ภาษามคธี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามคธี मगही magahī |
||
---|---|---|
พูดใน: | อินเดีย | |
ภูมิภาค: | รัฐพิหาร | |
จำนวนผู้พูด: | 11,362,000 คน | |
ตระกูลภาษา: | อินโด-ยูโรเปียน ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ภาษากลุ่มอินโด-อารยันตะวันออก ภาษาพิหาร ภาษามคธี |
|
ระบบการเขียน: | อักษรเทวนาครี, อักษรไกถิ | |
สถานะทางการ | ||
ภาษาทางการใน: | รัฐพิหาร ใน อินเดีย | |
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ไม่มี | |
ISO 639-2: | ||
ISO 639-3: | mag | |
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษามคธีหรือภาษามคฮีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี
ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธีคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธีโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธี เรียกว่า ภาษาอรธามคธีซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธีกับภาษาอรธามคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี
ภาษามคธียังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร