See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อำเภอปะเหลียน - วิกิพีเดีย

อำเภอปะเหลียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอปะเหลียน
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอปะเหลียน
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอปะเหลียน
อักษรโรมัน Amphoe Palian
จังหวัด ตรัง
รหัสทางภูมิศาสตร์ 9204
รหัสไปรษณีย์ 92120
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 973.1 ตร.กม.
ประชากร 62,063 คน (พ.ศ. 2543)
ความหนาแน่น 63.8 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอปะเหลียน เป็นอำเภอในจังหวัดตรัง มีตำบลต่าง ๆ ดังนี้


ประวัติความเป็นมา

ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอปะเหลียนมีการปกครองขึ้นกับเมืองพัทลุงเมื่อเจ้าพระยานคร(น้อย) ได้ส่งบุตรมาปกครองเมืองตรัง และขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราชพื้นที่แถบนี้มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานกันแล้ว เจ้าเมืองพัทลุงจึงส่งกรมการเมืองมาปกครองเพื่อเป็นการสกัดกั้นอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไว้ขณะ นั้นท้องที่อำเภอปะเหลียน มีประชากรน้อยมาก ไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะเป็นเมืองดี ดังนั้น ตำแหน่งผู้ปกครอง จึงเป็นเพียง “จอม” คำว่า “จอม” ใช้กันเฉพาะที่มีชายไทยมุสลิมอยู่ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ในสมัยต่อมาเมื่อประชากรมากขึ้นจึงยกฐานะขึ้นเป็นเมือง เมื่อ พ.ศ. 2341 เรียกว่า “เมืองปะเหลียน” เจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้าย คือ “พระปริยันต์เกษตรานุรักษ์” เท่าที่มีหลักฐาน ปรากฏตัวเมืองครั้งแรกตั้งอย ู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลปะเหลียน ในปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าพญา ในปัจจุบันเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430 ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า เมืองปะเหลียนทรุดโทรมมาก จึงยุบให้เป็นแขวงขึ้นตรงกับเมืองตรังและในปี พ.ศ. 2438 ได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรก ที่ตำบลท่าพญา ใช้ชื่อว่า“อำเภอท่าพญา” ครั้นได้จัดรูปแบบอำเภอขึ้นตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม ในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอหยงสตาร์” ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอปะเหลียนตามเดิมจวบจนปัจจุบันทั้งนี้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของเมืองปะเหลียนไว้ ขณะนี้อำเภอปะเหลียน ได้ก่อตั้งมาครบ108 ปี นับว่าเป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่ง ในจังหวัดตรัง ความหมายของคำว่า “ปะเหลียน” มีผู้พยายามค้นหาความหมายและความเป็นมาของคำว่า “ปะเหลียน” จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังหาข้อยุติ ไม่ได้เพราะเมืองปะเหลียนมีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคน ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ไม่สามารถ ค้นหาได้จึงเป็นเพียงแต่คำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา และเป็นขอสันนิษฐานที่พอจะรับฟังได้ คือ “ปะเหลียน” เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรมาก “ปะ” แปลว่า พบ หรือ เจอ “เหลียน” แปลว่า สิ่งที่มีค่า เพี้ยนมาจาก เหรียญ คือของมีค่า อีกนัยหนึ่ง ปะเหลียน สันนิษฐานว่ามา จากภาษามลายู จากเดิมว่า “ปราเลียน” แปลว่า “ทอง” อย่างไรก็ตามแม้ว่า “ปะเหลียน” จะยังไม่มีผู้ใดทราบถึงความหมายอันแท้จริงแต่ ปะเหลียนเป็นชื่อตำบลหนึ่ง ของอำเภอปะเหลียนติดต่อกับเทือกเขาบรรทัด ซึ่งกั้นแดนระหว่างจังหวัดตรังและพัทลุง ในสมัยก่อนคนจังหวัดพัทลุง ได้อพยพเจ้ามาอยู่ในพื้นที่ตำบลปะเหลียนเป็นจำนวนมาก สำหรับที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บ้านท่าข้าม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม ซึ่งสมัยก่อนเป็นท่าเรือสำคัญที่ใช้ติดต่อคมนาคมกับจังหวัดชายฝั่งอันดามันและประเทศมลาย ูหรือมาเลเซียในปัจจุบัน ที่ว่าการอำเภอปะเหลียน ตั้งอยู่บ้านท่าข้าม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม พิกัด NH927762 ห่างจากตัวจังหวัดตรัง ไปทางทิศใต้ 44 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 404 (สายตรัง-ปะเหลียน) และอยู่ห่าง จากกรุงเทพมหานครประมาณ1,050 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 973.13 ตารางกิโลเมตร (608,266.25 ไร่)

อาณาเขต

* ทิศเหนือ จดอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง * ทิศใต้ จดอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และทะเลอันดามัน * ทิศตะวันออก จดเทือกเขาบรรทัด อำเภอตะโหมด/กงหรา จังหวัดพัทลุง * ทิศตะวันตก จดอำเภอกันตัง อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ทะเลอันดามัน

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงริมเทือกเขาบรรทัด ส่วนตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้เป็น ที่ราบชายฝั่งทะเลส่วนตอนกลางเป็นที่ราบ ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูแล้ง อยู่ในช่วง ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกเดือน อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซนติเกรด ปริมาณน้ำฝน ประมาณ 1,500 มม./ปี ฤดูร้อนอยู่ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศาเซนติเกรด ปริมาณน้ำฝน 500 มม./ปี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. เงาะซาไก หรือมันนิ ซึ่งแปลว่า พวกเรา ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณแนวเทือกเขาบรรทัด ในเขตตำบลลิพัง และตำบลปะเหลียน ทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 30-35 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทั้งหมด 4 กลุ่ม มันนิใส่เสื้อผ้าแบบสมัยใหม่ ที่ชาวบ้านบริเวณนั้นบริจาคให้ พูดภาษาไทยสำเนียงปักษ์ใต้ได้ชัดเจน แต่ยังชอบอยู่ในป่า มันนิ ถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่เข้าใจวิถีทางธรรมชาติในป่ามากที่สุดเผ่าพันธุ์หนึ่ง 2. ป่าไม้ อำเภอปะเหลียน มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ถึง 315,025 ไร่ หรือร้อยละ 42 ของพื้นที่อำเภอปะเหลียน แต่ในปัจจุบันป่าสงวนแห่งชาตินั้นได้ถูกบุกรุกจับจองตัดไม้เพื่อเอาที่ดินไปทำการเกษตรไปมากแล้ว ซึ่งในบริเวณป่าไม้นี้ มี แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น น้ำตกโตนเต๊ะ น้ำตกช่องเขาบรรพต ภูเขาเจ็ดยอด น้ำตกพ่าน เป็นต้น 3. เต่าทะเล ชายบ้านตำบลเกาะสุกร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ มีการดูแลไข่เต่าที่มาฟักตัวบริเวณชายฝั่ง นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังมีรังนกนางแอ่น ซึ่งทางราชการจัดให้มีสัมปทานอยู่ที่เกาะเหลาเหลียง เกาะเภตรา ตำบลเกาะสุกร 4. หญ้าทะเล อำเภอปะเหลียน บางส่วนเป็นชายฝั่งทะเลและเป็นเกาะบริเวณทะเลน้ำตื้นโดยเฉพาะชายฝั่งเกาะสุกร เป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์หญ้าทะเลขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องอนุรักษ์เพื่อเป็นสถานที่วางไข่และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา



อำเภอในจังหวัดตรัง
อำเภอ:

เมืองตรัง - กันตัง - ย่านตาขาว - ปะเหลียน - สิเกา - ห้วยยอด - วังวิเศษ - นาโยง - รัษฎา - หาดสำราญ

แก้
อำเภอปะเหลียน เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ อำเภอปะเหลียน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -