ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้
เนื้อหา |
[แก้] ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตเพื่อประกอบวิชาชีพ ดังนี้
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ออกโดย แพทยสภา [1]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ออกโดย ทันตแพทยสภา[2]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ออกโดย สัตวแพทยสภา[3]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ออกโดย สภาเภสัชกรรม[4]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ออกโดย สภาการพยาบาล[5]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ออกโดย สภาเทคนิคการแพทย์[6]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ออกโดย สภากายภาพบำบัด[7]
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดย สภาวิศวกร
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ออกโดย สภาสถาปนิก
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ออกโดย คุรุสภา[8]
[แก้] สาขาอื่น ๆ ทางการแพทย์
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เป็นใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ และการผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ที่มีการตั้งสภาวิชาชีพเพื่อควบคุมดูแลในแต่ละวิชาชีพแล้ว ซึ่งใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะออกโดยคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ กองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่กระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ จากกองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข[9] ดังนี้
- สาขากิจกรรมบำบัด
- สาขารังสีเทคนิค
- สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย
- สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
- สาขาจิตวิทยาคลินิก
- สาขาการแพทย์แผนไทย
- สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- สาขาการแพทย์แผนจีน
- สาขาทัศนมาตรศาสตร์
- สาขากายอุปกรณ์