See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สภาวิศวกร - วิกิพีเดีย

สภาวิศวกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาวิศวกร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 มีสถานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รวมทั้งพิจารณาพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รวมทั้งเสนอแนะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการกำหนดและการเลิกสาขาวิศวกรรมควบคุมและออกข้อบังคับสภาวิศวกร โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะสภานายกพิเศษ

สภาวิศวกร เป็นหนึ่งในสมาพันธ์สภาวิชาชีพ ร่วมกับ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาสถาปนิก สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด

เนื้อหา

[แก้] จากก.ว.มาเป็นสภาวิศวกร

[แก้] พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505

การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 เป็นแนวทางการควบคุมบังคับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งหมายความถึงวิชาชีพการช่างในสาขา วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ โดย คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ทำหน้าที่ดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ คุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติ โดยต้องมีคุณวุฒิจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาที่ขอรับใบอนุญาต จากสถาบันที่ ก.ว. รับรองหลักสูตร

[แก้] ใบอนุญาต

ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของแต่ละสาขา แบ่งประเภทดังนี้

• ใบอนุญาตฯ ประเภทภาคีวิศวกร (Associate Engineer)

• ใบอนุญาตฯ ประเภทสามัญวิศวกร (Professional Engineer)

• ใบอนุญาตฯ ประเภทวุฒิวิศวกร (Senior Professional Engineer)

• ใบอนุญาตฯพิเศษ

[แก้] พระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 120 ก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 สภาวิศวกร ทำหน้าที่ทุกรายการแทน ก.ว.

สมาชิกสภาวิศวกร สมาชิกสภาประกอบด้วยประเภทของสมาชิกดังนี้

• สมาชิกสามัญ มีสิทธิในการกำหนดทิศทางและอนาคตของสภาฯ โดยสามารถสมัครเป็นกรรมการสภาฯ มีสิทธิ์เลือกตั้ง รับเลือกตั้งหรือ แต่งตั้งเป็นกรรมการสภาฯ

• สมาชิกวิสามัญ ไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาฯ

[แก้] ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

• วุฒิวิศวกร ( Charter Engineer )

• สามัญวิศวกร ( Fellow Engineer )

• ภาคีวิศวกร ( Associate Engineer )

• ภาคีวิศวกรพิเศษ ( Corporate Engineer )

แต่ละระดับมีขอบเขตการทำงานแตกต่างกัน


[แก้] ประวัติ

ในอดีตวิศวกรไทยได้รวมตัวกันภายใต้สถาบันวิชาชีพ คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ตั้งแต่ พ.ศ. 2486 ต่อมา รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ขึ้น เมื่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมมีการเปลี่ยนแปลง มีความต้องการวิศวกรมากขึ้น จึงมีการเร่งผลิตวิศวกร เป็นผลให้งานวิศวกรรมมีปัญหาเรื่องคุณภาพงาน จำเป็นต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกทางด้านจรรยาบรรณและมีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ครั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงหลายครั้งจนมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของวิชาชีพวิศวกรรม อาทิ เหตุการณ์จากรถบรรทุกแก็สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2532 ไฟไหม้โรงงาน อาคารถล่มที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ทบวงมหาวิทยาลัย และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จึงได้มีการจัดสัมมนาระดมความคิดและได้ข้อสรุปในการจัดตั้ง “ สภาวิศวกร ” รวม 4 ประการคือ

  1. ให้มีสภาวิชาชีพที่สามารถปกครอง ควบคุมและกำกับดูแลกันเอง สภาวิศวกรจึงต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก
  2. ให้มีความคล่องตัวในการบริหารงานโดยอิสระจึงต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
  3. ให้สภาวิศวกรมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลควบคุม ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่องทันต่อวิทยาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  4. ให้มีการประกอบวิชาชีพด้วยมาตรฐานหนึ่งเดียวไม่ว่าจะเป็นราชการหรือเอกชน และจะไม่มีการยกเว้นสำหรับคนต่างชาติ

ต่อมาได้มีการร่างพระราชบัญญัติวิศวกรเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยคณะบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิทางวิศวกรรม จนในที่สุดพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 จึงได้เกิดขึ้นและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

[แก้] องค์ประกอบของสภาวิศวกร

  1. สมาชิกสภาวิศวกรแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญและสมาชิกกิตติมศักดิ์ซึ่งสมาชิกเหล่านี้จะเป็นผู้อนุมัตินโยบายการบริหารงานของคณะกรรมการสภาวิศวกรในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
  2. คณะกรรมการสภาวิศวกร จำนวน 20 คน มาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาวิศวกร15 คน (เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ 10 คน เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา 5 คน) กรรมการสภาวิศวกรอีก 5 คน มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีจากการเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการสภาวิศวกรมีหน้าที่ออกใบอนุญาตฯ รับรองปริญญาฯ รับรองความรู้ความชำนาญพิเศษ และออกข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ
  3. คณะกรรมการจรรยาบรรณ มาจากการแต่งตั้งตามมติของที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรมีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่มีการกล่าวหา ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตฯ ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
  4. คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ชำนาญพิเศษมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมกรรมการสภาวิศวกรมีหน้าที่ตามที่กรรมการสภาวิศวกรกำหนด
  5. ผู้ตรวจสภาวิศวกร ที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรแต่งตั้งจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอกวิศวกร มีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาวิศวกรแล้วทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกร
  6. สำนักงานสภาวิศวกร ประกอบด้วยงาน 5 ฝ่าย คือ
    1. ฝ่ายทะเบียนและใบอนุญาต
    2. ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรม
    3. ฝ่ายบริหาร ประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ
    4. ฝ่ายการเงิน บัญชี งบประมาณและการพัสดุ
    5. ฝ่ายกฎหมายและจรรยาบรรณ

สำนักงานสภาวิศวกรมีหัวหน้าสำนักงานสภาวิศวกรบริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของเลขาธิการสภาวิศวกร

[แก้] นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร ปี 2546 - 2549

[แก้] ด้านการศึกษา

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรม
  2. เตรียมการให้มีการสอบวิศวกรระดับภาคีเพื่อออกใบอนุญาต
  3. สนับสนุนให้มีการวิจัยระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา

[แก้] ด้านการประกอบวิชาชีพ

  1. จัดให้มีมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม
  2. ส่งเสริมและดำเนินการให้วิศวกรทั้งภาครัฐและเอกชนมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่องในระดับชาติและในระดับสากล

[แก้] ด้านสมาชิก

  1. คุ้มครองผลประโยชน์ของสมาชิก
  2. ให้การบริการสมาชิกให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วทั่วถึง
  3. ประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลและความรู้แก่สมาชิก

ด้านการให้คำปรึกษางานวิศวกรรมแก่รัฐบาล

  1. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในนโยบายและปัญหาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี
  2. ผลักดันแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาด้านวิศวกรรมให้บรรจุเป็นส่วนสำคัญหลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[แก้] อ้างอิง

สภาวิศวกร เป็นบทความเกี่ยวกับ หน่วยงาน หรือองค์กร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สภาวิศวกร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -