See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ฟิลลิปโป ลิปปี - วิกิพีเดีย

ฟิลลิปโป ลิปปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงก์ข้ามภาษาที่แทรกในบทความนี้ ผู้เขียนอาจใส่ไว้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านและผู้ร่วมปรับปรุงแก้ไขบทความ ให้โยงไปถึงบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาอื่นเพื่อการตรวจสอบหรืออ่านเพิ่มเติม เนื่องจากคำ หรือวลีนั้นๆ ยังไม่มีคำแปลหรือคำอธิบายที่เหมาะสมในภาษาไทย เมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ลิงก์ข้ามภาษาจะถูกตัดออกหรือเปลี่ยนเป็นข้อความที่ไม่มีลิงก์แทน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย
“พระแม่มารีและพระบุตร”ราว ค.ศ. 1440-1445พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ,  วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
พระแม่มารีและพระบุตร
ราว ค.ศ. 1440-1445
พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
“ภาพเหมือนผู้ชายและผู้หญิงในห้อง” (Portrait of a Man and Woman at a Casement)  ราว ค.ศ. 1440พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน,  นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
“ภาพเหมือนผู้ชายและผู้หญิงในห้อง” (Portrait of a Man and Woman at a Casement) ราว ค.ศ. 1440
พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
ภาพเหมือนกับลูกศิษย์
ภาพเหมือนกับลูกศิษย์

ฟิลลิปโป ลิปปี หรือ ฟราฟิลลิปโป ลิปปี (ภาษาอิตาลี: Fra' Filippo Lippi; ภาษาอังกฤษ: Filippo Lippi หรือ Filippo Lippi) (ค.ศ. 1406 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1469) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง

เนื้อหา

[แก้] ชีวิตและงาน

ฟิลลิปโป ลิปปีเกิดที่ฟลอเรนซ์ พ่อเป็นคนขายเนื้อชื่อโทมัสโซ ทั้งพ่อและแม่เสียชีวิตตั้งแต่ลิปปียังเด็ก โมนา ลาปาเชียซึ่งเป็นน้าจึงเป็นผู้ดูแลแทน ในปี ค.ศ. 1432 ลิปปีก็รับศีลบวชเป็นพระลัทธิคาร์เมไลท์ (Carmelite) ที่ฟลอเรนซ์ซึ่งลิปปีอยู่จนอายุได้ 16 ปีในปี ค.ศ. 1421[1] ในหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” ของ จอร์โจ วาซารี กล่าวว่า: “แทนที่จะเรียนหนังสือ, ฟิลลิปโปใช้เวลาทั้งหมดวาดรูปในสมุดของตนเองและของคนอื่นๆ” เจ้าวัดจึงตัดสินใจส่งไปเรียนการวาดรูป

ในที่สุดฟราฟิลลิปโปก็ลาออกจากสำนักสงฆ์แต่ดูเหมือนว่าจะคงยังเป็นพระอยู่เพราะในจดหมายที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1439 ฟิลลิปโปกล่าวถึงตัวเองว่าเป็นพระที่จนที่สุดในฟลอเรนซ์ ผู้ต้องมีความรับผิดชอบหลานสาวหกคน ในปี ค.ศ. 1452 ฟิลลิปโปก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวงที่คอนแวนต์ซานจิโอวานนีที่ฟลอเรนซ์ ในปี ค.ศ. 1457 ก็ได้เป็น Rettore Commendatario ของวัดซานคิริโคที่เลจาเนีย (S. Quirico in Legania) มีรายได้ดีขึ้นแต่ก็มักจะมีปัญหาเรื่องเงิน ซึ่งกล่าวกันว่าฟิลลิปโปเอาไปใช้ซื้อ “ความรัก” (amours) วาซารีเองก็กล่าวถึงการผจญภัยในทางที่ว่านี้ของลิปปี แต่นักเขียนชีวประวัติสมัยใหม่ไม่มีความเชื่อถือในข้อมูลที่ว่าเท่าใด แต่นอกเหนือไปจากคำบรรยายของวาซารีไปแล้วก็ไม่มีเอกสารอื่นไดที่กล่าวถึงฟิลลิปโปอีก แม้แต่เรื่องการเดินทางไปอังโคนา หรือเนเปิลส์ หรือเรื่องที่ถูกจับไปเป็นทาสโดยโจรสลัดที่บาบารีไม่ไกลจากโมร็อกโกในปัจจุบัน แต่ถูกปล่อยตัวเพราะความที่มีฝีมือในการเขียนภาพเหมือนจากปี ค.ศ. 1431 ถึง 1437 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับงานอาชีพใดๆ ที่กล่าวถึงลิปปี

ในปี ค.ศ. 1456 มีหลักฐานว่าฟิลลิปโปอยู่ที่เมืองพราโตไม่ไกลจากฟลอเรนซ์เพื่อเขียนจิตรกรรมฝาผนังในบริเวณสงฆ์ที่มหาวิหารพราโต ในปี ค.ศ. 1458 ขณะที่ยังเขียนภาพให้มหาวิหารพราโต ฟิลลิปโปก็ไปทำงานเขียนให้กับคอนแวนต์ซานตามาเกอริตาที่พราโตด้วย ซึ่งเป็นที่ที่ฟิลลิปโปพบลูเครเซีย บูติ (Lucrezia Buti) ลูกสาวคนสวยของฟรานเชสโค บูติ พ่อค้าชาวฟลอเรนซ์ ผู้อาจจะเป็นแม่ชีฝึกหัดหรือเป็นถูกฝากให้อยู่กับคอนแวนต์ ฟิลลิปโปขอให้ลูเครเซียนั่งเป็นแบบสำหรับพระแม่มารีหรือไม่ก็นักบุญมาร์การเร็ต แล้วฟิลลิปโปก็ลักตัวลูเครเซียไปอยู่ด้วยแม้ว่าทางคอนแวนต์จะประท้วงขอตัวคืน

ผลก็คือลูกชายชื่อฟิลลิปินโน ลิปปีผู้กลายมาเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงไม่น้อยไปกว่าพ่อ คำบรรยายนี้มาจากบทเขียนของวาซารีซึ่งพิมพ์ไม่ถึงร้อยปีหลังจากเหตุการณ์ที่กล่าวแต่ก็ไม่มีใครค้านจนสามร้อยปีให้หลังเมื่อกล่าวกันว่าฟิลลิปโปอาจจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับลูเครเซียอย่างที่กล่าว หรือฟิลลิปินโนอาจจะเป็นเพียงลูกบุญธรรม หรืออาจจะเป็นเพียงญาติเท่านั้นก็ได้ ภาพเขียนสองภาพที่ถกเถียงกันว่าเป็นภาพเหมือนของลูเครเซียหรือไม่คือภาพพระแม่มารีที่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พิติ, ฟลอเรนซื, ประเทศอิตาลี และอีกภาพหนึ่งเป็นภาพของพระแม่มารีเช่นกันในภาพ “การประสูติของพระเยซูพิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส แต่ภาพที่ว่าน่าจะเป็นภาพของลูเครเซียมากกว่าคือรูปนักบุญมาร์การเร็ตที่ปัจจุบันอยู่ที่แกลเลอรีที่พราโต

จิตรกรรมฝาผนังภายในบริเวณสงฆ์ที่มหาวิหารพราโตเป็นเรื่องราวของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ และนักบุญสตีเฟนบนผนังตรงกันข้าม ถือกันว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นงานสำคัญที่สุดและชิ้นใหญ่ที่สุดของฟิลลิปโปโดยเฉพาะภาพซาโลเมเต้นรำซึ่งมีลักษณะที่มาเห็นอีกต่อมาในงานของซานโดร บอตติเซลลีผู้เป็นลูกศิษย์ และ ฟิลลิปินโน ลิปปีผู้เป็นลูก รวมทั้งฉากที่แสดงความโศกเศร้าในการเสียชีวิตของนักบุญสตีเฟน ฉากหลังนี้เชื่อกันว่ามีภาพเหมือนของฟิลลิปโป แต่ว่าจะเป็นคนใดในรูปก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บนผนังอีกด้านหนึ่งเป็นภาพเขียนของนักบุญจิโอวานนี กวาลเบอร์โต และนักบุญอัลเบอร์โต บนเพดานเป็นภาพขนาดใหญ่ของอีแวนเจลลิสทั้งสี่

เมื่อบั้นปลายของชีวิตฟิลลิปโปอาศัยอยู่ที่สโปเลตโตซึ่งเป็นที่เขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในบริเวณมุขด้านตะวันออกของมหาวิหารสโปเลตโตเป็นฉากชีวิตของพระแม่มารี[1] ซึ่งประกอบด้วย “การชื่นชมพระเยซู” “การสวมมงกุฏพระแม่มารี” และ “งานศพพระแม่มารี” ตรงกลางโดมครึ่งวงกลมเป็นภาพการสวมมงกุฏของพระแม่มารี (Coronation of the Virgin) ซึ่งพร้อมไปด้วยนางฟ้าเทวดา และประกาศก งานนี้ไม่เท่าเทียมกับงานที่พราโตเขียนเสร็จโดยฟราดิอาเมนเต (Fra Diamante) หลังจากที่ฟิลลิปโปเสียชีวิต

จากจิตรกรรมฝาผนังที่มหาวิหารพราโด ราว ค.ศ. 1452-65
จากจิตรกรรมฝาผนังที่มหาวิหารพราโด ราว ค.ศ. 1452-65

เรื่องที่ว่าฟิลลิปโปเสียชีวิตที่สโปเลตโตเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1469 ก็ยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังถกเถียงกันอยู่ กล่าวกันว่าพระสันตะปาปาอนุญาตให้ฟิลลิปโปแต่งงานกับลูเครเซียแต่ก่อนที่ใบอนุญาตจะมาถึงฟิลลิปโปก็ถูกวางยาโดยญาติผู้ไม่พอใจของลูเครเซียเองหรือผู้หญิงคนอื่นที่ฟิลลิปโปไปมีความสัมพันธ์ด้วย แต่เรื่องเหล่านี้ของฟิลลิปโปก็ถือกันว่าเป็นตำนานมากกว่าโดยเฉพาะความสมเหตุสมผลในเรื่องการแก้แค้นผู้มีอายุร่วม 63 ปีผู้ไปมีเรื่องเสียหายเมื่ออายุ 52 ปีซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ร่างของฟิลลิปโปฝังไว้ที่สโปเลตโตโดยมีอนุสาวรีย์ผู้ตายสร้างให้โดยลอเรนโซ เดอ เมดิชิ (ออกแบบโดยฟิลลิปินโน ลิปปีแต่มิได้สร้างจนปี ค.ศ. 1490) เพราะฟิลลิปโปได้รับการอุปถัมภ์จากตระกูลเมดิชิเริ่มตั้งแต่โคสิโม เดอ เมดิชิ ลูกศิษย์ของฟิลลิปโปก็มี ฟรานเชสโก เพเซลิโน (Francesco Pesellino), ซานโดร บอตติเซลลี และจิตรกรคนอื่นๆ

ฉากแท่นบูชาที่ฟิลลิปโปเขียนเมื่อปี ค.ศ. 1441 สำหรับวัดซานอัมโบรจิโอในปัจจุบันตั้งอยู่ที่กาลเลอเรียเดลอคาเดเมีย, ฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นภาพที่กวีบราวนิงเขียนโคลงสดุดี เป็นภาพของการสวมมงกุฏของพระแม่มารีกับเทวดาและนักบุญรวมทั้งพระนิกายเบอร์นาดีน คนหนึ่งในจำนวนนี้ทางด้านขวาเป็นภาพเหมือนครื่งตัวของฟิลลิปโป ฟิลลิปโปได้ค่าวาดในปี ค.ศ. 1447 เป็นจำนวนเงิน 1200 ฟลอเรนซืลีรา ซึ่งเป็นจำนวนมากในสมัยนั้น

ฟิลลิปโป ลิปปีสร้างงานเขียนภาพความตายของนักบุญเบอร์นาร์ด (Death of St. Bernard) ให้กับเจอร์มินยาโน อินกิรามิแห่งพราโต งานฉากแท่นบูชาหลักที่พราโตเป็นฉากการประสูติของพระเยซูภายในโรงฉัน (refectory) ของวัดซานโดเม็นนิโค ซึ่งเป็นภาพพระแม่มารีและนักบุญโจเซฟชื่นชมพระบุตรที่นอนอยู่บนพื้น ระหว่างนักบุญจอร์จและนักบุญโดมินิคในฉากทิวทัศน์ที่เป็นหิน โดยมีคนเลี้ยงแกะเล่นและเทวดาหกองค์บนท้องฟ้า ภาพที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิทธภัณฑ์ยูฟิซิที่ฟลอเรนซ์เป็นภาพพระแม่มารีชื่นชมพระบุตรที่เทวดาสององค์อุ้ม และภาพที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิทธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งชาติที่ลอนดอนเป็นภาพ “วิทัศน์ของนักบุญเบอร์นาร์ด” (Vision of St Bernard) และภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรกับเทวดา” (Virgin and Infant with an Angel) แต่ผู้เขียนจริงยังไม่ตกลงกันแน่นอนว่าเป็นลิปปี

ฟิลลิปโป ลิปปีเสียชีวิตเมือวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1469 ขณะที่เขียนจิตรกรรมฝาผนัง “ฉากชีวิตของพระแม่มารี”[2] (Storie della Vergine) ภายใต้มุขตะวันออกของมหาวิหารสโปเล็ตโต ซึ่งประกอบด้วยฉาก “การประกาศของเทพ” “งานพระศพของพระแม่มารี” “การชื่นชมพระบุตร” และ “การสวมมงกุฏของพระแม่มารี” ในกลุ่มผู้เฝ้าดู “งานพระศพของพระแม่มารี” มึภาพเหมือนตนเองของฟิลลิปโปและฟิลลิปินโนลูกชายกับฟราดิอามานเต (Fra Diamante) และเพียร์ มาเทโอ ดาเมเลีย ผู้ช่วยยืนอยู่ข้างๆ ร่างของลิปปีบรรจุอยู่ที่ทางขวาของแขนกางเขนภายในมหาวิหาร จิตรกรรมฝาผนัง “ฉากชีวิตของพระแม่มารี” มาเขียนเสร็จโดยฟิลลิปินโน ลิปปีผู้ที่เป็นผู้ออกแบบอนุสรณ์สำหรับฟิลลิปโปด้วยโดยลอเรนโซ เดอ เมดิชิเป็นผู้ออกเงิน แต่ก็ไม่ได้สร้างจนปี ค.ศ. 1490 โดยช่างแกะสลักชาวฟลอเรนซ์

งานของฟิลลิปโปจะเป็นงานที่แสดงลักษณะ “naïveté” สีสว่าง มีชีวิตจิตใจและมีลูกเล่น การสร้างศิลปะทางศาสนาจากการสังเกตที่มิใช่แบบที่มีความศรัทธาสูงแต่เป็นการวาดจากสังคมและความรู้สึกของชาวบ้าน ฟิลลิปโปเป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญที่สุดคนหนึ่งในทางวิธีเขียนและการใช้สีและการร่างของสมัยเรอเนซองส์ เพราะฟิลลิปโปเป็นนักธรรมชาติวิทยาการเขียนจึงไม่เหมือนศิลปินร่วมสมัยตรงการแสดงออกอย่างสัจจะนิยม และมักจะมีการแสดงอารมณ์ขันในภาพ ฟิลลิปโปเกือบมิได้พยายามใช้การเขียนแบบทัศนียภาพหรือการเขียนภาพลึก (foreshortening) ที่ทำให้ภาพดูลึกกว่าเป็นจริง และมักจะชอบตกแต่งภาพด้วยสถาปัตยกรรม เวซารีกล่าวว่าฟิลลิปโปต้องการจะซ่อนมือไม้ไว้ในม่านเพื่อเลี่ยงสิ่งที่เขียนยาก งานของฟิลลิปโป ลิปปีเป็นงานที่วิวัฒนาการแต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะและการใช้สี

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ฟิลลิปโป ลิปปี (Catholic Encyclopedia)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] สมุดภาพ

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ฟิลลิปโป ลิปปี


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -