่อสถานี | « ชุมทางหนองปลาดุก (แขวงบำรุงทางนครปฐม) • ถนนทรงพล (แขวงบำรุงทางนครปฐม) • สระโกสินารายณ์ • ลูกแก • ท่าเรือน้อย • บ้านหนองเสือ • ทุ่งทอง • ปากแพรก • กาญจนบุรี • สะพานแควใหญ่ • เขาปูน • วิทยาลัยเกษตร • วังลาน • นากาญจน์ • วังเย็น • วังตะเคียน • โป่งเสี้ยว • บ้านเก่า • ท่าตาเสือ • ท่ากิเลน • วังสิงห์ • ลุ่มสุ่ม • สะพานถ้ำกระแซ • วังโพ • เกาะมหามงคล • ช่องแคบ • วังใหญ่ • บ้านพุพง • น้ำตก • น้ำตกไทรโยคน้อย • ท้องช้าง • ถ้ำผี • หินตก • แคนนิว • ไทรโยค • กิ่งไทรโยค • รินถิ่น • กุย • หินดาด • ปรางกาสี • ท่าขนุน • น้ำโจนใหญ่ • ท่ามะยอ • ตำรองผาโท้ • บ้านเกริงไกร • คุริคอนตะ • กองกุยตะ • ทีมองตะ • นิเกะ • ซองกาเลีย • ด่านพระเจดีย์สามองค์ • (ประเทศพม่า) » |
ดูเพิ่ม | ทางรถไฟสายมรณะ • สถานีรถไฟ • แขวงบำรุงทางกาญจนบุรี • เขตบำรุงทางกรุงเทพ • ศูนย์บำรุงทางภาคกลาง • การรถไฟแห่งประเทศไทย |