ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ในรัชกาลที่ 9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
เนื้อหา |
[แก้] ทศวรรษที่ ๑
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๐
- ๕ ธันวาคม - เสด็จพระราชสมภพ ณ สหรัฐอเมริกา มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๑
- เสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก พร้อมสมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๒
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สิ้นพระชนม์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๕
- ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๖
- เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๗
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติ
- รัฐบาลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี ขณะมีพระชนมายุ ๙ พรรษา เฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๘
- ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
[แก้] ทศวรรษที่ ๒
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๑
- เสด็จนิวัตพระนครครั้งที่ ๒ ช่วงปลายปี
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๒
- เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒
- เสด็จกลับไปประทับที่สวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๘
- ทรงรับประกาศนียบัตรจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิก กังโตนาล
- ๕ ธันวาคม - เสด็จนิวัตพระนครเป็นครั้งที่ ๓
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๙
- ๙ มิถุนายน - สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต
- รัฐบาลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- ๑๑ สิงหาคม - ประกาศพระราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช
- ๑๙ สิงหาคม - เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทรงเปลี่ยนคณะ จากวิทยาศาสตร์เป็นรัฐศาสตร์
[แก้] ทศวรรษที่ ๓
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๑
- ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๒
- ทรงหมั้นกับ หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร ที่เมืองโลซานน์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๓
- ๒๔ มีนาคม - เสด็จนิวัตพระนคร พร้อมด้วย หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น
- ๒๙ มีนาคม - พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
- ๒๘ เมษายน - พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม ในการนั้น โปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนา หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร เป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
- ๕ พฤษภาคม - พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ในการนั้น โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
- สถาปนา สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
- ๙ มิถุนายน - เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เพื่อรักษาพระองค์ที่สวิตเซอร์แลนด์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๔
- ๕ เมษายน - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ประสูติ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- พฤศจิกายน - เสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวร พร้อมสมเด็จพระบรมราชินี และพระธิดา
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๕
- ๒๘ กรกฎาคม - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น ภายในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชทานนามว่า สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๗
- พระราชทานพระราชทรัพย์แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดตั้ง หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน เพื่อรักษาราษฎรตามชนบท
- ๒๘ ธันวาคม เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๘
- ๒ เมษายน - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
- เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคต่างๆ โดยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- มีแนวพระราชดำริให้ทำฝนเทียม เพื่อช่วยเหลือราษฎร
- พระราชทานพระราชทรัพย์ ในการจัดตั้ง กองทุนอานันทมหิดล (มูลนิธิอานันทมหิดล ในปัจจุบัน)
- ๑๗ ธันวาคม - สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคต
[แก้] พ.ศ. ๒๔๙๙
- ๒๒ ตุลาคม - พระราชพิธีทรงผนวช ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ๕ ธันวาคม - ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ 'สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- หลังทรงศึกษาว่าทำได้จริงแล้ว จึงพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการทำฝนเทียม ให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปศึกษาทดลอง
[แก้] ทศวรรษที่ ๔
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๐
- พฤษภาคม - งานเฉลิมฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ : เริ่มก่อสร้างพุทธมณฑล ที่จังหวัดนครปฐม
- ๔ กรกฎาคม - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๑
- เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรภาคเหนือทุกจังหวัด
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๒
- เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรภาคใต้ทุกจังหวัด
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ โดยประเทศเวียดนามเป็นประเทศแรก
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๓
- โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟู พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปรวม ๑๔ ประเทศ ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๗ เดือน
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๔
- ทรงเริ่ม โครงการแปลงนาสาธิต ภายในสวนจิตรลดา
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๕
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ
- เกิดวาตภัยครั้งร้ายแรงในภาคใต้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส.ประกาศชักชวน ให้ราษฎรบริจาคทรัพย์และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือ
- มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายโคนม ๖ ตัว จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ สร้างโรงโคนมสวนจิตรลดาขึ้น เพื่อศึกษาการเลี้ยงโคนม
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๖
- ๕ ธันวาคม - พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖
- โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
[แก้] พ.ศ. ๒๕๐๗
- สถาบันดนตรีและศิลปะการแสดง แห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญา และตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ โดยทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ที่มีอายุน้อยที่สุด และเป็นชาวเอเชียคนแรก ที่ได้รับเกียรตินี้
- ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง โครงการพัฒนาที่ดินแห่งแรก ขึ้นที่ ตำบลหุบกระพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
- เจ้าฟ้าอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น (สมเด็จจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน) น้อมเกล้าฯ ถวายพันธุ์ปลาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระราชทานชื่อว่า ปลานิล และโปรดเกล้าฯ ให้เพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์ ภายในสวนจิตรลดา ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำพันธุ์ปลาดังกล่าว แจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไป
[แก้] ทศวรรษที่ ๕
[แก้] พ.ศ. ๒๕๑๐
- ๑๖ ธันวาคม - ทรงได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งขันเรือใบ ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔
[แก้] พ.ศ. ๒๕๑๑
- ทรงมีพระราชดำริ ให้จัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
[แก้] พ.ศ. ๒๕๑๓
- ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
[แก้] พ.ศ. ๒๕๑๔
- ๙ มิถุนายน - พระราชพิธีรัชดาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๑๔
[แก้] พ.ศ. ๒๕๑๖
- เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม : ทรงมีพระราชดำรัสทางสถานีโทรทัศน์ เพื่อระงับเหตุแห่งความรุนแรง หลังเหตุการณ์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เสด็จฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปทรงเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บ ตามโรงพยาบาลต่างๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิต ณ บริเวณตอนเหนือของท้องสนามหลวงด้วย ตลอดจนนำอัฐิเหล่านั้นไปลอยอังคาร ด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศ ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย
[แก้] ทศวรรษที่ ๖
[แก้] พ.ศ. ๒๕๒๕
- เมษายน - สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕
[แก้] พ.ศ. ๒๕๒๗
- ๒๒ พฤษภาคม - สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จสวรรคต
[แก้] พ.ศ. ๒๕๒๘
- ๙ เมษายน - พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗
[แก้] ทศวรรษที่ ๗
[แก้] พ.ศ. ๒๕๓๐
[แก้] พ.ศ. ๒๕๓๑
[แก้] พ.ศ. ๒๕๓๕
- เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ : ๒๐ พฤษภาคม - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำ พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยทรงมีพระราชดำรัสให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงในประเทศ
[แก้] พ.ศ. ๒๕๓๘
- ๖ พฤษภาคม - ทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ๑๘ กรกฎาคม - สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคต
[แก้] พ.ศ. ๒๕๓๙
- ๑๐ มีนาคม - พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- ๘ มิถุนายน - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ถวายเพิ่มพระนาม พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษ ตามแบบแผนโบราณราชประเพณี โดยให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
- ๙ มิถุนายน - พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙
[แก้] ทศวรรษที่ ๘
[แก้] พ.ศ. ๒๕๔๐
- ๔ ธันวาคม - ทรงมีพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่มาเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง และ ทฤษฎีใหม่
[แก้] พ.ศ. ๒๕๔๒
[แก้] พ.ศ. ๒๕๔๘
- ๒๙ เมษายน - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประสูติ ณ โรงพยาบาลศิริราช
- ๑๖ มิถุนายน - ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนา หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
[แก้] พ.ศ. ๒๕๔๙
- ๙ มิถุนายน - งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙
[แก้] ทศวรรษที่ ๙
[แก้] พ.ศ. ๒๕๕๐
[แก้] พ.ศ. ๒๕๕๑
- ๒ มกราคม - สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์