สำนักราชเลขาธิการ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักราชเลขาธิการ (ชื่อย่อ ร.ล.) เป็นหน่วยงานราชการ ที่มีที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ การเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับงานหนังสือ ที่หน่วยราชการ เอกชน และบุคคลทั่วไป ส่งเข้ามา เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบรมราชวินิจฉัย และ พระมหากรุณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งทำหน้าที่ รับพระราชทานพระราชดำริ และพระราชดำรัส เพื่อเชิญไปยังหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทเป็นผู้ประสานงาน ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับรัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน และบุคคลทั่วไป ทั้งที่เป็นราชการแผ่นดิน และการส่วนพระองค์
สำนักราชเลขาธิการ ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนนั้นเรียกว่า ออฟฟิศไปรเวตสิเกรตารีหลวง หรือ กรมราชเลขาธิการ
[แก้] การจัดหน่วยงานในสำนักราชเลขาธิการ
ตำแหน่งหัวหน้าของสำนักราชเลขาธิการ คือ ราชเลขาธิการ คนปัจจุบัน คือ นายอาสา สารสิน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน
- กองการในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- กองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ
- ราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ คือ ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล
- กองงานในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [1]
- ราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ คือ คุณหญิงอารยา พิบูลนครินทร์
- กองงานในพระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- กองงานในพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- กองกลาง
- กองการต่างประเทศ
- กองข่าว
- กองโครงการสัมพันธ์
- กองนิติการ
- กองศิลปาชีพ
- สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ
- สำนักราชเลขาธิการ จาก เครือข่ายกาญจนาภิเษก
สำนักราชเลขาธิการ เป็นบทความเกี่ยวกับ หน่วยงาน หรือองค์กร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สำนักราชเลขาธิการ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |