สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การขึ้นไปถึงจุดสุดยอดของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งสุดท้ายได้ลงเอยด้วยสงครามโลกครั้งที่สอง นั้นถูกเข้าใจกกันโดยทั่วไปว่าเป็นการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีและการรุกรานจีนของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยการรุกรานดังกล่าวนั้นเป็นการตัดสินใจของผู้มีอำนาจระดับสูงในรัฐบาลของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองนั้นได้เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์รุนแรงซึ่งได้จบลงด้วยการประกาศสงครามในที่สุด
เนื้อหา |
[แก้] การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ดูบทความหลักได้ที่ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้นได้นำไปสู่ความกลัวของมหาชนชาวเยอรมันที่กลัวว่าประเทศของตนนั้นจะมีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศของตน
ไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พวกคอมมิวนิสต์ได้พยายามชิงอำนาจมาจากรัฐบาล ซึ่งได้นำไปสู่สาธารณรัฐบาวาเรียนโซเวียตซึ่งมีอายุแสนสั้น พวกทหารได้ช่วยกำจัดการกบฎเหล่านี้ และพวกเขาเหล่านี้ได้กลายเป็นสมาชิกระยะแรกของพลพรรคนาซี
เนวิลล์ เชมเบอร์แลนด์และสมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคอนุรักษ์นิยมนั้นเป็นพวกที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง พวกเขานั้นได้พิจารณาว่าคอมมิวนิสต์นั้นจะกลายเป็นภัยใหญ่หลวงสำหรับแผ่นดินอังกฤษ และพวกเขานั้นได้ลงความเห็นว่าแผ่นดินนาซีเยอรมนีของฮิตเลอร์นั้นจะเป็นเครื่องป้องกันการขยายตัวของคอมมิวนิสต์
ลอร์ดฮาลิแฟกซ์นั้นได้รับรองถึงฮิตเลอร์ว่าพลพรรคนาซีนั้นได้ทำลายลัทธิคอมมิวนิต์ในเยอรมนีอย่างราบคาบ และได้ป้องกันการแทรกแซงของลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ให้เข้าสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของทวีปยุโรป
ด้วยความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ สุดท้ายจึงได้นำไปสู่แผนการของรัฐบาลอังกฤษที่จะเอาใจฮิตเลอร์ด้วยความหวังว่าเขานั้นจะส่งกองทัพเยอรมันไปทางทิศตะวันออก และมุ่งเข้าทำลายสหภาพโซเวียต ขณะทางด้านสหรัฐอเมริกายังคงความเป็นกลางของตนอยู่เป็นเวลาหลายปี แม้ว่าสงครามจะปะทุขึ้นในยุโรปแล้วก็ตาม
[แก้] แผนการเอาใจเยอรมนีของพันธมิตรตะวันตก
ดูเพิ่มที่ การเอาใจฮิตเลอร์
สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสนั้นได้ดำเนินแผนการของตนเพื่อเอาใจฝ่ายเยอรมนีในตอนปลายทศวรรษ 1930 ภายใต้แผนการการเอาใจฮิตเลอร์ เยอรมนีนั้นได้รับข้อเสนอว่าตนจะสามารถขยายพื้นที่ของตนไปทางทิศตะวันออกได้โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งจากทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้เพิมความทะเยอทะยานของเขาและหลังจากนั้นก็ได้เริ่มแผนการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่สงครามในไม่ช้า
[แก้] การล่าอาณานิคมใหม่
การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้กำลังทหารเข้าช่วย ในอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีนั้นมีความต้องการที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กองทัพอิตาลีได้โจมตีอัลเบเนีย เมื่อต้นปี 1939 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของสงคราม และต่อมาก็กรีซ ก่อนหน้านั้น เขาได้ออกคำสั่งให้โจมตีเอธิโอเปีย เมื่อปี 1935 มาก่อนแล้ว แต่ว่าการกระทำดังกล่าวนี้ ได้รับการตอบสนองน้อยมากจากสันนิบาตชาติและฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการสร้างอาณาจักรของเขานั้นจะเกิดขึ้นระหว่างช่วงที่ผู้คนไม่ปรารถนาสงคราม และช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของโลกในช่วงทศวรรษ 1930 ทางด้านเยอรมนีนั้นก็ได้เข้ามาช่วยเหลืออิตาลีหลายครั้ง อิตาลีนั้นได้รับความขมขื่นจากดินแดนเพียงน้อยนิดซึ่งได้รับหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระหว่างการประชุมที่เมืองแวร์ซายส์ อิตาลีนั้นหวังจะได้ดินแดนจำนวนมากจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับได้เพียงดินแดนสองสามเมืองเท่านั้น และคำสัญญาที่ขออัลเบเนียและเอเชียไมเนอร์ก็ถูกผู้นำฝ่ายพันธมิตรอื่นๆ ละเลย
ทางด้านเยอรมนี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนให้แก่ลิทัวเนีย ฝรั่งเศส โปแลนด์ และเดนมาร์ก โดยดินแดนที่เสียไปที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ ฉนวนโปแลนด์ นครเสรีดานซิก แคว้นมาเมล (รวมกับลิทัวเนีย) มณฑลโปเซน และแคว้นอัลซาซ-ลอเรนของฝรั่งเศส และดินแดนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ แคว้นซิลิเซียตอนบน ส่วนดินแดนที่มีค่าทางเศรษฐกิจอีกสองแห่ง คือ ซาร์แลนด์และไรน์แลนด์ นั้นอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และดินแดนที่ถูกฉีกออกไปจำนวนมากนี้ คนที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันก็เข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก
ผลของการสูญเสียดินแดนดังกล่าวก่อให้เกิดความขมขื่นแก่ชาวเยอรมัน และมีความสัมพันธ์อันเลวร้ายกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การปกครองของพรรคนาซี เยอรมนีก็เริ่มต้นการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม ตั้งใจที่จะฟื้นฟูดินแดนอันชอบธรรมของจักรวรรดิเยอรมนี โดยที่สำคัญก็คือ แคว้นไรน์แลนด์และฉนวนโปแลนด์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่สงครามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเอาใจของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ฮิตเลอร์มั่นใจได้ว่าสงครามกับโปแลนด์จะราบรื่นไปด้วยดี และถึงแม้จะแย่กว่านั้น ก็เพียงแค่เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรเท่านั้น
นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังมีแนวคิดที่จะสร้างเยอรมนีอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเขาเห็นว่าประชาชนเยอรมันควรที่จะรวมกันเป็นชาติเดียวกัน และรวมไปถึงแผ่นดินที่ชาวเยอรมันได้อาศัยอยู่นั้น โดยในตอนแรก ฮิตเลอร์ได้เพ่งเล็งไปยังออสเตรียและเชโกสโลวาเกีย หลังจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] อ้างอิง
- Carley, Michael Jabara 1939 : the Alliance that never was and the coming of World War II, Chicago : I.R. Dee, 1999 ISBN 1-56663-252-8.
- Dallek, Robert. Franklin D. Roosevelt and American Foreign Policy, 1932-1945 (1995).
- Dutton, David Neville Chamberlain, London : Arnold ; New York : Oxford University Press, 2001 ISBN 0-340-70627-9.
- Feis, Herbert. The Road to Pearl Harbor: The coming of the war between the United States and Japan. classic history by senior American official.
- Goldstein, Erik & Lukes, Igor (editors) The Munich crisis, 1938: Prelude to World War II, London ; Portland, OR : Frank Cass, 1999 ISBN 0-7146-8056-7.
- Hildebrand, Klaus The Foreign Policy of the Third Reich, translated by Anthony Fothergill, London, Batsford 1973.
- Hillgruber, Andreas Germany and the Two World Wars, translated by William C. Kirby, Cambridge, Mass. : Harvard University Press, 1981 ISBN 0-674-35321-8.
- Seki, Eiji. (2006). Mrs. Ferguson's Tea-Set, Japan and the Second World War: The Global Consequences Following Germany's Sinking of the SS Automedon in 1940. London: Global Oriental. 10-ISBN 1-905-24628-5; 13- ISBN 978-1-905-24628-1 (cloth) [reprinted by University of Hawaii Press, Honolulu, 2007 -- previously announced as Sinking of the SS Automedon and the Role of the Japanese Navy: A New Interpretation
- Overy, Richard & Mason, Timothy "Debate: Germany, “Domestic Crisis” and War in 1939" pages 200-240 from Past and Present, Number 122, February 1989.
- Strang, G. Bruce On The Fiery March : Mussolini Prepares For War, Westport, Conn. : Praeger Publishers, 2003 ISBN 0-275-97937-7.
- Thorne, Christopher G. The Issue of War: States, Societies, and the Coming of the Far Eastern Conflict of 1941-1945 (1985) sophisticated analysis of each major power.
- Tohmatsu, Haruo and H. P. Willmott. A Gathering Darkness: The Coming of War to the Far East and the Pacific (2004), short overview.
- Wandycz, Piotr Stefan The Twilight of French Eastern Alliances, 1926-1936 : French-Czechoslovak-Polish relations from Locarno to the remilitarization of the Rhineland, Princeton, N.J. : Princeton University Press, 1988 ISBN 0-691-05528-9.
- Watt, Donald Cameron How war came : the immediate origins of the Second World War, 1938-1939, New York : Pantheon, 1989 ISBN 0-394-57916-X.
- Weinberg, Gerhard The Foreign Policy of Hitler's Germany : Diplomatic Revolution in Europe, 1933-36, Chicago : University of Chicago Press, 1970 ISBN 0-226-88509-7.
- Weinberg, Gerhard The Foreign Policy of Hitler's Germany: Starting World War II, 1937-1939, Chicago : University of Chicago Press, 1980 ISBN 0-226-88511-9.
- Turner, Henry Ashby German big business and the rise of Hitler, New York : Oxford University Press, 1985 ISBN 0-19-503492-9.
- Wheeler-Bennett, John Munich : Prologue to Tragedy, New York : Duell, Sloan and Pearce, 1948.
- Yomiuri Shimbun, The; James E. Auer (Editor) (2007). Who Was Responsible? From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor. The Yomiuri Shimbun. ISBN 4643060123. - Review of this book: [1]
- Young, Robert France and the Origins of the Second World War, New York : St. Martin's Press, 1996 ISBN 0-312-16185-9.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Human Smoke: The Beginnings of World War II, the End of Civilization by Nicholson Baker. Chapter 1 of the book.
- The History Channel
- France, Germany and the Struggle for the War-making Natural Resources of the Rhineland Explains the long term conflict between Germany and France over the centuries, which was a contributing factor to the World Wars.
- The New Year 1939/40, by Joseph Goebbels
- "We shall fight on the beaches" speech, by Winston Churchill
- Czechoslovakia primary sources
- More Czechoslovakia primary sources
|
|||||
---|---|---|---|---|---|
แนวรบด้านตะวันตก • แนวรบด้านตะวันออก • แนวรบทะเลทราย • ยุทธบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน • สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก • ยุทธบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก |
|||||
ผู้เข้าร่วมรบ |
เนื้อหาเพิ่มเติม |
||||
ก่อนสงคราม 1937 1938 1940 1941 1942 |
1943 1944 • รายชื่อยุทธนาการตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามและผลที่เกิดขึ้น |
• เขตปฏิบัติการอเมริกาเหนือ ผลกระทบของสงครามต่อพลเรือน |
|||
ฝ่ายสัมพันธมิตร | ฝ่ายอักษะ | ||||
เข้าสู่สงครามปี 1941 เข้าสู่สงครามปี 1942 • ฯลฯ |
|||||
• รายชื่อผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร |
|||||
ขบวนการกู้ชาติ
ออสเตรีย • แถบทะเลบอลติก1 • ดินแดนเช็ค • เดนมาร์ก • ฝรั่งเศส • เยอรมนี • กรีซ • อิตาลี • ชาวยิว • เกาหลี • เนเธอร์แลนด์ • นอร์เวย์ • โปแลนด์ • ไทย • สหภาพโซเวียต • สโลวาเกีย4 • ยูเครน3 • เวียตนาม • ยูโกสลาเวีย |
|||||
รายชื่อ | |||||
หมวดหมู่ • หัวข้อ • การประชุม |
|||||
1 ต่อต้านโซเวียต |
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |