คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง" (ฝ. Déclaration des droits de l'Homme et du citoyen) เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญของการปฏิวัติในฝรั่งเศส โดยให้คำจำกัดความของสิทธิมนุษยชน และรวบรวมสิทธิทั้งหมดในทรัพย์สิน ได้รับอิทธิพลจากหลักการสิทธิตามธรรมชาติ สิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิสากล พวกเขาควรจะมีสิทธิในเวลา และสถานที่ โดยอ้างถึงธรรมชาติของมนุษย์ บทความสุดท้ายของคำประกาศ ได้รับการยอมรับในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332 โดยสภาแห่งชาติ (ฝ.Assemblée nationale constituante) โดยเป็นก้าวแรกของการร่างรัฐธรรมนูญ การร่างสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่เพียงแต่ชาวฝรั่งเศสเท่านั้น แต่รวมไปถึงมนุษย์ทุกคนโดยปราศจากข้อยกเว้น ไม่มีคำกล่าวถึงสถานะของสตรี ไม่มีการสุนทรพจน์ในระบบทาส ทำให้คำประกาศนี้เป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิมนุษยชนสากล
"First Article – Men are born and remain free and equal in rights. Social distinctions can be founded only on the common utility"
สิ่งสำคัญของการร่างคำประกาศ คือคุณค่าการวางขอบเขตรัฐธรรมนูญในปัจจุบันของกฎหมายฝรั่งเศส และบางครั้งใช้ในการคัดค้านกฎหมาย หรือการดำเนินการของรัฐบาล
[แก้] การยอมรับคำประกาศ
คำประกาศนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หลักการหลายข้อยกเลิกไปในคำประกาศ โดยเฉพาะต่อต้านสถาบัน และการใช้ของ Ancien Régime ในการปฏิวัติในฝรั่งเศส ไม่นานฝรั่งเศสเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ และเอกสารนี้กลายเป็นเอกสารพื้นฐาน
แนวคิดของการร่างคำประกาศมาจากหลักปรัชญา และการเมืองของยุคแห่งการรู้แจ้ง อันได้แก่ ความเป็นปัจเจกชน, สัญญาประชาคม ทฤษฎีที่ตั้งโดยนักปรัชาญาเมธีชาวอังกฤษ จอห์น ล็อก และพัฒนาโดยชอง-ชาก รุสโซ และหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองของ มองเตสกิเออร์ ซึ่งสามารถพบได้บนตัวอักษร คำประกาศของฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลอย่างมากจากหลักปรัชญา และการเมืองของยุคแห่งการรู้แจ้ง