ญัฮกุร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ญัฮกุร หรือเนียะกุล หรือที่คนไทยเรียก และไม่เป็นที่ชอบใจของชาวญัฮกรุ้นักคือ "ชาวบน" ชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า “ญัฮกุร” (Nyah-Kur) แปลว่า “คนภูเขา” คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวบน” ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่าง ๆ ฟังไม่รู้เรื่อง
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ชาวบนเรียกตนเองว่า "เนียะกุล" หรือ "ญัฮกุล" มีความหมายว่าคนภูเขา เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเตี้ยๆ แถบบริเวณด้านในของริมที่ราบสูงโคราช จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ อย่างน้อยสามชั่วอายุคน ในอดีตมักมีการย้ายถิ่นที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว แม้ปัจจุบันจะตั้งหลักแหล่งที่แน่นอนแต่การไปมาหาสู่ เยี่ยมเยียนและการนับเครือญาติในหมู่ชาวบน ในบริเวณสามจังหวัด ยังคงมีอยู่ปัจจุบันชาวบนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่บ้านน้ำลาด หมู่ที่ 4 ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังมีที่บ้านวังกำแพง อำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวละเหว ที่บ้านท่าโป่ง บ้านห้วยแย้ อำเภอเทพสถิตย์ ที่บ้านสะพานหิน บ้านสะพานยาง เป็นต้น
[แก้] ลักษณะ
ชาวบน มีผิวค่อนข้างดำตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนักรูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดีการแต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวบน คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ชาวบนเรียกกะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดา
[แก้] ภาษา
ภาษา ชาวบนพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร สาขามอญ เพราะมีความใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณ และมอญปัจจุบันมากกว่าเขมร ชาวบนที่ชัยภูมิ จัดอยู่ในภาษาญัฮกุรถิ่นใต้ ในปัจจุบันชาวบนถูกกลืนด้วยประเพณีวัฒนธรรมอีสานอย่างรวดเร็ว มีบางหมู่บ้านเท่านั้นที่พูดภาษาถิ่นของตนเองได้ คนรุ่นใหม่จะพูดภาษารอบข้างที่คนส่วนใหญ่พูดกัน อีกประการหนึ่งภาษาของชาวบนไม่มีระบบการเขียน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบนถูกกลืนได้อย่างรวดเร็ว ภาษาชาวบน ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยถิ่นโคราช เช่นเดียวกับชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้] การดำรงชีวิต
ชาวบน ตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม มีบางพวกอพยพหนีเข้าไปอยู่ในป่าลึก หรือบนภูเขาสูงขึ้นไป ชาวบ้านใช้แสงไฟจากตะเกียงเป็นส่วนใหญ่ อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน ฤดูแล้งจะใช้น้ำซับซึ่งมีตลอดปี ชาวบนมีอาชีพทำไร่ปลูกข้าวตามไหล่เขา ใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอดที่เรียกข้าวไร่ตอนเก็บเกี่ยวก็ใช้มือรูดเมล็ดข้าวออกจากรวง ใส่กระบุงแทนการเกี่ยวข้าว นอกจากข้าวแล้วยังปลูกข้าวโพด กล้วย ละหุ่ง มันสำปะหลัง มะเขือ พริก เป็นต้น มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และหาของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผึ้ง กบ เขียด และมีความสามารถในการจักสานโดยเฉพาะสานเสื่อ
[แก้] ศาสนา
ปัจจุบันชาวบนนับถือศาสนาพุทธ เชื่อในเรื่องภูติผีวิญญาณ ชาวบนนิยมแต่งงานในหมู่พวกเดียวกัน การละเล่นมีการเป่าใบไม้ซึ่งบางครั้งจะเป่าเป็นสัญญาณเรียกหากัน มีการเล่นเพลงพื้นบ้านเรียกว่า กระแจ๊ะ หรือ ปะเรเร เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตีโทนให้จังหวะ เนื้อหาเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว
[แก้] ประเพณี
ประเพณีชาวบนมีประเพณีสงกรานต์ ประเพณีกระแจ๊ะหอดอกผึ้ง ประเพณีแห่พระและจุดพลุ ประเพณีแต่งงาน ชาวบนไม่รู้จักกรรมวิธีการทอผ้า แต่จะปลูกฝ้ายเพื่อไปแลกกับผ้าทอของคนกลุ่มไทย และลาว ปัจจุบันชาวบนแต่งกายเหมือนคนไทยทั่วไป
[แก้] ฟ้อนผีฟ้า
ฟ้อนผีฟ้า นิยมจัดเป็นงานประจำปีในเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ลักษณะความเชื่อเป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้า "พญาแถน" หรือ เทวดา ที่สถิตอยู่บนท้องฟ้าเพื่อขอความเป็น สิริมงคลอัญเชิญท่านเข้าร่างทรงให้ลงมาช่วย ปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยแก่ชาวบ้านที่มา ชุมนุมในพิธีนอกจากนี้เพื่อเชิญเจ้าเข้าทรงรักษาอาการเจ็บไข้ของผู้ป่วยเป็นรายๆไป
พิธีกรรมผู้ฟ้อนผีฟ้ามีทั้งชายและหญิง เป็นผู้สูงอายุ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง แบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 14-15 คนคนเป่าแคนหนึ่งคน เมื่อพร้อมจะนำเครื่องเซ่นได้แก่หมากเบ็ง หรือพานบายศรี ดอกไม้ธูปเทียนผ้าไตรจีวรแป้งหอม น้ำอบไทยอาหารคาว-หวานซึ่งประกอบด้วยข้าวเหนียว ไข่ต้ม และของกินพื้นเมืองนำไปตั้งบูชานำดาบที่สะพายติดตัวมา 3-4 เล่มวางรวมกัน จุดธูปเทียนผู้นำทำพิธีเป็นแม่ใหญ่หรือคุณยายซึ่งเรียกว่าหมอทรง หรือนางทรง หรือนางเทียม นำสวดมนต์อาราธนาศีลรับศีลห้ากล่าวขอขมาลาโทษที่รบกวนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขออัญเชิญเจ้าผู้เป็นใหญ่ให้มาเข้าทรง เอาแป้งโรยไปบนเครื่องเซ่น แจกแป้งหอมและน้ำอบไทยทากันทั่วทุกคน การฟ้อนรำแบบง่ายๆ ต่างคนต่างรำบางคนกระทืบเท้าให้จังหวะ ตามเสียงแคน โดยฟ้อนเป็นวงกลมเวียนไปทางขวามือของหมอแคน คนฟ้อนจะหยุดเมื่อแคนหยุดเป่า และจะเดินไปกราบที่เจ้าพ่อพระยาแล เป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้า"พญาแถน"หรือเทวดาที่สถิตอยู่บนท้องฟ้าเพื่อขอความเป็นสิริมงคลอัญเชิญท่านเข้าร่างทรงให้ลงมาช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยแก่ชาวบ้านที่มาชุมนุมในพิธี
[แก้] การละเล่นพื้นบ้าน
[แก้] การวิ่งขาโถกเถก
การวิ่งขาโถกเถก อุปกรณ์และวิธีการเล่น อุปกรณ์ ไม้ไผ่กิ่ง 2 ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้ วิธีการเล่นผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรงๆที่มีกิ่ง 2 ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง 2 ข้างผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้ เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้น ส่วนมากเด็กๆที่เล่นมักจะมาแข่งขันกันใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ
โอกาสที่เล่น การวิ่งขาโถกเถก ถือเป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นอกเหนือจากความสนุกสนานแล้วยังเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกายบริหารส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เดิมผู้ที่ใช้ขาโถกเถกเป็นชายหนุ่มไปเกี้ยวสาว เสียงเดินจากไม้เมื่อสาวได้ยินก็จะมาเปิดประตูรอ เพื่อพูดคุยกันตามประสาหนุ่มสาว หรือบ้านสาวเลี้ยงสุนัขไม้โถกเถกยังเป็นอุปกรณ์ไล่สุนัขได้
[แก้] การเล่นจานช้อนใบ
การเล่นจานช้อนใบ อุปกรณ์และวิธีการเล่น อุปกรณ์การเล่นผ้าขาวม้าฝั้นเกลียวให้แน่นใช้สำหรับตีวิธีการเล่นหนุ่มสาวยืนล้อมวง เป็นวงกลมซ้อนกัน 2 วง คนหน้าและคนหลังยืนตรงกัน เรียกคนหน้าว่าจานใบที่ 1 และเรียกคนหลังว่าจานใบที่ 2 จะมีคนเกินอยู่ 1 คนและคนไล่ 1 คนเมื่อเริ่มเล่นคนที่เป็นเศษ จะต้องวิ่งไปซ้อนหน้าคนที่ยืนซ้อนกันอยู่แล้ว เมื่อซ้อนเข้าไปแล้วคนที่อยู่หลังสุดก็จะกลายเป็นเศษ คือเป็นจานใบที่ 3 ก็จะถูกไล่ตีเพราะฉะนั้นคนที่เป็นคนที่ 3 จะต้องวิ่งหนีเพื่อซ้อนคนอื่นต่อไป
กติกาการเล่น คนที่เป็นคนเศษแล้วถูกซ้อน ต้องซ้อนข้างหน้าเท่านั้น คนที่อยู่ที่ ถ้าตีถูกหรือถูกตีถือว่าตาย ต้องกลับมาเป็นผู้ไล่ต่อไป โอกาสที่เล่น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ส่วนใหญ่ผู้เล่นคือหนุ่มสาวเพื่อที่จะได้เกิดความใกล้ชิดและชอบพอกัน ในปัจจุบันยังมีการละเล่นจานช้อนใบอยู่บางหมู่บ้าน เช่นบ้านเดื่อบ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์
นอกเหนือจากความสนุกสนานแล้วยังเป็นการละเล่นที่ปลูกฝังเรื่องการเคารพกฎกติกา ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย ทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
[แก้] การแข่งเรือบก
แข่งเรือบก อุปกรณ์และวิธีการเล่นไม้กระดาน 2 แผ่น ยาวประมาณ 1 วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้ วิธีการเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-5 คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ข้างไว้กับกระดาน ๒แผ่นมือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้าอาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้ากลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์ นอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
[แก้] ตำนานแม่น้ำชี
ชื่อของแม่น้ำชี เกิดจากแม่หม้ายคนหนึ่งอยู่กับลูกสาวสามีของนางเสียชีวิตนานแล้ววันหนึ่งนางไปหาหน่อไม้บนภูเขาซึ่งมีหน่อไม้มากวันนั้นนางหาหน่อไม้ได้มากกว่าทุกวันนางจึงได้นำหน่อไม้ที่หาได้ไปขายในตลาดกับลูกสาวของนางปรากฏว่าหน่อไม้ของนางขายดีได้เงินมาเป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อได้เงินจากการขายหน่อไม้นางได้พาลูกสาวของนางไปซื้อเสื้อผ้าซื้อของที่ลูกของนางอยากได้นางและลูกสาวซื้อของเสร็จกำลังจะออกจากร้านเจ้าของร้านก็ได้บอกนางว่า "ผู้หญิงคนนี้สวยจริง ๆ เลย" ต่อมามีคนพูดว่า "ลูกสาวของป้าสวยอย่างนี้ทำไมไม่ให้เข้าไปอยู่ในวังจะได้สบาย" ต่อมานางจึงพยายาม ส่งลูกสาวเข้าไปอยู่ในวังเมื่อลูกสาวของนางได้ไปอยู่ในวังก็เป็นที่หมายปองของชายทั้งหลาย และได้พบรักกับลูกขุนนาง และตกลงใจแต่งงานกัน โดยไม่บอกมารดาด้วยความเป็นห่วง นางรู้แล้วว่าลูกสาวของนางแต่งงานแต่ไม่บอกนาง นางก็ไม่โกรธและได้เข้ามาหาลูกสาวในวัง เมื่อลูกสาวพบหน้ามารดาก็ทำท่าเหมือนไม่รู้จักซ้ำยังไล่เหมือนกับว่าไม่ใช่แม่ สร้างความเสียใจให้แก่ผู้เป็นแม่มากนางกลับบ้านด้วยความเสียใจเมื่อกลับถึงบ้านนางยังคงร้องไห้อยู่ทุกวัน เสียใจกับลูกที่นางรักปานแก้วตาดวงใจ ที่ทำกับนางเช่นนี้แม้ชีวิตก็ยอมสละให้ลูกได้ นางคิดว่าในชีวิตของนางไม่เหลืออะไรอีกแล้ว เพราะคนที่นางรักยังไม่สนใจใยดีนางจึงไปวัดไปหาความสงบในชีวิตที่เหลือน้อยเต็มที ในที่สุดก็ตัดสินใจบวชชี และได้เดินทางไปบนภูเขาซึ่งนางเคยหาหน่อไม้กับลูกสาวของนาง และได้นั่งร้องไห้บนภูเขาจนน้ำตาของนางกลายเป็นสายน้ำที่ไหลอยู่ทุกวันนี้และได้จบชีวิตลง ณ ที่แห่งนั้น ชาวบ้านได้เรียกชื่อแม่น้ำสายนี้ว่า "แม่น้ำชี"
[แก้] ปัจจุบัน
ชาวบนในปัจจุบัน ปัจจุบันชาวบนถูกกลืนด้วยประเพณีวัฒนธรรมอีสานอย่างรวดเร็ว มีบางหมู่บ้านเท่านั้นที่พูดภาษาถิ่นของตนเองได้ คนรุ่นใหม่จะพูดภาษารอบข้างที่คนส่วนใหญ่พูดกัน เหตุผลสำคัญ ที่ภาษาของชาวบนถูกกลืนอย่างรวดเร็วเพราะว่า ชาวบนไม่มีภาษาเขียน หรือ มี แต่ไม่ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายจึงทำให้ภาษาของชาวบน ถูกลืมเลือนอย่างรวดเร็ว
นักโบราณคดีบางกลุ่มสันนิษฐานว่าคนกลุ่มนี้น่าจะสืบเชื้อสายมาจากชาวทวารวดีโบราณ นอกจากนี้ที่บ้านดง ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ก็ยังมีชุมชนอีกแห่งหนึ่งพูดภาษาทิเบต ที่คนไทยทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง เช่นกัน
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
|
|
---|---|
ออสโตรเอเชียติก | กูย (ส่วย) • ขมุ • ข่าพร้าว • เขมร • ญัฮกุร (ชาวบน) • ชอง • ซาไก (เซนอย ชาวป่า) • เซมัง (เงาะ เงาะป่า) • ลัวะ (ถิ่น) • ปะหล่อง • มอญ • มลาบรี (ผีตองเหลือง) • ละว้า • โส้ • เญอ • บรู • ซำ • เร • โซ่ทะวืง • เวียดนาม (ญวน) |
ไท-กะได | ไทใหญ่ (ฉาน เงี้ยว) • ไทลื้อ • ไทขึน (ไทเขิน) • ไทยอง • ไทยวน • ไทดำ (ลาวโซ่ง) • ไทยสยาม • ผู้ไท (ญ้อ, โย้ย) • พวน • ลาว • ลาวแง้ว • แสก • ลาวครั่ง • ไทกลา • ไทหย่า • ลาวตี้ • ลาวเวียง • ลาวหล่ม • คำตี่ |
จีน-ทิเบต | ไทยเชื้อสายจีน (จีนโพ้นทะเล) • จีนฮ่อ • กะเหรี่ยง • ลีซอ • มูเซอ (ล่าหู่) • อาข่า (อีก้อ) • คะฉิ่น • ก๋อง • พม่า • อึมปี (เมปึ ก้อ ปะกอ) |
ออสโตรนีเซียน | มอเก็น (ชาวเล) • มอเกล็น • อูรักลาโว้ย • ไทยเชื้อสายจาม (จาม) • ไทยเชื้อสายมลายู (มลายู (มาเลย์)) • ออรังลาโวด |
ม้ง-เมี่ยน | ม้ง (แม้ว) • เมี่ยน (เย้า) |